Page 234 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 234

ประเด็นการส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม (๕๗) รับรองและด�าเนินการมาตรการพิเศษชั่วคราว เพื่อเร่งบรรลุ
            ความเสมอภาคในทางปฏิบัติระหว่างสตรีกับบุรุษในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมีส่วนร่วมของสตรีในการตัดสินใจและ

            การเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจ (๖๐) ด�าเนินมาตรการเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติของสังคม วัฒนธรรม และประเพณีดั้งเดิม
            ที่เปิดโอกาสต่อการใช้ความรุนแรงต่อสตรี (๖๒) เพิ่มความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกัน ลงโทษ และขจัดการใช้ความ
            รุนแรงต่อสตรีทุกรูปแบบ (๖๓) ด�าเนินมาตรการเพื่อคุ้มครองสตรีและแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อสตรี (๖๔) ด�าเนินงาน
            ความพยายามเพื่อประกันความเท่าเทียมทางเพศและขจัดปัญหาความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก เป็นต้น



                     ในการเสนอรายงานฯ รอบที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ประเทศไทยได้รับข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับสิทธิสตรี หลายประการ
            อาทิ เสริมสร้างศักยภาพของสตรีและเพิ่มการมีส่วนร่วมของสตรีในทุกภาคส่วน (ข้อ ๖๒ ลาว) ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ
            ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ อย่างมีประสิทธิภาพ (ข้อ ๖๔ แอฟริกาใต้) ส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมความ

            เท่าเทียมกันผ่านการเปิดโอกาสให้ทุกคนในสังคมมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมีส่วนร่วมของสตรีใน
            ชนบท (ข้อ ๖๕ ญี่ปุ่น) ป้องกันการเลือกปฏิบัติในทุกกรณี โดยไม่ค�านึงถึงเหตุเช่นใด ๆ เช่น ความเชื่อในศาสนาและความมั่นคง  สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเฉพาะ
            ของชาติ (ข้อ ๖๖ สเปน) รับรองนโยบายและโครงการที่ตอบสนองต่อบทบาททางเพศและก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ
            การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของสตรีต่อไป (ข้อ ๖๘ มาเลเซีย) ปรับปรุงการศึกษาและสวัสดิการสังคมส�าหรับกลุ่มเปราะบาง
            ซึ่งรวมถึงผู้ที่อยู่ในเขตชนบท ชนกลุ่มน้อย สตรี ผู้ย้ายถิ่นและผู้ลี้ภัย (ข้อ ๗๐ ญี่ปุ่น) ก�าหนดนโยบายและกรอบทางกฎหมาย

            ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันและขจัดการเลือกปฏิบัติและการใช้ความรุนแรงต่อสตรีในทุกรูปแบบ รวมถึงการใช้ความรุนแรง
            ในครอบครัวเพื่อรับรองว่าเหยื่อความรุนแรงที่เป็นสตรีได้รับการสนับสนุนอย่างเหมาะสมและผู้กระท�าความผิดจะถูกน�าเข้าสู่
            กระบวนการยุติธรรม (ข้อ ๘๒ อิตาลี) เป็นต้น
                                                                                                                   บทที่
                                                                                                                    ๖
                     ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ประเทศไทยมีจ�านวนประชากรทั้งประเทศ ๖๕,๗๒๙,๐๙๘ คน จ�าแนกเป็นบุรุษ จ�านวน
            ๓๒,๒๘๐,๘๘๖ คน สตรี จ�านวน ๓๓,๔๔๘,๒๑๒ คน  ทั้งนี้ ข้อมูลจากรายงานสถานการณ์สตรี ปี ๒๕๕๘ แสดงสถิติ
                                                         ๔๙๘
            สตรีและบุรุษที่ส�าคัญ ๑๒ เรื่อง คือ (๑) คนยากจน บุรุษ ๔.๒๑ ล้านคน สตรี ๔.๒๐ ล้านคน (๒) ผู้สูงอายุ บุรุษ ๔.๐ ล้านคน
            สตรี ๕.๑ ล้านคน (๓) ผู้พิการ บุรุษ ๘.๙ แสนคน สตรี ๗.๕ แสนคน (๔) เด็กและเยาวชน บุรุษ ๑๐.๘ ล้านคน สตรี ๑๐.๓

            ล้านคน (๕) ผู้อยู่ในเขตชนบท บุรุษ ๑๔.๙ ล้านคน สตรี ๑๐.๕๔ ล้านคน (๖) ผู้ด้อยโอกาสบุรุษ ๔.๙ หมื่นคน สตรี ๖.๔๐
            หมื่นคน (๗) ชาติพันธุ์ บุรุษ ๓.๕ แสนคน สตรี ๓.๔ แสนคน (๘) ความรุนแรงในครอบครัว จ�าแนกเป็นผู้กระท�า เป็นบุรุษ
            ๙๕๖ คน สตรี ๑๒๖ คน ผู้ถูกกระท�า เป็นบุรุษ ๑๐๕ คน สตรี ๙๙๖ คน (๙) คนผู้อยู่ในก�าลังแรงงาน บุรุษ ๒๑.๑ ล้านคน

            สตรี ๑๗.๗ ล้านคน อยู่นอกก�าลังแรงงาน บุรุษ ๕.๕ ล้านคน สตรี ๑๐.๖ ล้านคน (๑๐) สูบบุหรี่หรือดื่มสุรา แบ่งเป็นสูบบุหรี่
            บุรุษ ๑๐.๗ ล้านคน สตรี ๐.๖ ล้านคน (๑๑) ดื่มสุรา บุรุษ ๑๔.๐ ล้านคน สตรี ๓.๗ ล้านคน (๑๒) โรคเรื้อรังหรือโรคประจ�าตัว
            บุรุษ ๔.๘ ล้านคน สตรี ๖.๗ ล้านคน ๔๙๙


                     ประเทศไทยมีการจัดท�าแผนพัฒนาสตรีหลายฉบับ และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

            โดยปัจจุบันใช้แผนพัฒนาสตรี ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙) ประเทศไทย
            มีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นหน่วยงานหลัก
            ในการด�าเนินงานด้านสตรี



                     ประเทศไทยได้ออกกฎหมายและแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายหลายฉบับเกี่ยวกับครอบครัว การเรียกค่าทดแทนผู้ที่ละเมิด
            คู่หมั้นผู้อื่น และการฟ้องหย่า ที่น�าไปสู่การถอนข้อสงวนข้อ ๑๖ ของอนุสัญญา CEDAW รวมทั้งแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา


                     ๔๙๘  จาก จ�านวนประชากรในประเทศไทยปี ๒๕๕๙  อัพเดทล่าสุด (พร้อมข้อมูลจ�านวนจังหวัด,อ�าเภอ,หมู่บ้าน). สืบค้นจาก http://www.zcooby.com/2559-thailand-
            information-number-statistics/
                     ๔๙๙  จาก รายงานสถานการณ์สตรี ๒๕๕๘ “๒ ทศวรรษปฏิญญาปักกิ่งฯ: เสริมพลังสตรีสร้างพลังสังคม (หน้า ๑๕), โดย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์,
            ๒๕๕๘, กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.


                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  233  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   229   230   231   232   233   234   235   236   237   238   239