Page 231 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 231
และใบอนุญาตท�างาน หากลูกจ้างไม่มีเอกสารตามเงื่อนไข ส�านักงานประกันสังคมจะออกค�าสั่งให้นายจ้างเป็นผู้รับผิดชอบเอง
ซึ่งอาจมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติในการเข้าถึงเงินทดแทนจากกองทุนที่แตกต่างจากแรงงานไทย ๔๙๕
(๓) การจัดตั้งสหภาพและการนัดหยุดงาน
ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วย
เสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน ค.ศ. ๑๙๔๘ และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและ
การร่วมเจรจาต่อรอง ค.ศ. ๑๙๔๙ จึงท�าให้แรงงานข้ามชาติไม่สามารถจัดตั้งและเป็นกรรมการสหภาพแรงงานได้ เนื่องจาก
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ บัญญัติให้ผู้ที่มีสัญชาติไทยเท่านั้นที่สามารถจัดตั้งสหภาพแรงงาน ด�ารงต�าแหน่ง
เป็นกรรมการ อนุกรรมการ หรือที่ปรึกษาได้
๖.๗.๔ การประเมินสถานการณ์
จากการติดตามสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับแรงงาน
ข้ามชาติเห็นว่า รัฐมีความก้าวหน้าในการด�าเนินการเพื่อส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติมากขึ้น โดยรัฐได้มีนโยบาย/มาตรการ/
กฎหมายในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะ
มาตรการในการป้องกันการค้ามนุษย์ ตั้งแต่ต้นทางและการแก้ไขปัญหา
แรงงานในอุตสาหกรรมประมง เช่น การออกพระราชก�าหนดการน�าคน
ต่างด้าวมาท�างานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ การจัดท�าโครงการ
สิทธิจากเรือสู่ฝั่ง (Ship to Shore Rights Project) การจัดท�าโครงการความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการแก้ไขปัญหารูปแบบ
การท�างานที่ไม่เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่องประมงทะเล นอกจากนี้ รัฐยังมีความพยายาม
ยิ่งขึ้นในการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อเรื่องสิทธิแรงงานดังจะเห็นได้จากการจัดท�าเอกสารเกี่ยวกับแนวปฏิบัติ
อาเซียนส�าหรับความรับผิดชอบทางสังคมด้านแรงงาน (ASEAN Guidelines for Corporate Social Responsibility (CSR)
on Labour)
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ ซึ่งเป็นปัญหาเดิมที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขหรือยังไม่เห็น
ความก้าวหน้าในการด�าเนินงานที่เป็นรูปธรรมในปี ๒๕๕๙ เช่น การด�าเนินการในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงาน
ระหว่างประเทศฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘ และการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติที่เป็นลูกจ้างเหมาค่าแรงในบางประเภทงาน เช่น
งานก่อสร้าง งานบ้าน เป็นต้น รัฐบาลจึงควรพิจารณาด�าเนินมาตรการเพิ่มเติมเพื่อให้มั่นใจได้ว่า แรงงานข้ามชาติที่มาท�างานใน
ประเทศไทยจะได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานตามมาตรฐานสากล โดยเฉพาะมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี
รวมทั้งแสวงหาความร่วมมือกับภาคธุรกิจเพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจด�าเนินกิจการที่เคารพสิทธิมนุษยชนอันเป็นการ
ป้องกันปัญหาสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้น
๖.๘ สตรี
๖.๘.๑ หลักการสิทธิมนุษยชน
ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนต่างรับรองในประเด็นเรื่องความเสมอภาคระหว่างเพศ (gender
equality) โดยทั้งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil
and Political Rights: ICCPR) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International
๔๙๕ ใบแจ้งข่าว เรื่อง แรงงานข้ามชาติ สัญชาติพม่ายื่นฟ้องส�านักงานประกันสังคม กรณีปฏิเสธแรงงานข้ามชาติเข้าถึงเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทน และค�าสั่ง
ส�านักงานประกันสังคมขัดต่ออนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๑๙, มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา เผยแพร่วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๙
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 230 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙