Page 228 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 228
ส�าหรับผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติในส่วนของเด็กข้ามชาตินั้น มีข้อมูลจากงานวิจัยได้ประมาณการตัวเลขจ�านวนเด็ก
ข้ามชาติในประเทศไทยว่า มีจ�านวนประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ – ๔๐๐,๐๐๐ คน โดยสามารถจ�าแนกตามลักษณะของการเดินทาง
เข้ามาในประเทศผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังนี้ (๑) กลุ่มเด็กข้ามชาติที่เข้ามาเพื่อเป็นแรงงาน (๒) กลุ่มที่ติดตามพ่อแม่ซึ่งเป็นแรงงาน
ข้ามชาติ (๓) กลุ่มเด็กข้ามชาติที่เกิดขณะที่พ่อแม่เข้ามาเป็นแรงงาน และ (๔) กลุ่มที่เดินทางเข้ามาโดยผ่านขบวนการค้ามนุษย์ ๔๘๑
คณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติมีข้อสังเกตต่อรายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กของไทย
ซึ่งรับรองในการประชุมครั้งที่ ๑๖๙๗ เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ โดยได้แสดงความเป็นห่วงกังวลด้านการคุ้มครองเด็ก
เคลื่อนย้าย และเด็กที่เป็นบุตรของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน โดยมีข้อกังวลต่อจ�านวนแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยที่มีจ�านวนมาก
และมีข้อเสนอแนะให้ด�าเนินการประเมินความเสี่ยงต่อการส่งกลับของแรงงานและบุตร รวมถึงการใช้มาตรการทางกฎหมาย
และนโยบายที่จ�าเป็นเพื่อปกป้องเด็กในสถานการณ์โยกย้ายถิ่นฐาน การแสวงประโยชน์และสภาพการท�างานที่เป็นอันตราย
๖.๗.๓ สถานการณ์ปี ๒๕๕๙ สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเฉพาะ
ข้อมูลจากส�านักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน ระบุว่า สถิติแรงงานข้ามชาติเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๕๙
มีแรงงานข้ามชาติที่ได้รับอนุญาตท�างานตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติการท�างานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ จ�านวน
๑,๒๙๐,๕๗๔ คน แบ่งเป็น (๑) แรงงานประเภทพิสูจน์สัญชาติ จ�านวน ๘๙๗,๘๒๘ คน โดยกิจการที่ได้รับอนุญาตท�างาน
๔๘๒
มากที่สุด ๓ อันดับแรก ได้แก่ กิจการก่อสร้าง ๑๗๑,๔๕๑ คน การให้บริการต่าง ๆ ๑๒๓,๒๑๖ คน เกษตรและปศุสัตว์
๑๐๖,๔๑๑ คน และ (๒) แรงงานน�าเข้าตาม MOU ซึ่งสามารถท�างานได้ใน ๒ ต�าแหน่งงาน คือ งานกรรมกรและงาน
๔๘๓
รับใช้ในบ้าน จ�านวน ๓๖๕,๗๘๕ คน โดยกิจการที่ได้รับอนุญาตท�างานมากที่สุด ๓ อันดับแรก ได้แก่ การให้บริการต่าง ๆ
๙๒,๔๗๓ คน กิจการก่อสร้าง ๗๓,๖๒๔ คน กิจการต่อเนื่องการเกษตร ๔๔,๑๗๖ คน ตามล�าดับ บทที่
๖
นอกจากนี้ ยังมีแรงงานข้ามชาติตามมาตรา ๑๔ ที่เข้ามาท�างานบริเวณบุรุษแดนในลักษณะไป-กลับ หรือตามฤดูกาล
จ�านวน ๗,๗๕๗ คน ทั้งนี้ ไม่รวมยอดการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติ แบบ One-Stop Service ทั่วประเทศและแรงงาน
ประเภทตลอดชีพ อนึ่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ด�าเนินการผ่อนผันให้แรงงานข้ามชาติที่ถือบัตรอนุญาตท�างาน
ชั่วคราวหรืออยู่ระหว่างการรอพิสูจน์สัญชาติซึ่งครบก�าหนดเมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๙ โดยลูกจ้างสามารถมารายงานตัวได้ด้วย
ตนเองหรือให้นายจ้างพามารายงานตัวจดทะเบียนได้ภายในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙ เพื่อต่ออายุให้สามารถอาศัยอยู่ใน
ราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวได้เป็นระยะเวลา ๒ ปี ๔๘๔
ในปี ๒๕๕๙ รัฐบาลมีนโยบายและมาตรการเพื่อส่งเสริมสิทธิและแก้ไขปัญหาของแรงงานข้ามชาติที่ส�าคัญ อาทิ
๔๘๕
(๑) การออกพระราชก�าหนดการน�าคนต่างด้าวมาท�างานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ เพื่อให้มาตรฐาน
ในการท�างานของแรงงานต่างด้าวของประเทศไทยมีความสอดคล้องกับมาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศและ
สามารถรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานอาเซียนต่อไป โดยสาระส�าคัญครอบคลุมถึงความรับผิดชอบของบริษัทจัดหางาน ก�าหนด
ข้อปฏิบัติในการน�าเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงก�าหนดบทลงโทษ ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ ได้ก�าหนดให้บริษัทที่จ้าง
แรงงานต่างด้าวต้องมีความรับผิดชอบในการดูแลสวัสดิการ สิทธิประโยชน์และการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวตามกฎหมาย เช่น
เดียวกับบริษัทจัดหางาน เพื่อแก้ปัญหาบริษัทจ้างแรงงานต่างด้าวในลักษณะแรงงานรับเหมาช่วง (sub-contract) ที่ไม่ได้รับ
สวัสดิการจากบริษัทที่ท�างานให้ ๔๘๖
๔๘๑ จาก องค์กรพัฒนาเอกชนชี้: วิกฤตการณ์ด้านการศึกษาของเด็กข้ามชาติในประเทศไทยจ�าเป็นต้องได้รับการแก้ไขด่วน, โดย องค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the
Children), สืบค้นจาก https://thailand.savethechildren.net
๔๘๒ หมายถึง แรงงานข้ามชาติสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชาที่หลบหนีเข้าเมืองได้รับการผ่อนผันให้ท�างานและอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามมติคณะ
รัฐมนตรี ซึ่งได้ผ่านการพิสูจน์สัญชาติและปรับสถานการณ์เข้าเมืองถูกกฎหมายเรียบร้อยแล้ว
๔๘๓ หมายถึง แรงงานข้ามชาติสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชาที่เข้ามาท�างานตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลประเภทต้นทาง
๔๘๔ จาก สถานการณ์แรงงานต่างด้าว, โดย นางสาวสุภัจฉรี เรืองสิทธิชัย http://www.senate.go.th/w3c/senate/pictures/content/file_1474942517pdf
๔๘๕ พระราชก�าหนดนี้ไม่ใช้บังคับกับ (๑) การจัดหางานตามกฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน (๒) การจัดหางานตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล
๔๘๖ จาก สืบค้นจาก https://www.isranews.org/2017-03-07-04-25-21/49250-labour15.html
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 227 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙