Page 237 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 237
หึงหวงของคู่สมรส การใช้สารกระตุ้น อาทิ การดื่มสุรา การใช้สารเสพติด และสื่อลามก และสภาพแวดล้อม ได้แก่
ความใกล้ชิด และโอกาสเอื้ออ�านวย ๕๐๘
๖.๘.๔ การประเมินสถานการณ์
รัฐภาคีแห่งอนุสัญญา CEDAW ยอมรับที่จะบรรจุหลักการของความเสมอภาคของสตรีและบุรุษไว้ในรัฐธรรมนูญแห่ง
๕๑๐
๕๐๙
ชาติตน ในปี ๒๕๕๙ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับลงประชามติ ได้บรรจุหลักการดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม ยังคงไม่มีบทบัญญัติที่ระบุค�านิยามของการเลือกปฏิบัติในรัฐธรรมนูญทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
สถานการณ์ด้านความเสมอภาคระหว่างเพศ ปี ๒๕๕๙ ภาพรวมประเทศไทยถูกจัดอยู่ในล�าดับที่ ๗๑ จาก ๑๔๔
ประเทศทั่วโลก ที่ลดความเหลื่อมล�้าระหว่างเพศได้มากที่สุด ซึ่งตกลงมาจากอันดับที่ ๔๐ ในปี ๒๕๔๙ ในประเด็นส�าคัญ อาทิ
โอกาสในการส�าเร็จการศึกษา โอกาสและส่วนรวมทางเศรษฐกิจ อ�านาจทางการเมือง ก็ถูกจัดอันดับลดลงเช่นกัน ยกเว้นในมิติ
ด้านสุขภาพและการด�ารงชีวิตที่ประเทศไทยถูกจัดในล�าดับที่ ๑ จาก ๑๔๔ ประเทศทั่วโลก
สถานการณ์ด้านความรุนแรงต่อสตรี ปี ๒๕๕๙ มีสตรีที่
ถูกกระท�าความรุนแรงและเข้ามารับบริการที่ศูนย์พึ่งได้ทั้งสิ้น จ�านวน
๑๘,๙๑๙ ราย ซึ่งมีจ�านวนเพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๘ ที่มีทั้งสิ้น จ�านวน
๑๓,๒๖๕ ราย นอกจากนี้ สถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวมีเพิ่มมาก
ขึ้นทุกปี โดยจากข้อมูลสถิติการฆ่ากันตายในครอบครัวซึ่งเก็บรวบรวม
ข้อมูลสถิติจากข่าวหนังสือพิมพ์ ๕ ฉบับ พบว่า สถิติการฆ่ากันตาย
ในครอบครัว ปี ๒๕๕๒ มีจ�านวน ๑๗๕ ราย ปี ๒๕๕๓ มีจ�านวน ๑๘๖ ราย
และ ปี ๒๕๕๖ มีจ�านวน ๒๐๖ ราย โดยส่วนใหญ่สามีเป็นผู้ฆ่าภรรยา โดยมีสาเหตุหลักเนื่องจากความหึงหวง และการบังคับ
๕๑๒
ให้หลับนอน นอกจากนี้ จากข้อมูลสถิติหย่าร้างในรอบ ๑๐ ปี ที่ผ่านมาของประเทศไทย ชี้ให้เห็นว่าเปอร์เซ็นต์การหย่าร้าง
๕๑๑
ในปี ๒๕๕๙ เพิ่มสูงขึ้นจากปี ๒๕๔๙ ถึง ร้อยละ ๓๓ ทั้งนี้ การแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวมักแก้ไขด้วยวิธีการไกล่เกลี่ย
และให้ความส�าคัญกับการรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของสถาบันครอบครัวเป็นหลัก โดยขาดการค�านึงถึงมิติสิทธิมนุษยชน
โดยเฉพาะในแง่มุมของ “เหยื่อความรุนแรง” ซึ่งสตรีเป็นผู้เสียหาย ซึ่งโดยสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นซ�้า ๆ ดังกล่าวน�าไปสู่
๕๑๓
ข้อสังเกตที่มีต่อประสิทธิภาพของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระท�าด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ ว่าสามารถ
ให้ความคุ้มครองสตรีจากความรุนแรงในครอบครัวรูปแบบต่าง ๆ อย่างแท้จริงได้มากน้อยเพียงไร
สถานการณ์สิทธิสตรีเป็นปัญหาที่มีรากเหง้าจากเจตคติแบบเก่า (stereotypes) ที่มีต่อสตรี อันเป็นพื้นฐานไปสู่
การเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ ดังนั้น เป็นหน้าที่ที่รัฐที่ต้องด�าเนินการทุกวิถีทางในการคุ้มครอง (Obligation to Protect)
ไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติไม่ว่าจะด้วยรูปแบบใด ๆ เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายความเสมอภาค และจะต้องด�าเนินการในทุกวิถีทาง
ในการท�าสิทธินั้น ๆ ให้เกิดจริงในทางปฏิบัติ (Obligation to Fulfill) โดยรับรองและด�าเนินการมาตรการพิเศษต่าง ๆ
เพื่อบรรลุความเสมอภาคในทางปฏิบัติระหว่างสตรีและบุรุษในทุก ๆ ด้าน นอกจากนี้ รัฐยังควรด�าเนินการด้านนโยบายต่าง ๆ
ที่เกี่ยวกับสิทธิสตรีให้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายด้านการพัฒนาที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable
Development Goals)
๕๐๘ จาก ภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่และภาพรวม ปี ๒๕๕๙ (หน้า ๑๓), โดย ส�านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กรุงเทพฯ: ส�านักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
๕๐๙ ข้อ ๒ (ก) แห่งอนุสัญญา CEDAW
๕๑๐ ปัจจุบันเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐
๕๑๑ จาก เมื่อกระบวนการยุติธรรมมองเห็น “เหยื่อความรุนแรง” เป็น “อาชญากร”, จัดโดย โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ.
๕๑๒ ส�านักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง.
๕๑๓ จาก เมื่อกระบวนการยุติธรรมมองเห็น “เหยื่อความรุนแรง” เป็น “อาชญากร”, งานเดิม
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 236 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙