Page 227 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 227

ในเรื่องสถานการณ์การค้ามนุษย์ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ – ๒๕๕๖
                                                  ประเทศไทยถูกจัดอันดับอยู่ในบัญชีที่ ๒ (Tier 2 Watch List) ในรายงาน

                                                  การค้ามนุษย์ TIP Report (Trafficking in Persons Report) ซึ่งจัดท�าโดย
                                                  กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา แต่จากข้อมูลที่ว่ามีแรงงาน
                                                  ทั้งชาวไทย เมียนมา กัมพูชา และอินโดนีเซียตกเป็นเหยื่อของการใช้
                                                  แรงงานทาสและแรงงานผิดกฎหมายในภาคอุตสาหกรรมประมง อาทิ ต้อง
                                                  อยู่บนเรือกลางทะเลนานหลายปีโดยได้รับค่าตอบแทนเพียงเล็กน้อย ถูก

                                                  บังคับให้ท�างานวันละ ๑๘ - ๒๐ ชั่วโมงเป็นเวลา ๗ วันต่อสัปดาห์ ถูกข่มขู่
        ทุบตีเพื่อให้ท�างาน ท�าให้ในปี ๒๕๕๗ ประเทศไทยถูกลดอันดับลงอยู่ในบัญชีที่ ๓ สถานการณ์เลวร้าย (Tier 3) อย่างไรก็ดี
        ในปี ๒๕๕๙ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้เลื่อนอันดับจากบัญชีที่ ๓ เป็นบัญชีที่ ๒ (Tier 2 Watch List) หลังจากที่ไทยถูกจัดอยู่ใน

        Tier 3 ซึ่งเป็นระดับต�่าสุดเป็นเวลา ๒ ปีติดต่อกัน โดยระบุว่า รัฐบาลไทยได้ด�าเนินความพยายามอย่างมีนัยส�าคัญในการ
        ขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ในช่วงเวลาการท�ารายงานจัดอันดับ โดยให้ความส�าคัญกับการบังคับใช้กฎหมาย การด�าเนินคดีกับ
        เจ้าหน้าที่รัฐที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง การคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และประชากรกลุ่มเสี่ยง การแก้ไขปัญหา
        การค้ามนุษย์โดยเฉพาะในภาคประมง และความชัดเจนในประเด็นแรงงานบังคับและแรงงานขัดหนี้ การตรวจแรงงาน รวมทั้ง
        ความร่วมมือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านการด�าเนินคดี การคุ้มครองช่วยเหลือ ด้านการป้องกัน อย่างไรก็ตาม การด�าเนินงาน

        นั้นยังไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานขั้นต�่าสุดอย่างครบถ้วน (รายละเอียดเนื้อหาอยู่ในบทที่ ๕ หัวข้อ ๕.๑ การค้ามนุษย์)


                 คณะกรรมการประจ�ากติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ได้มีข้อสังเกตต่อ

        รายงานการปฏิบัติงานฉบับที่ ๑ และ ๒ ของประเทศไทย ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และ
        วัฒนธรรม (E/C.1.2/THA/CO/1 - 2) ในการประชุมครั้งที่ ๒๘ - ๓๐  ระหว่างวันที่ ๔ – ๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ ซึ่งได้รับรอง
                                                                ๔๗๘
        รายงานในการประชุมสมัยที่ ๕๐ เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๘ ได้แสดงข้อกังวลเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ ดังนี้ (๑) ช่องว่าง
        ทางกฎหมายที่ท�าให้แรงงานข้ามชาติไม่ได้รับการคุ้มครองทั้งด้านกฎหมายและสังคม (๒) การใช้แรงงานบังคับโดยเฉพาะ
        ในอุตสาหกรรมประมง (๓) การปฏิบัติมิชอบและการเอารัดเอาเปรียบแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะผู้ที่ท�างานนอกระบบและ

        ผู้ที่ท�างานในเขตเศรษฐกิจพิเศษ (๔) การที่ผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยยังคงไม่มีสิทธิก่อตั้งสหภาพแรงงาน  ๔๗๙


                 ในส่วนของการด�าเนินนโยบายของรัฐเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ ในระยะตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ – ๒๕๕๔ มีการเปลี่ยนแปลง

        ในนโยบายเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติมากกว่าช่วงที่ผ่านมา โดยมีการผ่อนผันให้มีการจ้างแรงงานข้ามชาติและมีมาตรการ
        ในการคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ ตลอดจนมีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติอย่างเป็นระบบ และปรับ
        เปลี่ยนสถานะลักลอบหลบหนีเข้าเมืองและท�างานโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการได้รับการผ่อนผันให้แรงงานข้ามชาติสามารถ
        อยู่และท�างานในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราว เพื่อรอการส่งกลับและได้รับการจัดท�าทะเบียนประวัติราษฎรต่างด้าว
                                                                                                          ๔๘๐
        และในช่วงตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ รัฐได้มีนโยบาย/มาตรการการดูแลแรงงานข้ามชาติเพื่อแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์เพิ่มขึ้น เช่น การ

        ตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์  การจัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงาน
        ต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ในทุกจังหวัด เป็นต้น ทั้งนี้ รัฐได้ออกกฎหมายส�าคัญหลายฉบับเพื่อคุ้มครองสิทธิ
        ของแรงงานข้ามชาติ เช่น พระราชบัญญัติการท�างานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม

        การค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ และ พ.ศ. ๒๕๕๘ อย่างไรก็ดี ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ILO ซึ่งเป็น
        อนุสัญญาหลักอีกสามฉบับ ได้แก่ อนุสัญญาฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว ฉบับที่ ๙๘
        ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง และฉบับที่ ๑๑๑ ว่าด้วยการเลือกปฏิบัติ (การจ้างแรงงานและการประกอบอาชีพ)

                 ๔๗๘  มูลนิธิผสมผสานวัฒนธรรม (ออนไลน์), (๒๕๖๐). สืบค้นจาก https://voicefromthais.files.wordpress.com/2015/06/int_cescr_coc_tha_20933_thai-clear
                 ๔๗๙  พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ บัญญัติให้แรงงานข้ามชาติไม่สามารถจัดตั้งสหภาพแรงงาน หรือด�ารงต�าแหน่งเป็นกรรมการ อนุกรรมการ หรือที่ปรึกษาได้ ท�าได้แค่
        เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานซึ่งจะต้องเป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกันกับผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงาน หรือเป็นลูกจ้างซึ่งท�างานในกิจการประเภทเดียวกันกับผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงาน
                 ๔๘๐  รายงานการวิจัย เรื่อง นโยบายและมาตรการการแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติ, เล่มเดิม.


                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  226  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   222   223   224   225   226   227   228   229   230   231   232