Page 225 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 225
ทั้งปวงในกระบวนการยุติธรรม สิทธิที่จะได้รับสวัสดิภาพและ
การคุ้มครองโดยรัฐให้รอดพ้นจากความรุนแรงหรือการท�าร้าย
ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยการกระท�าของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือโดย
กลุ่มบุคคลหรือสถาบันใดก็ตาม สิทธิในการมีงานท�า สิทธิในการ
๔๖๘
แสดงความคิดเห็นและการแสดงออก เป็นต้น อนุสัญญาว่า
ด้วยการขจัดการเลือกปฎิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention
on the Elimination of all Forms of Discrimination Against
Women: CEDAW) ระบุว่า รัฐภาคีจะใช้มาตรการที่เหมาะสม
ทุกอย่าง เพื่อประกันแก่สตรีภายใต้เงื่อนไขแห่งความเสมอภาค
๔๖๙
กันกับบุรุษและโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติใด ๆ รัฐภาคีจะใช้มาตรการที่เหมาะสมทุกอย่างเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี
ในการจ้างงาน เพื่อที่จะประกันสิทธิอย่างเดียวกันบนพื้นฐานของความเสมอภาคของบุรุษและสตรี ๔๗๐
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ได้ให้การรับรองสิทธิและเสรีภาพของบรรดา
๔๗๑
ชนชาวไทยไว้ตามบทบัญญัติมาตรา ๔ ส�าหรับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับผ่านการลงประชามติ เมื่อวันที่
๗ สิงหาคม ๒๕๕๙ ได้ให้การรับรองเสรีภาพในการประกอบอาชีพ โดยการตรากฎหมายเพื่อจัดระเบียบการประกอบ
๔๗๒
อาชีพต้องไม่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติ แต่ไม่มีบทบัญญัติเรื่องการให้หลักประกันความปลอดภัยและสวัสดิภาพในการ
ท�างาน รวมทั้งหลักประกันในการด�ารงชีพทั้งในระหว่างการท�างานและเมื่อพ้นภาวการณ์ท�างานเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญ
ฉบับปี ๒๕๕๐ ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ อย่างไรก็ตาม การรับรองและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับผ่านการลงประชามติ ต่างก็เป็นการรับรอง
เฉพาะสิทธิและเสรีภาพของคนไทยเท่านั้น
๖.๗.๒ สถานการณ์ทั่วไป
ประเทศไทยมีความจ�าเป็นต้องจ้างแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อทดแทนแรงงานไทยเนื่องจากสาเหตุส�าคัญ
หลายประการ อาทิ การขาดแคลนแรงงานประเภท 3D ได้แก่ งานสกปรก (dirty job) งานอันตราย (dangerous job) และ
งานยาก (demanding หรือ difficult job) ความต้องการลดค่าใช้จ่ายอัตราค่าจ้างภายในประเทศที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ความ
ส�าเร็จในการลดอัตราการเกิดของประชากร การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยในขณะที่จ�านวนแรงงานใน
๔๗๓
วัยท�างานมีเท่าเดิม การที่รัฐมีนโยบายการส่งเสริมการลงทุนท�าให้มีความต้องการใช้แรงงานในหลายภาคส่วนสูงขึ้น เช่น ภาค
การก่อสร้าง ภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตรและเกษตรแปรรูป ภาคบริการและการท่องเที่ยว เป็นต้น รวมถึงแรงงาน
๔๗๔
ไทยหันไปประกอบอาชีพอิสระมากขึ้น ๔๗๕
แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาในประเทศไทยสามารถจ�าแนกตามลักษณะการเข้าเมืองได้เป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่เข้าเมือง
โดยถูกกฎหมาย และกลุ่มที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย โดยในปี ๒๕๕๐ – ๒๕๕๘ แรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตท�างาน
ในประเทศโดยถูกกฎหมายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่กลุ่มแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมายมีแนวโน้ม
ลดลงตามนโยบายการจัดการแรงงานต่างด้าว รายละเอียดตามแผนภูมิที่ ๕ ๔๗๖
๔๖๘ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ข้อ ๕ อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ
๔๖๙ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ข้อ ๘ อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
๔๗๐ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ข้อ ๑๑ อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
๔๗๑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๔ บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและ
ตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้”
๔๗๒ ปัจจุบันเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐
๔๗๓ จาก รายงานเรื่อง แรงงานต่างด้าว : ความส�าคัญและการบริหารจัดการ, โดย ร.ต.อ.หญิง ปณิตา ศรศรี, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก http://training.p3.police.go.th/doc/non4.pdf
๔๗๔ จาก ร่วมกันแก้ไขปัญหาแรงงาน, โดยศรยุทธ เทียนสี, สืบค้นจาก http://thaipost.net/?q=%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0
%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%A
B%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99
๔๗๕ จาก สืบค้นจาก http://www.smethailandclub.com/knowledges-view.php?id=184
๔๗๖ จาก สถิติแรงงานข้ามชาติ, โดย ส�านักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก https://www.m-society.go.th/article_attach/18712/20429.pdf
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 224 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙