Page 224 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 224

and Members of Their Families) ว่า หมายถึง “บุคคลซึ่ง
                                                            ก�าลังจะถูกจ้างหรือเป็นผู้ที่ถูกจ้างงานอยู่ โดยได้รับค่าตอบแทนในรัฐ

                                                                                    ๔๖๕
                                                            ที่ตนไม่ได้เป็นคนของชาตินั้น”   ซึ่งเอกสารของส�านักงานแรงงาน
                                                                                                     ๔๖๖
                                                            ระหว่างประเทศ (International Labour Office)   ได้อธิบาย
                                                            นิยามแรงงานย้ายถิ่นไว้ว่า แรงงานย้ายถิ่น คือ คนที่ออกจากบ้าน
                                                            เพื่อหางานท�านอกภูมิล�าเนาหรือนอกประเทศเกิด (hometown
                                                            or home country) โดยคนที่ย้ายที่อยู่เพื่อท�างานภายในประเทศ

                                                            จะเรียกว่า “แรงงานย้ายถิ่นภายในประเทศหรือแรงงานย้ายถิ่น
            ภายใน” (‘domestic’ or ‘internal’ migrant workers) ส่วนคนที่ย้ายที่อยู่เพื่อท�างานในประเทศอื่นที่ไม่ใช่ประเทศเกิด
            โดยทั่วไปจะเรียกว่า “แรงงานย้ายถิ่นต่างประเทศหรือแรงงานย้ายถิ่นระหว่างประเทศ” (‘foreign’ or ‘international’

            migrant workers) ทั้งนี้ เนื้อหาในเอกสารต่อจากหัวข้อหลักการสิทธิมนุษยชนจะเรียกแรงงานที่ย้ายถิ่นจากประเทศอื่นมา
            ท�างานในประเทศไทยว่า “แรงงานข้ามชาติ” ซึ่งจะกล่าวเฉพาะมิติของแรงงานข้ามชาติจากประเทศเมียนมา ลาว และกัมพูชา สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเฉพาะ


                     สิทธิของแรงงานย้ายถิ่น (migrant workers) ตามอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานย้ายถิ่นและสมาชิก
            ในครอบครัว (International Convention on the Protection of the Rights of All Migrant Workers and Members

            of Their Families: ICRMW) แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ (๑) สิทธิของแรงงานย้ายถิ่นและสมาชิกในครอบครัวที่ได้รับ
            การคุ้มครอง ไม่ว่าสถานะของแรงงานจะถูกกฎหมายหรือไม่ ปรากฏตามข้อ ๑, ๙, ๑๐, ๑๑, ๑๒, ๑๓, ๑๔, ๑๕, ๑๖ – ๒๐,
            ๒๒ และ ๒๕ - ๒๘ ของอนุสัญญาฯ  เช่น สิทธิในการออกจากหรือกลับรัฐที่เป็นถิ่นก�าเนิด สิทธิที่จะไม่ถูกน�ามาเป็นทาสหรือ

            แรงงานบังคับ การปฏิบัติที่เท่าเทียมกันกับคนในชาติในเรื่องการจ้างงาน เป็นต้น (๒) สิทธิของแรงงานย้ายถิ่นและสมาชิก   บทที่
                                                                                                                    ๖
            ในครอบครัวซึ่งเป็นแรงงานที่ถูกกฎหมายที่ได้รับการคุ้มครอง ปรากฏตามข้อ ๓๙, ๔๓ และ ๕๔ ของอนุสัญญา เช่น สิทธิที่
            จะมีอิสระในการเคลื่อนย้ายและเสรีภาพในการเลือกที่อยู่อาศัย การคุ้มครองการเลิกจ้าง ผลประโยชน์จากการว่างงาน เป็นต้น  ๔๖๗


                     ปัจจุบัน ประเทศไทยยังไม่ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานย้ายถิ่นและสมาชิกใน

            ครอบครัว (International Convention on the Protection of the Rights of All Migrant Workers and Members
            of Their Families: ICRMW) อย่างไรก็ตาม สิทธิของแรงงานย้ายถิ่นได้ถูกรับรองอยู่ในสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้าน
            สิทธิมนุษยชนหลัก ได้แก่ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil

            and Political Rights: ICCPR) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International
            Covenant on Economic, Social and Cultural Rights: ICESCR) โดยระบุว่า ประชาชาติทั้งปวงมีสิทธิก�าหนดเจตจ�านง
            ของตนเอง โดยสิทธินั้นประชาชาติเหล่านั้นจะก�าหนดสถานะทางการเมืองของตนโดยเสรี และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และ
            วัฒนธรรมของตนอย่างเสรี รัฐภาคีจะประกันว่าสิทธิทั้งหลายที่ระบุไว้ในกติกาจะใช้ได้โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใด ๆ
            ในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือความคิดเห็นอื่นใด ชาติหรือสังคมดั้งเดิม ทรัพย์สิน

            ก�าเนิด หรือสถานะอื่น


                     นอกจากนี้ ยังถูกรับรองอยู่ในสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนอื่นอีกหลายฉบับ เช่น  อนุสัญญาว่าด้วย

            การขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (International Convention on the Elimination of All Forms of
            Racial Discrimination: CERD) ระบุว่า รัฐภาคีจะห้ามและขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบและจะประกันสิทธิ
            ของทุกคนให้มีความเสมอภาคกันตามกฎหมาย เช่น สิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันภายใต้ศาลและองค์กรอื่น ๆ

                     ๔๖๕  The term “migrant worker” refers to a person who is to be engaged, is engaged or has been engaged in a remunerated activity in a State
            of which he or she is not a national.
                     ๔๖๖  From International Labour Standard on Migrant Workers’ Rights: guide for policymakers and practitioners in Asia and the Pacific, Retrieved
            from http://www.ilo.org/wcmsp5/groups/public/---asia/---ro-bangkok/documents/publication/wcms_146244.pdf)
                     ๔๖๗  From Protected Main Rights of the ICRMW, 2015, Retrieved from http://www.claiminghumanrights.org/icrmw_protected_rights.html

                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  223  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   219   220   221   222   223   224   225   226   227   228   229