Page 223 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 223

ผู้สูงอายุกับความรุนแรง (Violence) มีความเชื่อมโยงอย่างยิ่งกับการท�าให้ผู้สูงอายุขาดความสามารถ
        (disempowerment) และการเลือกปฏิบัติ (discrimination) ความรุนแรงที่เกิดกับผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะไม่มีการรายงาน

                                                                                              ๔๖๓
        หรือเอกสารหลักฐาน เนื่องจากผู้สูงอายุไม่เต็มใจ/ขาดความสามารถในการระบุเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  ทั้งนี้ ปัญหา
        ที่ผู้สูงอายุต้องประสบอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่ ได้แก่ ปัญหาการถูกทอดทิ้งให้อยู่อย่างโดดเดี่ยว การใช้ความรุนแรงและการเลือก
        ปฏิบัติ การจัดโครงสร้างพื้นฐานส�าหรับผู้สูงอายุเป็นการเฉพาะ การเข้าถึงความยุติธรรม การแสวงหาประโยชน์ทางการเงิน
        การท�าธุรกรรมทางการเงิน สถานพยาบาลส�าหรับผู้สูงอายุ การดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษในระยะยาวการได้รับโอกาส
        ในการท�างานความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว การมีส่วนร่วมในครอบครัว



                 นับแต่ปี ๒๕๔๘ – ๒๕๕๗ สถิติการเสียชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศจากการพลัดตกหกล้มยังคงเพิ่มขึ้น
        อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ข้อมูลจากศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตาย พบว่า แนวโน้มการฆ่าตัวตายส�าเร็จในผู้สูงอายุมีแนวโน้ม

        เพิ่มขึ้น จากเดิมที่มีจ�านวน ๕๐๐ กว่าคนในปี ๒๕๕๓ เพิ่มเป็น ๖๐๐ กว่าคนในปี ๒๕๕๔ ซึ่งถือว่ามีจ�านวนการฆ่าตัวตาย
        ที่ใกล้เคียงกับวัยแรงงาน ซึ่งมีผู้ที่ฆ่าตัวตายปีละประมาณ ๗๐๐ – ๙๐๐ คนต่อปี นอกจากนี้ ยังพบว่า ในปี ๒๕๕๘ มีผู้สูงอายุ
        พยายามฆ่าตัวตายถึง ๘๑๗ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๔๑  ๔๖๔


                 แม้ประเทศไทยจะมีการก�าหนดนโยบายและ

        แผนงานระดับชาติเกี่ยวกับผู้สูงอายุ แต่เนื่องจากปัญหา
        ภาวะสังคมสูงวัยเป็นปัญหาระดับโครงสร้างทางสังคม
        ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสิทธิของผู้สูงอายุรุนแรงยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ

        โดยเฉพาะในเรื่องของสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองทางสังคม
        (right to social protection) การดูแล (care) มาตรฐาน
        การด�ารงชีวิตที่เพียงพอ (adequate standards of living)
        ความเท่าเทียม (equality) การไม่เลือกปฏิบัติ (non-
        discrimination) ศักดิ์ศรี (dignity) และการเป็นส่วนหนึ่ง

        ของสังคม (social integrity) ดังนั้น การจัดท�าแผนงานระดับชาติด้านผู้สูงอายุที่มีระยะเวลายาว ๒๐ ปี และมีการทบทวน
        ๕ ปี/ครั้ง จึงอาจไม่เพียงพอต่อการขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุให้สัมฤทธิ์ผลในทางปฏิบัติ จึงเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องด�าเนิน
        มาตรการที่จ�าเป็นให้สิทธิดังกล่าวเกิดขึ้นจริง (Obligation to Fulfill)



                 นอกจากนี้ รัฐควรผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อผู้สูงอายุอย่างจริงจังหรือประกันว่าการคุ้มครองและ
        ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของผู้สูงอายุจะเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายด้านการพัฒนาที่สอดคล้องกับหลักการ SDGs เสริมสร้าง
        ความเข้มแข็งในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุและสนับสนุนกระบวนการจัดท�าอนุสัญญาระหว่างประเทศทาง
        ด้านสิทธิมนุษยชนของผู้สูงอายุภายใต้กรอบการท�างานของคณะท�างาน UN Open – ended Working Group on Ageing

        ของสหประชาชาติ


         ๖.๗  แรงงานข้ามชาติและผู้ติดตาม



        ๖.๗.๑ หลักการสิทธิมนุษยชน
                 องค์การสหประชาชาติได้ให้นิยามของ “แรงงานย้ายถิ่น” ไว้ในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงาน
        ย้ายถิ่นและสมาชิกในครอบครัว (International Convention on the Protection of the Rights of All Migrant Workers

                 ๔๖๓  From OHCHR. Summary of the Report of the Secretary-General to the General Assembly, Human Rights of older Person. Retrieve from
        http://www.ohchr.org/EN/Jessues/Older Persons/pages/OlderPersonsImdex.
                 ๔๖๔  จากรายงานอัตราการพยายามฆ่าตัวตายของประเทศไทย, โดย ศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตัวตาย, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก www.suicidethai.com/report/dmh/age_506s.asp

                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  222  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   218   219   220   221   222   223   224   225   226   227   228