Page 222 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 222
การเข้าไม่ถึงยารักษาโรค ปัญหาด้านการดูแลรักษา
๔๕๗
สุขภาพ รวมไปถึงความไม่มั่นคงทางรายได้ ผู้สูงอายุใน
ประเทศไทยมีรายได้ต�่ากว่าเส้นความความยากจน
ถึงร้อยละ ๓๔.๓ ในปี ๒๕๕๗ หรือมีรายได้ต�่ากว่า
๒,๖๔๗/คน/เดือน และยังต้องพึ่งพิงรายได้จากผู้อื่น
ร้อยละ ๕๕.๘ โดยมีผู้สูงอายุร้อยละ ๓๘.๓ ยังคงท�างานซึ่งมี
เพียงร้อยละ ๑๘.๕ เท่านั้นที่ต้องการท�างานด้วยความสมัครใจ
แสดงให้เห็นว่าผู้สูงอายุจ�านวนมากยังคงต้องท�างานเพราะ
ความจ�าเป็นในการหารายได้เพื่อใช้ในการด�ารงชีวิต ๔๕๘
ประเทศไทยมีความพยายามมุ่งให้มีการขยายการคุ้มครอง และจัดให้มีการคุ้มครองทางสังคมถ้วนหน้า ทั้งนี้ เพื่อให้
สอดคล้องกับข้อเสนอแนะว่าด้วยฐานการคุ้มครองทางสังคม ๒๕๕๕ (ฉบับที่ ๒๐๒) (Social Protection Floors Recommendation, สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเฉพาะ
๔๕๙
๒๐๑๒ (No. 202)) ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓
พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐
พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และแผนยุทธศาสตร์สวัสดิการสังคมไทย
๔๖๐
(๒๕๕๕-๒๕๕๙) รวมถึงแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๑ (๒๕๕๕ - ๒๕๕๙) อย่างไรก็ตาม
ยังมีความคุ้มครองทางสังคมที่ประชาชนทุกภาคส่วนไม่สามารถเข้าถึงระบบสวัสดิการเหล่านี้ได้ อาทิ การประกันรายได้
ช่วยเหลือบุตร ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนในกลุ่มวัยแรงงานระหว่างแรงงานนอกระบบและในระบบ อีกทั้งสวัสดิการทางสังคมยังขาด
ความมั่นคง หรือไม่เพียงพอในการเป็นหลักประกันให้กับประชาชนในประเทศไทยได้ เช่น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และเงินประกันสังคม บทที่
๖
๔๖๑
ตามมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นต้น ซึ่ง กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนกรณีไม่ได้รับ
๔๖๒
การขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุและไม่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุย้อนหลัง โดย กสม. เห็นว่าเพื่อเป็นการป้องกันการตกหล่น
แก่ผู้มีสิทธิรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากกรณีที่ผู้สูงอายุ อาจจะไม่ได้รับการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึงหรืออาจจะยื่นเอกสาร
ลงทะเบียนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไม่ทัน จึงเห็นควรเสนอข้อสังเกตต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ (๑) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ควรมีการด�าเนินการเชิงรุก โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่มีอายุครบ ๖๐ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
ในปีงบประมาณถัดไป ทราบถึงการลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุล่วงหน้าประมาณ ๖ - ๑๒ เดือน ก่อนการเปิด
ลงทะเบียนในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี หรือควรขยายระยะเวลาการเปิดลงทะเบียนให้ผู้มีสิทธิรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
ในปีงบประมาณถัดไปสามารถมายื่นค�าขอลงทะเบียนได้ตลอด
จนถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายนของทุกปี (๒) กระทรวงมหาดไทยควร
แก้ไขระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงิน
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๕๒
ให้สามารถเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร โดยเป็นการ
ส�ารวจเชิงรุกเพื่อเป็นการป้องกันการตกหล่นของผู้มีสิทธิรับ
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและสามารถกรองผู้ที่ได้รับสวัสดิการหรือ
สิทธิประโยชน์ที่เกิดจากรัฐอยู่แล้ว เช่น ผู้รับเงินบ�านาญ เบี้ยหวัด
เป็นต้น ออกจากบัญชีผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
๔๕๗ Summary of the Report of the Secretary-General to the General Assembly, Human rights of older person.
๔๕๘ จาก เวทีเสวนาสาธารณะ เรื่อง สังคมสูงวัย..ก้าวไปด้วยกัน วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๐, โดย วรเวศม์ สุวรรณระดา, สืบค้นจากhttp://www.hfocus.org/content/
2017/04/13801
๔๕๙ ที่ประชุมแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Conference: ILC) ได้ให้การรับรองในสมัยประชุมที่ ๑๐๑ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕
๔๖๐ จาก การประเมินการคุ้มครองทางสังคมจากการปรึกษาหารือระดับชาติเพื่อก้าวสู่ฐานการคุ้มครองทางสังคมภายใต้บริบทของประเทศไทย (หน้า iv.), โดย องค์การ
แรงงานระหว่างประเทศและคณะท�างานร่วมขององค์การสหประชาชาติในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๖.
๔๖๑ จาก เวทีภาคประชาชนเรื่อง ฐานความคุ้มครองทางสังคมในประเทศไทย, โดย อุษา เขียวรอด.
๔๖๒ รายงานผลการตรวจสอบที่ ๑๔๔/๒๕๕๙
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 221 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙