Page 221 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 221
หกล้ม ๒,๐๐๗ คน หรือเฉลี่ยวันละ ๖ คน เป็นกลุ่มผู้สูงอายุสูงถึง ๙๐๙ คน หรือเฉลี่ยวันละ ๓ คน ซึ่งสาเหตุของการพลัดตก
หกล้มส่วนใหญ่เกิดจากตัวผู้สูงอายุ ได้แก่ ร่างกายและความสามารถที่ลดลง เช่น การมองเห็นไม่ชัด สายตาผิดปกติ เดินเซ
๔๕๕
เคลื่อนไหวล�าบาก รายละเอียดตามแผนภูมิที่ ๔
แผนภูมิที่ ๔ อัตราการเสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้มของประชากรไทยและกลุ่มอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปต่อประชากรแสนคน
ปี ๒๕๔๘ – ๒๕๕๗
อัตรา อายุ ๖๐ ปขึ้นไป
๑๒ รวมทุกกลุมอายุ
๑๐
๘
๖
๔
๒
๐ ป พ.ศ.
ที่มา : กรมควบคุมโรค (๒๕๕๘). รายงานประจ�าปี ๒๕๕๘
๖.๖.๔ การประเมินสถานการณ์
ภาวะประชากรสูงวัยก�าลังเกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยที่โครงสร้างอายุประชากรได้ปรับเปลี่ยน
เข้าสู่สังคมผู้อายุมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างอายุ (ageing transformation) ดังกล่าว ท�าให้เกิด
ช่องว่าง/ความแตกต่างระหว่างช่วงวัย เกิดปัญหาการเหยียดวัย (Ageism) ซึ่งน�าไปสู่ปัญหาของการเลือกปฏิบัติ (Discrimination)
ต่อผู้สูงอายุ ทั้งนี้ การเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งอายุนั้น มักจะมีมิติที่ทับซ้อนร่วมกับการเลือกปฏิบัติในมิติอื่น ๆ อาทิ การเลือก
ปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ ชาติพันธุ์และเชื้อชาติ ศาสนา ความพิการ เงื่อนไขทางสาธารณสุขหรือเกี่ยวกับภาวะทางเศรษฐกิจและ
สังคม ซึ่งล้วนส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสิทธิมนุษยชนของผู้สูงอายุ
ภาพรวมสถานการณ์ของผู้สูงอายุในประเทศไทย ปี ๒๕๕๙ รัฐมีความก้าวหน้าในการด�าเนินงานด้านผู้สูงอายุ
หลายประการ โดยมีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่เกี่ยวกับการประกันสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้สูงอายุ มีแผนงาน
ระดับชาติด้านผู้สูงอายุโดยด�าเนินการผ่านกลไกรัฐที่รับผิดชอบด้านผู้สูงอายุเพื่อน�าแผนไปปฏิบัติสู่ชุมชนทั่วประเทศ และ
มีกฎหมาย ตลอดจนมาตรการต่าง ๆ ที่รัฐประกาศใช้เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม จากการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ
สถานการณ์สังคมผู้สูงอายุ โดยองค์การช่วยเหลือผู้สูงอายุระหว่างประเทศ (Help Age International) เพื่อจัดท�า “ดัชนีชี้วัด
เกี่ยวกับผู้สูงอายุทั่วโลก (Global Age Watch Index)” เพื่อประเมินผลความส�าเร็จของนโยบายที่เกิดขึ้นที่แต่ละประเทศ
ได้ด�าเนินการด้านผู้สูงอายุจากข้อมูลหลัก ๔ ด้าน คือ ความมั่นคงทางรายได้ (Income security) สุขภาพ (Health status)
ความสามารถ (Capability) อาทิ ด้านการศึกษาและการจ้างงาน และสภาพแวดล้อมที่เอื้ออ�านวย (Enabling environment)
อาทิ การเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชุมชน พบว่าประเทศไทยถูกจัดอยู่ในล�าดับที่ ๓๔ จาก ๙๖
๔๕๖
ประเทศทั่วโลก คือ อยู่ในระดับปานกลางของประเทศที่มีการด�าเนินการด้านผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุกับความยากจน (Poverty) เป็นข้อท้าทายที่เร่งด่วนที่สุดที่กระทบต่อสิทธิของผู้สูงอายุ เนื่องจากความ
ยากจนท�าให้เกิดภาวะของการขาดความสามารถในการเลี้ยงชีพด้วยตนเองของผู้สูงอายุ จึงเป็นเหตุส�าคัญอันน�าไปสู่ปัญหาต่าง ๆ
ที่เกิดกับผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเร่ร่อน การขาดอาหาร โรคเรื้อรัง การขาดการเข้าถึงน�้าดื่มที่สะอาดปลอดภัย
๔๕๕ จาก รายงานประจ�าปี ๒๕๕๘ (หน้า ๔๐ – ๔๑), โดย ส�านักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค, กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค.
๔๕๖ Commentary on Thailand’s domain ranks in the 2015 Global AgeWatch Index.
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 220 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙