Page 217 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 217
ประเทศไทยได้ด�าเนินนโยบาย แผนงาน กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ และมีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับ
การคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ประเทศไทยได้ก�าหนดให้
วันที่ ๑๓ เมษายนของทุกปี เป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ และก�าหนดแนวทางหลักในการพัฒนากลุ่มผู้สูงอายุยากจนในแผนพัฒนา
๔๓๒
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับล่าสุด คือ
๔๓๓
ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) ได้ก�าหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่เกี่ยวกับสิทธิของผู้สูงอายุ ๒ ยุทธศาสตร์
คือ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ และยุทธศาสตร์ที่ ๒ การสร้างความเป็นธรรมและลดความ
๔๓๔
เหลื่อมล�้าในสังคม นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้จัดท�าปฏิญญาผู้สูงอายุไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งประกอบด้วย แนวปฏิบัติ
๙ ข้อ เพื่อมุ่งประโยชน์ให้ผู้สูงอายุได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ
ประเทศไทยได้จัดท�าแผนงานระดับชาติด้านผู้สูงอายุมาแล้ว ๒ ฉบับ โดยเป็นแผนระยะยาวครอบคลุมระยะเวลา
๒๐ ปี ซึ่งแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ มีระยะเวลาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๕ – ๒๕๔๔ และแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ ๒
มีระยะเวลาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๕ – ๒๕๖๔ ทั้งนี้ ได้มีการทบทวน/ปรับปรุงแผนดังกล่าว เมื่อปี ๒๕๕๒ แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ
เป็นแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติในการพัฒนาและการด�าเนินงานด้านผู้สูงอายุของประเทศไทย โดยมีคณะกรรมการผู้สูงอายุ
แห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเป็นกลไกระดับชาติในการขับเคลื่อนแผนดังกล่าว และก�าหนดหน่วยงาน
๔๓๕
๔๓๖
รับผิดชอบด�าเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครอง การส่งเสริม และสนับสนุนผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านการบริการ
ทางการแพทย์และการสาธารณสุขด้านการประกอบอาชีพ หรือฝึกอบรมที่เหมาะสมด้านการช่วยเหลือผู้สูงอายุ ซึ่งได้รับ
อันตรายจากการถูกทารุณกรรมหรือถูกแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือถูกทอดทิ้ง
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุ คือ พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งได้ประกัน
๔๓๗
สิทธิของผู้สูงอายุในด้านสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ ตลอดจนสิทธิประโยชน์ด้านต่าง ๆ ในการเข้าถึงและการได้รับบริการ
สาธารณะและให้มีการจัดตั้งกองทุนผู้สูงอายุ ซึ่งให้บริการเงินกู้ไม่มีดอกเบี้ยส�าหรับผู้สูงอายุเพื่อการลงทุนรายได้
๔๓๘
หลังเกษียณ ประเทศไทยได้ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุ ครั้งที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยว
๔๓๙
กับอ�านาจหน้าที่ของคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ สิทธิเรื่องเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุ และอ�านาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
บริหารกองทุนผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพเป็นรายเดือนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
ประเทศไทยได้จัดท�ารายงานผลการด�าเนินงานผู้สูงอายุของประเทศไทย ตามแผนปฏิบัติการระหว่างประเทศมาดริด
๔๔๐
ว่าด้วยเรื่องผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๕๙ โดยแสดงถึงสถานการณ์ของผู้สูงอายุของประเทศไทยและผลการด�าเนินงาน
หลักตามเป้าหมายของการพัฒนาผู้สูงอายุใน ๓ ประเด็นภายใต้แผนปฏิบัติการดังกล่าว คือ ผู้สูงอายุกับการพัฒนา (Older
persons and development) สูงวัยอย่างสุขภาพดีและมีสุขภาวะ (Advancing health and well-being into old age)
และการสร้างความมั่นใจว่าจะมีสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุนและเหมาะสม (Ensuring enabling and supportive environment)
นอกจากนี้ ยังแสดงถึงการติดตามผลการด�าเนินงานตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ และประเด็นท้าทาย
ในการด�าเนินงานด้านผู้สูงอายุของประเทศไทย
๔๓๒ จาก ปฏิญญาผู้สูงอายุไทย, โดย รุ่งศักดิ์ ศิรินิยมชัย, ๒๕๕๕, http://www.gotoknow.org/posts/15140
๔๓๓ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๑๑๕ ก วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๙
๔๓๔ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๔๒.
๔๓๕ รายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทยภายใต้กระบวนการ Universal Periodic Review (UPR) ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
(หน้า ๑๕ – ๑๖).
๔๓๖ ประกาศส�านักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การก�าหนดหน่วยงานผู้มีอ�านาจหน้าที่รับผิดชอบด�าเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนผู้สูงอายุ
ในด้านต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๑๕๑ ง วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๓.
๔๓๗ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๕๖ หน้า ๓ วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๓
๔๓๘ มาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖
๔๓๙ พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๕๖ ก วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๓
๔๔๐ จาก การด�าเนินงานผู้สูงอายุของประเทศไทยตามแผนปฏิบัติการระหว่างประเทศมาดริดว่าด้วยเรื่องผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๕ – ๒๕๕๙, โดย กรมกิจการผู้สูงอายุ,
๒๕๕๙, กรุงเทพฯ: กรมกิจการผู้สูงอายุ
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 216 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙