Page 216 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 216
ประเทศไทยมีจ�านวนประชากร (Population
from registration) ๖๕.๓ ล้านคน โดยเป็นประชากรสูงอายุ
๔๒๙
ร้อยละ ๑๖.๙๐ ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
(Ageing Society) นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นมา
คือ มีสัดส่วนประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปสูงถึงร้อยละ ๑๐
ทั้งนี้ คาดว่าประเทศไทยจะเป็นสังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์
(Complete Aged Society) คือมีสัดส่วนประชากรอายุ
๖๐ ปีขึ้นไป สูงถึงร้อยละ ๒๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ และ
จะเป็นสังคมสูงอายุอย่างเต็มที่ (Super Aged Society)
คือ มีสัดส่วนประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป สูงถึงร้อยละ ๒๘ ในปี พ.ศ. ๒๕๗๘ ๔๓๐
องค์การสหประชาชาติได้รับรองหลักการ ๑๘ ประการส�าหรับผู้สูงอายุเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔ (United Nations สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเฉพาะ
๔๓๑
Principles for Older Persons Adopted by General Assembly resolution 46/91 of 16 December 1991)
โดยรับรองสิทธิของผู้สูงอายุในด้านการมีอิสรภาพในการพึ่งตนเอง (Independence) การมีส่วนร่วม (Participation)
การดูแล (care) การบรรลุความต้องการ (Self-fulfilment) และความมีศักดิ์ศรี (Dignity) ซึ่งส่วนหนึ่งมีความเชื่อมโยงและใช้เป็น
ข้อก�าหนดเบื้องต้นในการจัดท�าแผนปฏิบัติการมาเก๊าว่าด้วยการด�าเนินงานด้านผู้สูงอายุในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ และแผนปฏิบัติการระหว่างประเทศเกี่ยวกับผู้สูงอายุมาดริด (The Madrid International Plan of Action
on Ageing) ระยะที่ ๑ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ และระยะที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๓
บทที่
๖
ประเทศไทยเสนอรายงานประเทศไทยฉบับที่ ๑ - ๒ เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๕๘ ต่อคณะกรรมการสิทธิทางเศรษฐกิจ
สังคม และวัฒนธรรม โดยคณะกรรมการฯ ได้มีข้อสังเกตโดยสรุป (Concluding Observations) ในประเด็นที่เกี่ยวกับ
ผู้สูงอายุว่า ปัญหาชุมชนแออัดในเมืองใหญ่ซึ่งอาจถูกขับไล่ออกจากที่อยู่อาศัยและไม่สามารถเข้าถึงบริการพื้นฐาน เช่น
น�้าและระบบสุขอนามัยที่ดี ปัญหาความยากจน (ประมาณร้อยละ ๑๑ ของประชากร) ซึ่งมีผลกระทบโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ต่อเด็ก ผู้สูงอายุ และประชากรที่อาศัยในชนบท (ข้อ ๑๑)
ประเทศไทยไม่ได้รับข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุจากการเสนอรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
ภายใต้กระบวนการ Universal Periodic Review (UPR) รอบที่ ๑ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๔ อย่างไรก็ตาม การเสนอรายงานฯ
รอบที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ประเทศไทยได้ตอบรับข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับสิทธิของผู้สูงอายุ อาทิ ข้อ ๗๐ ปรับปรุงการเข้าถึง
ด้านสุขภาพ การศึกษา และสวัสดิการสังคมของกลุ่มเปราะบาง ซึ่งรวมถึงผู้อยู่ในชนบท ชนกลุ่มน้อย สตรี ผู้ย้ายถิ่น และ
ผู้ลี้ภัย (ญี่ปุ่น) ข้อ ๑๔๔ ด�าเนินพยายามเพื่อประกันการความคุ้มครองกลุ่มเปราะบางที่อยู่ในภาวะยากล�าบากอย่างเหมาะสม
(สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) ข้อ ๑๕๒ อ�านวยความสะดวกในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพแก่ทุกคนที่อยู่ในอาณาเขตของ
ประเทศไทย (มาดากัสการ์) ข้อ ๑๕๔ สร้างความเข้มแข็งแก่มาตรการต่าง ๆ เพื่อรับรองการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ
แก่ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน โดยให้ความส�าคัญเป็นพิเศษกับความต้องการที่จ�าเป็นของเด็ก สตรี และผู้สูงอายุ (ศรีลังกา)
๔๒๙ จาก แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ (หน้า ๓๙), โดย ส�านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,
กรุงเทพฯ: ส�านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
๔๓๐ จาก สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ (หน้า ๗), โดย มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย
๔๓๑ From United nations principles for older persons, 1991, Retrieved from http://www.ohchr.org/EN/ProfessionalInterest/Pages/OlderPersons.aspx
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 215 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙