Page 212 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 212

ในส่วนของการอนุญาตให้บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศใช้ค�าหน้าชื่อให้ตรงกับเพศสภาพ ณ ปัจจุบัน ข้อมูล
            จากการส�ารวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “สังคมไทยคิดอย่างไรกับเพศที่สาม” พบว่า ประชากรกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่

            มากกว่าร้อยละ ๕๐ ยังไม่เห็นด้วย เนื่องจากท�าให้ไม่สามารถแยกแยะได้ว่าเป็นเพศไหน อาจเกิดความสับสนวุ่นวาย
            ตามมา เช่น การตามหาตัวบุคคล และการติดต่อเอกสารหน่วยงานต่าง ๆ ในขณะที่ยอมรับได้หากมีเพื่อนหรือเพื่อนร่วมงาน
            ในองค์กรหรือสมาชิกในครอบครัวเป็นบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ รวมถึงการออกกฎหมายยอมรับการจดทะเบียน
            คู่ชีวิต (สมรส) ของบุคคลรักเพศเดียวกัน และการเพิ่มทางเลือกในการกรอกข้อมูลด้านเพศของเอกสารราชการทุกชนิดให้มี
            ค�าว่า “เพศที่สาม หรือเพศทางเลือก” นอกเหนือไปจากเพศชายและเพศหญิง



                     มิติที่สี่ การยอมรับหรือการอยู่ร่วมกับวิถี
            วัฒนธรรมอื่น  ๆ  ในส่วนที่เกี่ยวกับการแสดงวิถี

            ทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศที่แตกต่างหลากหลาย
            พบว่า บุคคลที่แสดงวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศ                                                          สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเฉพาะ
            สามารถด�าเนินวิถีชีวิตและประกอบอาชีพ หรือได้รับการ
            จ้างงานในอาชีพที่แตกต่างหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
            สื่อบันเทิง บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศที่ประพฤติ

            ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ได้รับการยอมรับทั้งในการ
            ปฏิบัติหน้าที่ผู้สื่อข่าว พิธีกร ผู้ด�าเนินรายการ หรือดารา
                              ๔๑๐
            นักร้อง และนักแสดง  แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีรายงานว่ามีการเลือกปฏิบัติในเชิงระบบ (Systematic Discrimination)
            ที่เกิดขึ้น ทั้งการเข้าถึงโอกาสในการศึกษา หรือการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ การสมัครงาน ตลอดจนการเข้ารับราชการ   บทที่
                                                                                                                    ๖
            หรือการประกอบอาชีพบางประเภท   ๔๑๑


                     มิติที่ห้า ความรู้ ความเข้าใจ ต่อวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศ พบว่า ประชาชนในบางส่วนยังคงมีทัศนคติ
            ซึ่งจ�าเป็นต้องท�าความเข้าใจเกี่ยวกับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ดังจะเห็นได้จากการปฏิเสธ หรือการยืนยันผ่าน

            การติดประกาศหน้าห้องสุขาว่า “เพศที่สามไม่ใช้ห้องน�้าผู้หญิง” โดยเหตุผลที่เกรงว่าจะมีบุคคลที่มีเจตนาไม่สุจริตอาศัย
            การเสแสร้ง หรือแสดงออกว่าเป็นบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเข้าใช้บริการห้องสุขาหญิง  จนกลายเป็นข้อเสนอ
                                                                                           ๔๑๒
            ให้มีการจัดท�าห้องสุขาเฉพาะส�าหรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ อนึ่ง มีปรากฏการณ์ที่ท�าให้เกิดการตีความของ

            “บุคคลรักเพศเดียวกัน” กับการปฏิบัติตามความเชื่อทางศาสนา ทั้งในกรณีของการบวชเป็นภิกษุ หรือภิกษุณี โดยสังคมไทย
            ให้การยอมรับได้ในกรณีที่บุคคลนั้น ๆ จะต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี


                     นอกจากนี้ การศึกษาวิจัยเรื่อง “ความหลากหลายทางเพศในแบบเรียนไทย : บทวิเคราะห์แบบเรียนสุขศึกษา
            ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น” พบว่า หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ตามหลักสูตรแกนกลาง

            การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ยังมีเนื้อหาที่เต็มไปด้วยอคติทางเพศ และอคติในเรื่องความหลากหลายทางเพศ อาทิ
            (๑) การสร้างความเข้าใจว่า ประชากรในโลกนี้มีสองเพศ (Binary Concept) คือ เพศหญิง และเพศชาย ซึ่งถือเป็นเพศปกติ
            และเป็นสิ่งตามธรรมชาติ (๒) การขาดการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่าและความหมายที่แท้จริงของค�าว่า “ความเสมอภาค

            หรือความเท่าเทียมระหว่างเพศ” ในขณะที่เน้นย�้าการควบคุมพฤติกรรม และการวางตัวตามเพศก�าเนิดเท่านั้น ซึ่งกลายเป็น


                     ๔๑๐  จาก เพศที่สามครองพิธีกรเน้นประพฤติดีเป็นตัวอย่าง, สืบค้นจาก http://www.thaihealth.or.th/Content/26459
                     ๔๑๑  อาทิ กรณีของเคท ครั้งพิบูลย์ ผู้หญิงข้ามเพศ นักกิจกรรมเพื่อสิทธิเพศทางเลือก ซึ่งได้รับคัดเลือกให้เป็นอาจารย์ประจ�ามหาวิทยาลัยของรัฐบาล แต่ยังไม่ได้รับการบรรจุ
            และไม่มีการแจ้งความคืบหน้าใด ๆ และกรณีของเปรมปรีดา ปราโมช ณ อยุธยา นักกิจกรรมเพื่อสิทธิเพศทางเลือกกับกรณีพิพาทกับการจ้างงานขององค์กรระหว่างประเทศ จนเป็นเหตุ
            ให้มีการยุติสัญญาการจ้างงานอย่างไม่เป็นธรรม และมีการเจรจาเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย
                     ๔๑๒  จาก วิจารณ์สนั่น! ติดป้ายเพศที่ ๓ ห้ามใช้ห้องน�้าหญิง ละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก html : news.ch7.com/detail/183367/วิจารณ์สนั่น_
            ติดป้ายเพศที่_3_ห้ามใช้ห้องน�้าหญิง.


                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  211  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   207   208   209   210   211   212   213   214   215   216   217