Page 213 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 213

การสร้างแบบพิมพ์ความเป็นหญิงและความเป็นชายแบบตายตัว และ (๓) การก�าหนดให้บุคคลที่รักเพศเดียวกัน หรือการ
        แสดงออก (กิริยาท่าทาง การแต่งกาย) ที่ไม่ตรงกับเพศก�าเนิด (อาทิ คนข้ามเพศ) เป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ และจัดให้

        เป็นกลุ่มเดียวกับพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศอื่น ๆ เช่น ชอบแสดงอวัยวะเพศในพื้นที่สาธารณะ (Exhibitionist) หรือชอบใช้
        ความรุนแรงทางเพศ (Masochism and Sadism) เป็นต้น จึงเสนอให้ส�านักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (สวก.) และ
        ส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ พิจารณาปรับปรุงแบบเรียนดังกล่าวให้สอดคล้อง
        กับความคุณค่า และความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น


        ๖.๕.๔ การประเมินสถานการณ์

                 กสม. เห็นว่า การด�าเนินการที่ผ่านมา รัฐบาลได้พยายามส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่มีความหลากหลาย
        ทางเพศ หรือบุคคลที่มีการแสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยก�าเนิด โดยการบรรจุนิยามความหมายไว้ในพระราชบัญญัติความ

                                     ๔๑๓
        เท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘   เพื่อคุ้มครองบุคคลดังกล่าวจากการถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งความแตกต่างทางเพศ
        เพศภาวะ หรือเพศวิถี อย่างไรก็ตาม บุคคลเหล่านี้ยังเผชิญปัญหาเกี่ยวกับอคติของสังคมที่ประกอบสร้าง ลดทอนคุณค่าความ
        เป็นมนุษย์ ตีตราและตอกย�้าบทบาทที่ไม่เป็นไปตามความคาดหวังของสังคม   ผ่านการกล่อมเกลาในครอบครัว การเรียน
                                                                       ๔๑๔
        การสอน และสื่อ ด้วยระบบคิดและความเชื่อต่าง ๆ เป็นผลให้ถูกเลือกปฏิบัติอย่างเป็นระบบทั้งโดยรัฐและเอกชน ท�าให้
        ไม่ได้รับสวัสดิการที่เหมาะสมจากรัฐ ไม่มีกฎหมายรับรองสถานะทางเพศ  บุคคลข้ามเพศที่ต้องขังไม่ได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสม
                                                                 ๔๑๕
        และเสี่ยงต่อการถูกละเมิดทางเพศ ถูกท�าร้ายร่างกายและสังหารในเรือนจ�า ไม่สามารถรับยาเพื่อรักษาระดับฮอร์โมนในร่างกาย
        เนื่องจากมีระเบียบห้ามน�ายาเข้าเรือนจ�า ๔๑๖



                 แม้ว่ารัฐบาลจะมีความพยายามพิจารณา
        กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสมรสของคนรักเพศเดียวกัน
        แต่ร่างกฎหมายยังขาดความเข้าใจในปัญหาและอุปสรรค
        ของบุคคลกลุ่มนี้ที่แตกต่างจากคนรักต่างเพศ ขาดข้อมูล
        ที่รอบด้าน ขาดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงจากผู้มีส่วนได้

        ส่วนเสียที่หลากหลาย ซึ่งอาจเป็นผลให้บุคคลกลุ่มนี้ยังถูก
        เลือกปฏิบัติ เช่น ไม่สามารถรับบุตรบุญธรรมเฉกเช่นคู่รัก
        ต่างเพศได้ ซึ่งเป็นการขัดกับหลักการและเจตนารมณ์

        ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นต้น


                 จากสถานการณ์ข้างต้น รัฐควรพิจารณาทบทวนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ
        รวมทั้งนโยบาย และแนวปฏิบัติมิให้มีการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ เพศภาวะ และเพศวิถี เพื่อให้บุคคลดังกล่าวได้รับ
        การคุ้มครองสามารถเข้าถึงสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน รวมทั้งสวัสดิการอย่างเป็นธรรม อาทิ

                 -  การเร่งด�าเนินการให้คณะกรรมการชุดต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.
        ๒๕๕๘ สามารถปฏิบัติตามอ�านาจหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
        ซึ่งเป็นกลไกหลักในการบูรณาการมิติความเท่าเทียมระหว่างเพศไปสู่กระทรวงและกลไกที่เกี่ยวข้องของรัฐ และต้องจัดสรร

        งบประมาณที่เพียงพอให้กองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
                 ๔๑๓  มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ บัญญัติว่า “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ” หมายความว่า การกระท�าหรือไม่กระท�าการใด อันเป็นการ
        แบ่งแยก กีดกัน หรือจ�ากัดสิทธิประโยชน์ใด ๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยปราศจากความชอบธรรม เพราะเหตุที่บุคคลนั้นเป็นเพศชายหรือเพศหญิง หรือมีการแสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยก�าเนิด
                 ๔๑๔  เช่น หลักสูตรแกนกลางของส�านักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ยังระบุว่าบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นความผิดปกติทางจิต บัญชีจ�าแนกโรคสากลของ
        องค์กรอนามัยโลกที่ยังระบุว่าคนข้ามเพศเป็นภาวะผิดปกติและต้องการการบ�าบัดรักษา สภากาชาดระบุว่าบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นกลุ่มเสี่ยงของเอชไอวี เป็นต้น
                 ๔๑๕  โครงการวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง“การศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศเพื่อจัดท�าร่างกฎหมายว่าด้วยการรับรองเพศ”จัดโดย กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
        กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ร่วมกับ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อวันพุธที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๙ ณ ห้องจิ๊ดเศรษฐบุตร (ชั้น ๑) คณะนิติศาสตร์
        มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ที่กล่าวถึงกฎหมายรับรองสถานะทางเพศ จะต้องมีการผ่าตัดแปลงเพศก่อน เว้นแต่บุคคลนั้นมีข้อจ�ากัดทางศาสนา เศรษฐกิจ และสุขภาพ
                 ๔๑๖  จาก รายงานสรุปสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย เวที กสม. พบประชาชน ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก จังหวัดชลบุรี ระหว่างวันที่
        ๒๗ - ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙, เอกชัย ปิ่นแก้ว.

                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  212  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   208   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218