Page 214 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 214

-  การแก้ไขกฎหมายโดยยกเลิกข้อยกเว้น
            การเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลตามหลักการทางศาสนาหรือ

            เพื่อความมั่นคงของประเทศ ตามมาตรา ๑๗ และเพิ่ม
            ค�านิยามของ เพศ เพศภาวะ เพศวิถี ความรุนแรงเพราะ
            เหตุแห่งเพศ การคุกคามทางเพศ เพื่อให้ผู้บังคับใช้
            กฎหมายทุกระดับทั่วประเทศมีความเข้าใจที่ถูกต้องตรง
            กันและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผล

                     -  การพิจารณาแก้ไขประมวลกฎหมาย
            แพ่งและพาณิชย์  หมวด  ๒  เงื่อนไขแห่งการสมรส
            มาตรา ๑๔๔๘  โดยก�าหนดให้บุคคลผู้ที่สมรสกันได้นั้น
                        ๔๑๗
            คือ บุคคลใด ๆ ไม่จ�ากัดเฉพาะชาย หรือหญิง เท่านั้น
            รวมถึงการพิจารณาตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสมรส                                                         สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเฉพาะ
            ของคนรักเพศเดียวกันเพื่อรับรองสิทธิในการก่อตั้งครอบครัว
            ซึ่งจะช่วยคุ้มครองสิทธิต่าง ๆ ของคู่ชีวิตในด้านต่าง ๆ
            อาทิ  การลงลายมือชื่อแสดงความยินยอมในการ

            รักษาพยาบาลในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือเร่งด่วน การกู้ยืม
            สินเชื่อเพื่อการซื้อหรือพัฒนาที่อยู่อาศัย ตลอดจนสิทธิ
            ในการถือครอง หรือการแบ่งมรดกทรัพย์สิน
                                                                                                                   บทที่
                                                                                                                    ๖
             ๖.๖  ผู้สูงอายุ



            ๖.๖.๑ หลักการสิทธิมนุษยชน
                     องค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN)

            ได้ให้นิยาม ผู้สูงอายุ (Older person) หมายถึงประชากร
            ทั้งเพศชายและหญิงที่มีอายุมากกว่า ๖๐ ปีขึ้นไป ปัจจุบัน
            ยังไม่มีตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่บัญญัติ

            เรื่องสิทธิของผู้สูงอายุเป็นการเฉพาะ  อย่างไรก็ตาม
                                           ๔๑๘
            สิทธิของผู้สูงอายุก็บัญญัติรวมอยู่ในตราสารระหว่างประเทศ
            ด้านสิทธิมนุษยชนหลัก ๆ หลายฉบับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
            ในกติการะหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ๒ ฉบับ
            คือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ

            ทางการเมือง (International Covenant on Civil
            and Political Rights: ICCPR) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International
            Covenant on Economic, Social and Cultural Rights: ICESCR) ซึ่งรับรองศักดิ์ศรีแต่ก�าเนิดและสิทธิที่เท่าเทียมกัน

            และไม่อาจเพิกถอนได้ของสมาชิกทั้งปวงของมวลมนุษยชาติ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการขจัด
                                          ๔๑๙
            การเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ  (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against
            Women : CEDAW) ซึ่งประกันสิทธิอันเท่าเทียมกันของบุรุษและสตรี โดยยืนยันหลักการที่ว่าการเลือกปฏิบัติเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้
                     ๔๑๗  แหล่งเดิม.
                     ๔๑๘  จาก องค์การสหประชาชาติได้จัดตั้ง คณะท�างานเปิดว่าด้วยผู้สูงอายุ (UN Open – ended Working Group on Ageing) เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๕๓ เพื่อท�าหน้าที่
            พิจารณา ความเป็นไปได้ในการยกร่างอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิของผู้สูงอายุ และแต่งตั้งผู้เสนอรายงานพิเศษ (Independent Expert) ว่าด้วยสิทธิผู้สูงอายุ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๗
                     ๔๑๙  จาก ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๒๘ และมีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๒๘ โดยท�าค�าแถลงตีความว่าข้อบทใน
            อนุสัญญา CEDAW ต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญไทย และคงเหลือข้อสงวน ข้อ ๒๙ เกี่ยวกับการเสนอเรื่องให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิจารณา ในกรณีการพิพาทระหว่างรัฐภาคี.

                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  213  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218   219