Page 215 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 215

โดยทุกคนมีสิทธิและอิสรภาพโดยปราศจากความแตกต่างไม่ว่าจะชนิดใด ๆ รวมทั้งความแตกต่างเพราะเหตุแห่งเพศ และ
                                    ๔๒๐
        อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ  (Convention on the Rights of the Persons with Disabilities : CRPD) โดยระบุ
        ไว้ว่า ทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพทั้งปวงที่ก�าหนดไว้ โดยปราศจากความแตกต่างไม่ว่าจะชนิดใด ๆ และยอมรับว่าการเลือก
        ปฏิบัติต่อบุคคลใด ๆ บนพื้นฐานของความพิการเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีและคุณค่าที่มีแต่ก�าเนิดของมนุษย์


                 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประเทศไทยมีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฯ ที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุครั้งแรก คือ
        รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔ โดยบัญญัติเป็นแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐให้รัฐพึงช่วยเหลือและ

                                                                                         ๔๒๑
        สงเคราะห์ผู้สูงอายุและผู้พิการให้มีสุขภาพ ก�าลังใจ และความหวังในชีวิต เพื่อด�ารงตนอยู่ได้ตามสมควร  ต่อมา ในรัฐธรรมนูญ
        แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ได้ประกันสิทธิให้กับผู้สูงอายุเป็นครั้งแรก โดยให้นิยามความหมายของผู้สูงอายุ
        ว่าคือ บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์ โดยมีสิทธิได้รับสวัสดิการและความช่วยเหลือจากรัฐอย่างสมศักดิ์ศรี หากไม่มีรายได้

        เพียงพอแก่การยังชีพ โดยยังคงให้รัฐมีหน้าที่ในการสงเคราะห์ให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้  รัฐธรรมนูญ
                                                                                                ๔๒๒
        แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้บรรจุหลักการที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุหลายประการ อาทิ สิทธิใน
        กระบวนการยุติธรรม โดยก�าหนดว่า เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการหรือทุพพลภาพ ย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครอง
        ในการด�าเนินกระบวนพิจารณาคดีอย่างเหมาะสม และย่อมมีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในคดีที่เกี่ยวกับความรุนแรง
        ทางเพศ  ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวยังคงนิยามผู้สูงอายุว่า เป็นบุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์ อย่างไรก็ตาม
               ๔๒๓
        ได้มีการปรับเปลี่ยนหน้าที่ของรัฐจากบทบาทการให้การสงเคราะห์เป็นการให้ความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม ในกรณีที่ผู้สูงอายุ
        ไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพโดยมีสิทธิในการได้รับสวัสดิการ สิ่งอ�านวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรี
                                                                                                          ๔๒๔
        นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวยังได้ก�าหนดให้รัฐต้องด�าเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา

        และวัฒนธรรม คือ ต้องสงเคราะห์และจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้และด�าเนินการ
                                                                                                          ๔๒๕
        ตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ คือ จัดให้มีการออมเพื่อการด�ารงชีพในยามชราแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างทั่วถึง
        รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุว่า
        ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
        และตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้ ๔๒๖



        ๖.๖.๒ สถานการณ์ทั่วไป
                 ปี ๒๕๕๙ ประชากรทั่วโลกมีจ�านวน ๗,๔๑๘ ล้านคน   องค์การสหประชาชาติได้แบ่งระดับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
                                                           ๔๒๗
        เป็น ๓ ระดับ ได้แก่ (๑) ระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Ageing society) หมายถึง สังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ
        ๖๐ ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ ๑๐ ของประชากรทั้งประเทศหรือมีประชากรอายุตั้งแต่ ๖๕ ปีมากกว่าร้อยละ ๗ ของประชากร
        ทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นก�าลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (๒) ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) หมายถึง
        สังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ ๒๐ ของประชากรทั้งประเทศหรือมีประชากรอายุตั้งแต่
        ๖๕ ปี มากกว่าร้อยละ ๑๔ ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (๓) ระดับสังคม

        ผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-aged society) หมายถึง สังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ ๖๕ ปีขึ้นไปมากกว่า ร้อยละ ๒๐
        ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่  ๔๒๘



                 ๔๒๐  ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีโดยการให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๑ และมีผลใช้บังคับกับไทยเมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๑
                 ๔๒๑  มาตรา ๘๑ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔
                 ๔๒๒  มาตรา ๕๔ และมาตรา ๘๐ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
                 ๔๒๓  มาตรา ๔๐ (๖) แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
                 ๔๒๔  มาตรา ๕๓ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
                 ๔๒๕  มาตรา ๘๐ (๑) และมาตรา ๘๔ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
                 ๔๒๖  มาตรา ๔ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
                 ๔๒๗  From 2016 World population data sheet with a special focus on human needs and sustainable resources, Population, referen bureau,
        Retrieved from http://www.prb.org/pdf16/prb-wpds2016-web-2016.pdf
                 ๔๒๘  จาก สังคมผู้สูงอายุ: นัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ., โดย รัชนี โตอาจ, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก http://www.stou.ac.th/stouonline/lom/ data/sec/Lom12/05-01.html


                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  214  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   210   211   212   213   214   215   216   217   218   219   220