Page 210 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 210
จึงก�าหนดกรอบและเกณฑ์ในการประเมินสถานการณ์สิทธิด้านวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศ (SOGI) ตามลักษณะร่วม
๔๐๐
(Commonality) ใน ๕ มิติ ดังนี้
มิติที่หนึ่ง การกระท�า หรือการก�าหนด ให้เป็นความผิด (Criminalization) โดยการประเมินจะเน้นการตรวจสอบ
ข้อบททางกฎหมาย นโยบาย หรือบทบัญญัติต่าง ๆ รวมถึงลักษณะการตีความต่าง ๆ ตามกลไกที่เกี่ยวข้อง
มิติที่สอง การกระท�า หรือการก�าหนด ให้เป็นการตีตรา หรือเหมารวม (Stigmatization) โดยการตรวจสอบลักษณะ
การด�าเนินการที่เกี่ยวข้อง หรือการสร้างวาทกรรมแบบเหมารวม
มิติที่สาม การยอมรับทางกฎหมายการแสดงวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศ (Legal Recognition of Gender
Identity) โดยการตรวจสอบลักษณะการด�าเนินการที่เกี่ยวข้อง หรือในทางกฎหมาย นโยบาย หรือบทบัญญัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
มิติที่สี่ การยอมรับหรือการอยู่ร่วมกับวิถีวัฒนธรรมอื่น ๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับการแสดงวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์
ทางเพศที่แตกต่างหลากหลาย (Cultural Inclusion with Gender and Sexual Diversity)
มิติที่ห้า ความรู้ ความเข้าใจต่อวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศ (Empathization)
๖.๕.๓ สถานการณ์ปี ๒๕๕๙ สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเฉพาะ
สถานการณ์สิทธิด้านวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศ (SOGI) ของประเทศไทย ในปี ๒๕๕๙ ในภาพรวมทาง
เศรษฐกิจและสังคม พบว่า กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศมีก�าลังซื้อสินค้าและบริการที่ค่อนข้างสูง โดยมีมูลค่า
๔๐๑
ตลาดของสินค้าและบริการของกลุ่มดังกล่าว รวมทั้งสิ้น ๕๙,๕๐๐ ล้านล้านบาท ซึ่งถือเป็นมูลค่าที่สูงและเป็นตลาดที่เติบโต
อย่างต่อเนื่อง บริการและผลิตภัณฑ์ในตลาดดังกล่าว ได้แก่ ศัลยกรรมผ่าตัดแปลงเพศ สุขภาพและความสวยความงาม ธุรกิจ
การรับรองการแต่งงานของบุคคลรักเพศเดียวกัน สินค้าและบริการออนไลน์อื่น ๆ ในขณะที่มีกิจกรรม หรือโครงการรณรงค์
เพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับสิทธิ และความเข้าใจโดยรวมเกี่ยวกับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ รวมถึงการเป็น บทที่
๖
เจ้าภาพจัดการประชุม ILGA World Conference ครั้งที่ ๒๘ ปี ๒๕๕๙ ระหว่างวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน – ๒ ธันวาคม ๒๕๕๙
ซึ่งกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่หลีกเลี่ยงความรุนแรง การตีตรา การเลือกปฏิบัติ และการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันเนื่องมาจาก
วิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ ตลอดจนการสื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
ทั้งนี้ ในส่วนของสถานการณ์สิทธิด้านวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศ (SOGI) มีสถานการณ์หลัก ๆ ใน ๕ มิติ ดังนี้
มิติที่หนึ่ง การกระท�าหรือการก�าหนดให้เป็นความผิด จากการตรวจสอบข้อบททางกฎหมาย นโยบาย หรือ
บทบัญญัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ยังไม่พบการกระท�าหรือการก�าหนดในลักษณะดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม ยังพบลักษณะของการตีความ
หรืออาจจะเป็นช่องทางที่น�ามาใช้ตีความในส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่งผลต่อการเลือกปฏิบัติในทางหนึ่งทางใด โดยเฉพาะ
พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีค�านิยามการเลือกปฏิบัติ ครอบคลุมการเลือกปฏิบัติ
๔๐๒
ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมจากนโยบาย กฎ ระเบียบ ประกาศ มาตรการ โครงการ หรือวิธีปฏิบัติใด ๆ โดยหน่วยงานรัฐ เอกชน
หรือบุคคล ทั้งนี้ มุ่งคุ้มครองทั้งหญิง ชาย และผู้มีการแสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยก�าเนิด แทนที่จะมุ่งคุ้มครองเฉพาะ
ผู้หญิงและผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ นอกจากนั้น
หมวด ๓ การตรวจสอบการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ของกฎหมายฉบับนี้ยังเปิดช่อง
ให้มีการเลือกปฏิบัติได้ โดยยกเว้นให้กับการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลตามหลักการทางศาสนา หรือเพื่อความมั่นคงของประเทศ
๔๐๐ การรับฟังบทบรรยาย และการสัมภาษณ์ ศาสตราจารย์วิทิต มันตราภรณ์ ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติด้านวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศ (SOGI) ใน
การประชุม ILGA World Conference ครั้งที่ ๒๘ ปี ๒๕๕๙ ระหว่างวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน - ๒ ธันวาคม ๒๕๕๙
๔๐๑ การศึกษาวิจัย “กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ : ตลาดเฉพาะกลุ่ม (ศักยภาพสูง) ที่ผู้ประกอบการมิควรมองข้าม”
๔๐๒ มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ บัญญัติว่า
“การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ” หมายความว่า การกระท�า หรือไม่กระท�าการใด อันเป็นการแบ่งแยก กีดกัน หรือจ�ากัดสิทธิประโยชน์ใด ๆ
ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยปราศจากความชอบธรรม เพราะเหตุที่บุคคลนั้นเป็นเพศชาย หรือเพศหญิง หรือมีการแสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยก�าเนิด
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 209 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙