Page 209 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 209

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับ
                                                               ชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ โดยเฉพาะในมาตรา ๔

                                                               ซึ่งเชื่อมโยงกับเจตนารมณ์หรือหลักการด้านสิทธิมนุษยชน
                                                               ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                                                                                                          ๓๙๘
                                                               พุทธศักราช ๒๕๕๐ ส่วนที่ ๒ ความเสมอภาค มาตรา ๓๐
                                                               และกฎหมายภายในประเทศฉบับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                                                               อาทิ  พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ

                                                               พ.ศ. ๒๕๕๘ ๓๙๙


        ๖.๕.๒ สถานการณ์ทั่วไป

                 ค�าว่า “กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ”
        พัฒนามาจากกระบวนการเคลื่อนไหวของบุคคลที่มีอัตลักษณ์
        ทางเพศที่แตกต่างหลากหลาย ตั้งแต่ทศวรรษที่ ๑๙๙๐
        (ปี ๒๕๓๓ เป็นต้นมา) โดยน�าเสนอ อัตลักษณ์ร่วมของกลุ่ม
        หญิงรักหญิง (Lesbian) ชายรักชาย (Gay) บุคคลที่รักทั้งสองเพศ

        (Bisexual) และบุคคลข้ามเพศ ซึ่งมีอัตลักษณ์ของเพศวิถี
        หรือการแสดงออกทางเพศตรงกันข้ามกับอัตลักษณ์ของเพศ
        โดยก�าเนิด (Transgender/Transsexual) ผ่านชื่อย่อว่า

        “LGBT” หรือ “GLBT” ซึ่งต่อมา มีการแสดงอัตลักษณ์
        ทางเพศของกลุ่มบุคคลที่มีภาวะเพศก�าเนิดทั้ง ๒ เพศ (Intersex) และบุคคลที่มีอัตลักษณ์ทางเพศแบบเลื่อนไหล (Queer)
        จึงท�าให้พบการใช้ค�าว่า “LGBTIQ” ในบางพื้นที่ อนึ่ง จากการศึกษาเชิงทฤษฎีด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามีการอภิปราย
        ระหว่าง “กลุ่มโครงสร้างหน้าที่ (Structuralism and Functionalism)” และ “กลุ่มภาวะหลังสมัยใหม่ (Postmodernism)”
        พร้อมกับการน�าเสนอ “ภาวะอ�านาจของปัจเจกในการปรับเปลี่ยนกลุ่มโครงสร้างหน้าที่ (Agency)” โดยมีการจัดการกับ

        ภาวะ “โครงสร้างหน้าที่” ผ่าน “การรื้อสร้าง (Reconstruct)” และ “การรื้อท�าลาย (Deconstruct)” โดยน�ามาพิจารณา
        กับกระบวนการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ท�าให้มีการปรับสร้างค�าที่ครอบคลุมลักษณะความหลากหลายทางเพศของกลุ่มคนต่าง ๆ
        โดยองค์การสหประชาชาติได้รับรองค�าว่า “วิถีทางเพศ (Sexual Orientation) และอัตลักษณ์ทางเพศ (Gender Identity)”

        หรือ “SOGI” เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ ซึ่งครอบคลุมทั้งกลุ่มรักต่างเพศ และรักเพศเดียวกัน ทั้งนี้ ยังปรากฏว่า มีการ
        ใช้ค�าต่าง ๆ เหล่านี้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องแตกต่างหลากหลาย ทั้งตามลักษณะความรู้ ความเข้าใจ และการแสดงอัตลักษณ์ตัวตน
        ตามยุทธศาสตร์ของกระบวนการเคลื่อนไหว หรือการแสดงออกที่แตกต่างกัน ในรายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชน
        ฉบับนี้จะใช้ค�าว่า “สิทธิด้านวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศ (SOGI)” เป็นหลัก



                 ทั้งนี้ เนื่องจาก “สิทธิด้านวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศ (SOGI)” เป็นส่วนที่มีการเชื่อมต่อระหว่างอัตลักษณ์
        หรือสภาวะของบุคคลในลักษณะอื่น ๆ ที่แตกต่างหลากหลาย (Intersectionality) ซึ่งท�าให้มีโอกาสที่จะเผชิญกับลักษณะ
        ของ “การเลือกปฏิบัติที่ซ�้าซ้อน (Multiple Discrimination)” อันเกิดจากโครงสร้างหน้าที่หรือปัจเจกบุคคลทั่วไป ดังนั้น






                 ๓๙๘  มาตรา ๓๐ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ บัญญัติว่า
                   บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
                   การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นก�าเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะ
        ของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระท�ามิได้
                   มาตรการที่รัฐก�าหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรค หรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
                 ๓๙๙  ดูรายละเอียดได้ที่ www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/018/17.PDF


                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  208  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214