Page 208 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 208
รัฐได้ให้ความส�าคัญกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนเพิ่มมากขึ้น เห็นได้จากรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน
ของประเทศไทย ภายใต้กระบวนการ Universal Periodic Review (UPR) รอบที่ ๑ คณะรัฐมนตรีไม่ได้มีมติให้ค�ารับรอง
ส่วนที่เกี่ยวข้องกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เสนอโดยประเทศต่าง ๆ แต่ในรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน
ของประเทศไทย ภายใต้กระบวนการ Universal Periodic Review (UPR) รอบที่ ๒ คณะรัฐมนตรีมีมติให้ค�ารับรองในส่วน
ที่เกี่ยวข้องกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เสนอโดยประเทศต่าง ๆ และแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๗
– ๒๕๖๑) ในแผนสิทธิมนุษยชนด้านกระบวนการยุติธรรมได้มีข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการให้ศึกษาความเป็นไปได้ในการให้
สัตยาบันอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ แต่ไม่ได้ก�าหนดประเด็น
เกี่ยวกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนไว้เป็นการเฉพาะ อย่างไรก็ตาม กระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ มีความ
ตั้งใจในการที่จะก�าหนดประเด็นเกี่ยวกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนไว้เป็นการเฉพาะไว้ในร่างแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ฉบับที่ ๔ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหน่วยงานของรัฐได้ให้ความส�าคัญกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนเพิ่มมากขึ้น
๖.๕ บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเฉพาะ
๖.๕.๑ หลักการสิทธิมนุษยชน
กรอบและเกณฑ์ในการประเมินสถานการณ์สิทธิด้านวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศ (SOGI) ตามข้อบทและ
หลักการต่าง ๆ ใน ๒ ส่วน คือ
ข้อบทและหลักการส�าคัญตามที่
ก�าหนดไว้ในพันธกรณีระหว่างประเทศด้าน บทที่
๖
สิทธิมนุษยชน ทั้ง ๗ ฉบับ ที่ประเทศไทยเป็น
ภาคี โดยพิจารณาควบคู่ไปกับการตีความ
หมาย และการเชื่อมโยงของข้อบทระหว่าง
พันธกรณีระหว่างประเทศฉบับต่าง ๆ ใน
ประเด็นที่มีความโน้มเอียงหรือเกี่ยวข้อง
ทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศที่น�าเสนอ
ในหลักการยอกยาการ์ตาว่าด้วยการใช้กฎหมาย
สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในประเด็น
ความโน้มเอียงทางเพศ และอัตลักษณ์
๓๙๕
ทางเพศ (The Yogyakarta Principles)
ซึ่งเน้นหลักการไม่เลือกปฏิบัติ และการไม่กระท�าการใด ๆ ที่เป็นความรุนแรง หรือการละเมิดสิทธิด้านวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์
ทางเพศเป็นส�าคัญ และการตอบตกลง (Acceptance) หรือการปฏิญาณโดยสมัครใจ (Pledge) ของรัฐบาลไทยใน
๓๙๖
กระบวนการสากลเพื่อการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (Universal Periodic Review - UPR) ๓๙๗
๓๙๕ จาก ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, หลักการยอกยาการ์ตา : ว่าด้วยการใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ในประเด็นความโน้มเอียงวิถี
ทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ, โดย ไพศาล ลิขิตปรีชากุล, ผู้แปล.
๓๙๖ รายงานสรุปการบรรยาย และสัมภาษณ์ ศาสตราจารย์วิทิต มันตราภรณ์ ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติด้านวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศ (SOGI) ใน
การประชุม ILGA World Conference ครั้งที่ ๒๘ ปี ๒๕๕๙ ระหว่างวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน – ๒ ธันวาคม ๒๕๕๙ โดยหลักการยอกยาการ์ตา ประกอบด้วยเนื้อหาหลัก ๒๑ ข้อ,
โดย เอกชัย ปิ่นแก้ว.
๓๙๗ จาก ในการประชุม UPR เพื่อพิจารณาสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทย รอบที่ ๒ ในวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙ รัฐบาลไทยตอบตกลงรับ (Accepted)
ข้อเสนอแนะของรัฐบาลเม็กซิโก โดยเน้นย�้า “การมุ่งมั่นตั้งใจในการส่งเสริมให้เกิดนโยบายก�าหนดมาตรการเชิงป้องกัน การลงโทษ และการก�าจัดการกระท�ารุนแรงในทุกรูปแบบต่อ
ผู้หญิง รวมถึงมาตรการที่เน้นการส่งเสริมสิทธิผู้หญิงทั้งหมด โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติทั้งเหตุแห่งศาสนา เชื้อชาติ การแสดงอัตลักษณ์ทางเพศ และสภานะทางสังคม”
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 207 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙