Page 206 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 206

ที่ผ่านมา สิ่งที่เกิดขึ้นกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนส่วนใหญ่ คือ การสูญหาย หรือถูกคุกคาม ข่มขู่ แต่ในระยะหลัง
            นักปกป้องสิทธิมนุษยชนจะถูกฟ้องร้องในข้อหาหมิ่นประมาท โดยการโฆษณาและการน�าข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์

            เพิ่มมากขึ้น เช่น กรณีนาย สมชาย หุตานุวัตร และพวก ถูกบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จ�ากัด (มหาชน) (ชื่อเดิม อัครา ไมนิ่ง จ�ากัด)
            ฟ้องด�าเนินคดีจากการโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า เหมืองของบริษัทได้รับการยกเว้นภาษีเพราะมีสิทธิพิเศษจากการส่งเสริม
            การลงทุน แต่ในวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ศาลอาญากรุงเทพใต้มีค�าสั่งไม่รับฟ้อง โดยเห็นว่าจ�าเลยเป็นประชาชนมีหน้าที่
            เสียภาษีให้แก่รัฐ จึงมีความชอบธรรมที่จะเปิดเผยให้ประชาชนทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเสียภาษีของบริษัท ทั้งมีมูลว่า
            ข้อมูลของจ�าเลยเป็นความจริง ส่วนอีกคดีที่นายสมชายและพวกถูกฟ้องว่าการโพสต์เฟชบุ๊กท�าให้ประชาชนเข้าใจว่ากิจการ

            เหมืองของบริษัทส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต ในวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ศาลอาญากรุงเทพใต้พิพากษา
            ให้ยกฟ้องเพราะเชื่อว่าเป็นการติชมตามวิสัยของประชาชนพึงกระท�า ไม่ได้มีเจตนาให้โจทก์ได้รับการดูหมิ่นหรือเกลียดชัง
            กรณีบริษัททุ่งค�า เจ้าของเหมืองในอ�าเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ฟ้องสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ผู้บริหาร และผู้ประกาศข่าวรายการ

            นักข่าวพลเมืองในความผิดฐานหมิ่นประมาทจากการรายงานว่า ล�าน�้าฮวยมีสารพิษปนเปื้อนจากการท�าเหมืองแร่ของบริษัท
            แต่ในวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ศาลอาญาสั่งยกฟ้อง โดยเห็นว่าหลายหน่วยงานระบุตรงกันถึงการตรวจพบสารไซยาไนด์  สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเฉพาะ
            ในแหล่งน�้าท�าให้ชาวบ้านใช้ประโยชน์ไม่ได้ จ�าเลยได้ท�าหน้าที่สื่อน�าเสนอปัญหาซึ่งเป็นการวิจารณ์โดยสุจริต ไม่เป็นความผิด
                           ๓๙๒
            ฐานหมิ่นประมาท  กรณีนักปกป้องสิทธิบางรายถูกกองอ�านวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า แจ้งความต่อ
            พนักงานสอบสวนสถานีต�ารวจภูธร เมืองปัตตานี ให้ด�าเนินคดีในข้อหาร่วมกัน หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาโดยเอกสารและ

            ความผิดตามพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ฯ กรณีจัดท�ารายงานสถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม
            หรือย�่ายีศักดิ์ศรีในจังหวัดชายแดนใต้ ปี ๒๕๕๗ – ๒๕๕๘ และเผยแพร่อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ๓๙๓



                     เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการของร่างพระราชบัญญัติป้องกันและ  บทที่
                                                                                                                    ๖
            ปราบปรามการทรมานและการกระท�าให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... และให้น�าเข้าสู่การพิจารณาของส�านักงานคณะกรรมการ
            กฤษฎีกา ซึ่งผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๙ พร้อมทั้ง
                                                                                          ๓๙๔
            ได้รับการยืนยันร่างพระราชบัญญัติฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๙  และกระทรวงยุติธรรม
            โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้ด�าเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อวางกรอบแนวทางในการคุ้มครองนักปกป้อง

            สิทธิมนุษยชน โดยมีการรับฟังความคิดเห็นและมุมมองต่อการวางกรอบแนวทางการด�าเนินงานคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
            เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๙ โดยมีการแบ่งนักปกป้องสิทธิมนุษยชนออกเป็น ๔ กลุ่ม ดังนี้
                     (๑) พื้นที่สีด�า หมายถึง มีกรณีการคุกคามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งจากกรณีนี้จะต้องมีการเยียวยา

            ความเสียหาย รวมทั้งควรมีการติดตามต่อว่า ญาติ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับกรณีของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนรายนี้ยังมีความเสี่ยง
            อีกหรือไม่
                     (๒) พื้นที่สีแดง หมายถึง กลุ่มที่มีการถูกคุกคามแต่ยังไม่ถึงขั้นเสียชีวิต เช่น ถูกโทรศัพท์ข่มขู่การลอบท�าร้าย เป็นต้น
                     (๓) พื้นที่สีส้ม หมายถึง กลุ่มที่ถูกด�าเนินการทางกฎหมาย กลุ่มนี้ถูกใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการโจมตีนักปกป้อง
            สิทธิมนุษยชน ท�าให้การเรียกร้องหรือต่อสู้ต้องชะงัก หรือติดขัดเพราะต้องมาต่อสู้คดีอื่นด้วย

                     (๔) พื้นที่สีเทา หมายถึง กลุ่มที่พึ่งเริ่มมีข้อพิพาท กรณีนี้ยังไม่ชัดเจน กล่าวคือยังไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้นแต่มีเหตุ
            สงสัยว่าอาจเกิดความรุนแรงขึ้นได้ และร่วมกันเสนอแนะกรอบแนวทางการท�างานออกเป็น ๓ ระยะ ดังนี้




                     ๓๙๒  จาก พฤศจิกายน ๒๕๕๙: ไม่รับฟ้อง ยกฟ้อง ค�าตัดสินศาลเป็นคุณกับนักปกป้องสิทธิหลายกรณี, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก https://freedom.ilaw.or.th/report/
            November2016
                     ๓๙๓  จาก สืบค้น http://www.banarnews.org/thai/news/human-right - 0726016140706.html
                     ๓๙๔  อย่างไรก็ตาม การประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิป สนช.) เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ เห็นควรส่งพระราชบัญญัติป้องกัน
            และปราบปรามการทรมานและการกระท�าให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... พร้อมความเห็นกลับคืนไปยังคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิป ปนช.) เพื่อพิจารณาและ
            เสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป เนื่องจากมีข้อกฎหมายที่ต้องศึกษาเพิ่มเติม ประกอบกับจะมีการประกาศใช้บังคับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ ฉบับใหม่ ซึ่งมาตรา ๗๗ ก�าหนดให้มี
            การวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมายรองรับด้วย และเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๐ คณะรัฐมนตรีลงมติรับทราบสรุปผลการประชุมของ วิป ปนช. และรับทราบข้อสังเกตเรื่องมติ
            ของวิป สนช. ซึ่งมอบหมายให้กระทรวงยุติธรรมน�าร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระท�าให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการ
            ต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจัดท�าความเห็นเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ข้อมูลจากหนังสือกระทรวงยุติธรรม ที่ ยธ ๐๔๑๗/๒๑๕๐ ลงวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๐


                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  205  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   201   202   203   204   205   206   207   208   209   210   211