Page 205 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 205
กระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ได้มีการประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาความเหมาะสม
ในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๗
เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๗ โดยเห็นชอบให้มีการแต่งตั้ง “คณะท�างานแก้ไขกฎหมายเพื่ออนุวัติการตามอนุสัญญาระหว่าง
ประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ” เพื่อยกร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการ
ทรมานและการกระท�าให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... เพื่อรองรับการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และได้มีการประชุมคณะท�างานร่วมกัน
๓๙๐
หลายครั้ง รวมทั้งมีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจากภาคส่วนต่าง ๆ ร่างพระราชบัญญัติฯ
ดังกล่าวก�าหนดให้การทรมานและการกระท�าให้บุคคลสูญหาย ซึ่งกระท�าโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
อย่างร้ายแรงและก�าหนดเป็นฐานความผิดโดยเฉพาะ ตลอดจนมีมาตรการป้องกันและปราบปราม มาตรการการเยียวยา
ผู้ได้รับความเสียหายและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามข้อบทของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย
การคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ
นอกจากนี้ กระทรวงยุติธรรมได้มีค�าสั่งกระทรวงยุติธรรมที่ ๔๑๒/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๗ แต่งตั้ง
คณะท�างานเพื่อพัฒนามาตรการในการคุ้มครองผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เสี่ยงต่อการถูกละเมิด โดยมีอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิ
และเสรีภาพเป็นประธานคณะท�างาน ซึ่งคณะท�างานประกอบด้วย ภาครัฐและภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องกับนักปกป้อง
สิทธิมนุษยชน มีอ�านาจหน้าที่พิจารณาหลักเกณฑ์ แนวทางและมาตรการในการคุ้มครองสิทธิผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชน พิจารณา
ระเบียบ กฎเกณฑ์ และนโยบายที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดท�าแนวทาง การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามมาตรฐานสากล และปฏิบัติงาน
อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย คณะท�างานได้ประชุมเพื่อก�าหนดค�านิยามของผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนและท�าการศึกษาบทบาท
๓๙๑
รูปแบบภัยคุกคาม และสิทธิของผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชน และมีนโยบายที่ร่างแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๔ (พ.ศ.
๒๕๖๒ – ๒๕๖๖) โดยก�าหนดประเด็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเป้าหมายด้วย
๖.๔.๓ สถานการณ์ปี ๒๕๕๙
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ มีนักปกป้องสิทธิมนุษยชนสูญหายหนึ่งราย คือ นายเด่น ค�าแหล้ ประธานโฉนดชุมชนโคกยาว
จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเคลื่อนไหวเรียกร้องเรื่องสิทธิที่ดินท�ากินของคนในชุมชนมาเป็นระยะเวลายาวนาน และคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับค�าร้องเรียนเกี่ยวกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนจ�านวนทั้งสิ้น ๙ ค�าร้อง ซึ่งมีประเด็นเกี่ยวกับการสูญหาย
การถูกข่มขู่ คุกคาม และการเข้าถึงกองทุนยุติธรรม ซึ่งรวมถึงกรณีนายเด่น ค�าแหล้ สูญหายด้วย
๓๙๐ ข้อมูลจากหนังสือกระทรวงยุติธรรม ที่ ยธ ๐๔๑๗/๒๑๕๐ ลงวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๐ เรื่องข้อมูลเพื่อประกอบการจัดท�ารายงานการประเมินสถานการณ์
สิทธิมนุษยชนฯ ประจ�าปี ๒๕๕๙
๓๙๑ แหล่งเดิม.
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 204 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙