Page 21 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 21
สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ในปี ๒๕๕๙ เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จ�านวน ๘๐๗ เหตุการณ์ มีผู้เสียชีวิตจ�านวน
๓๐๗ ราย และผู้ได้รับบาดเจ็บ ๖๒๘ ราย โดยมีจ�านวนเพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๘ ซึ่งมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ๖๗๔ เหตุการณ์ มีผู้เสียชีวิต
๒๔๖ ราย และผู้ได้รับบาดเจ็บ ๕๔๔ ราย ในขณะที่ รัฐพยายามแก้ไขปัญหาด้วยแนวทางสันติวิธี ผ่านกระบวนการพูดคุยสันติสุข
กับกลุ่มที่เกี่ยวข้องเมื่อเดือนกันยายน ๒๕๕๙ โดยมีการจัดตั้งพื้นที่ปลอดภัย (safety zone) เฉพาะในบางพื้นที่ และก�าหนด
ข้อตกลงต่าง ๆ ร่วมกัน ทั้งนี้ ยังพบสถานการณ์ส�าคัญ คือ
• การก่อเหตุการณ์ความไม่สงบอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การด�าเนินการยังไม่เป็นรูปธรรมหรือมีความก้าวหน้า
ในการด�าเนินการตามข้อตกลงจากการเจรจาแต่อย่างใด
• การร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิในกระบวนการยุติธรรม โดยส่วนใหญ่อ้างว่าได้รับผลกระทบจากการบังคับ
ใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงในพื้นที่
กสม. พบว่า กลุ่มเด็กและสตรีโดยเฉพาะในกลุ่มที่สูญเสียผู้น�าครอบครัวในเหตุการณ์ความไม่สงบ ยังคงได้รับผลกระทบ
ทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างเรื้อรัง จึงมีข้อเสนอให้รัฐจัดท�าแนวทางด�าเนินการเยียวยา ที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพต่อผู้ได้รับ
ผลกระทบกลุ่มนี้ ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ
สิทธิชุมชนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในปี ๒๕๕๙ รัฐพยายามที่จะด�าเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาประเทศ ซึ่งในหลายกรณียังขาดกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มี
ส่วนได้ส่วนเสีย ขาดความเข้าใจในบริบทของชุมชน ตลอดจนขาดการค�านึงถึงผลกระทบด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น จึงส่งผลให้เกิดปัญหา
ความขัดแย้งระหว่างรัฐ กับประชาชนและชุมชน และท�าให้เกิดความเหลื่อมล�้าในสังคมมากยิ่งขึ้น โดยมีสถานการณ์ส�าคัญ ๆ ได้แก่
• การบริหารจัดการพลังงาน รัฐบาลผลักดันให้มีการสร้างโรงงานไฟฟ้าถ่านหินในหลายจังหวัดเพื่อสร้างความมั่นคง
ทางด้านพลังงาน อาทิ กระบี่ สงขลา (อ�าเภอเทพา) อ่างทอง และชัยภูมิ โดยประชาชนและชุมชนในพื้นที่มีความกังวลถึง
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นและยังมิได้มีส่วนร่วมอย่างจิงจัง จึงท�าให้เกิดการคัดค้าน
• การบริหารจัดการเหมืองแร่ คณะรัฐมนตรีมีมติก�าหนดยุติการท�าเหมืองทั่วประเทศ หลังจากวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๙
และได้ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งต่อมา กสม. ได้เสนอให้ถอนร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. …. และ
ขอให้รัฐพิจารณาเรื่องดังกล่าวอย่างรอบคอบ
• การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดินและป่าไม้ สืบเนื่องจากการใช้ค�าสั่ง คสช. ที่ ๖๔/๒๕๕๗ และ
ที่ ๖๖/๒๕๕๗ นั้น กสม. เห็นว่าการด�าเนินนโยบายพัฒนาต่าง ๆ ของรัฐ ยังมิได้ค�านึงหรือใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการ
ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนและชุมชน นอกจากนี้ การด�าเนินนโยบายพัฒนายังขาดความสอดคล้องหรือ
ขัดแย้งกับนโยบายอื่น ๆ รวมถึงแนวทางการพัฒนาซึ่งเป็นวาระของชาติ
• การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีผลกระทบต่อสิทธิของประชาชนอย่างน้อย ๒ ประการ คือ ค�าสั่ง คสช. ที่ ๓/๒๕๕๙
และ ๔/๒๕๕๙ ซึ่งมีผลกระทบต่อสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน และสิทธิในการมีชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ทั้งนี้ เนื่องจาก
กฎหมายว่าด้วยการผังเมืองและกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร เป็นกฎหมายที่มีเนื้อหาและกระบวนการด�าเนินการอยู่ภายใต้
หลักการคุ้มครองสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชนและการมีชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เมื่อมีการยกเว้นการบังคับใช้กฎหมาย
ทั้งสองฉบับในพื้นที่จัดท�าโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ ท�าให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับความเสี่ยงจากผลกระทบต่าง ๆ
กสม. พบว่า การด�าเนินโครงการต่าง ๆ ทั้งด้านการจัดการพลังงาน เหมืองแร่ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดิน และป่าไม้
ตลอดจนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ยังไม่เป็นไปตามหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน ตั้งแต่ขั้นตอน การให้ข้อมูล การรับฟัง
ความคิดเห็น และขาดการวางแผนหรือเตรียมความพร้อมในการเยียวยา หรือแก้ไขปัญหาให้แก่บุคคล/ชุมชนที่ได้รับผลกระทบ
ดังนั้น จึงเสนอให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องด�าเนินการใด ๆ ที่เป็นการหลีกเลี่ยง การป้องกัน และการแก้ไขปัญหาผลกระทบ
ที่เกิดขึ้น โดยค�านึงถึงสิทธิของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่จัดตั้งโครงการเป็นส�าคัญ
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 20 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙