Page 20 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 20

การจัดตั้งส�านักงานคดีค้ามนุษย์ในส�านักงานอัยการสูงสุด และแผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญา พร้อมกับออกข้อบังคับประธาน
            ศาลฎีกาว่าด้วยวิธีการด�าเนินคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๙ เพื่อให้การด�าเนินคดีที่เกี่ยวกับความผิดฐานค้ามนุษย์เป็นไปด้วยความรวดเร็ว

            สอดคล้องกับข้อเท็จจริง ในขณะที่ กสม. ยังพบเหตุการณ์ที่น�าผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ไปใช้หรือแสวงหาประโยชน์ คือ
                     •  การบังคับใช้แรงงาน โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมการประมง
                     •  การขายบริการทางเพศ โดยเฉพาะกรณีผู้หญิงต่างด้าวในสถานบริการต่าง ๆ
                     •  การบังคับเป็นขอทาน และการแสวงหาผลประโยชน์จากเด็กในรูปแบบ ช่วงเวลาหรือสถานที่ที่ไม่เหมาะสม
            ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือละเมิดสิทธิมนุษยชนในด้านอื่น ๆ



                     จากสถานการณ์โดยรวมของปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศไทย จะเห็นได้ว่า ทุกภาคส่วนมีความพยายามในการแก้ไขปัญหา
            ทั้งในส่วนของการออกกฎหมาย มาตรการต่าง ๆ การเร่งรัดกระบวนการด�าเนินการ โดยน�าข้อเสนอแนะและข้อสังเกตต่าง ๆ

            ของคณะกรรมการประจ�าตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนมาเป็นกรอบในการด�าเนินงาน ท�าให้สถานการณ์การค้ามนุษย์
            ในประเทศไทยในปี ๒๕๕๙ มีความรุนแรงน้อยลง จนได้รับการปรับเลื่อนสถานะจาก Tier 3 (ปี ๒๕๕๘) มาเป็น Tier 2 Watch List
            (ปี ๒๕๕๙) รัฐบาลจึงควรด�าเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องและจริงจังเพื่อแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ให้มากยิ่งขึ้น


            ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน

                     องค์การสหประชาชาติได้ออกหลักการสหประชาชาติแนวทางปฏิบัติว่าด้วยการด�าเนินธุรกิจและสิทธิมนุษยชน
            (UNGPs) (ตั้งแต่ปี ๒๕๕๔) โดยเหตุที่สนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนมิได้ก�าหนดพันธะผูกพันทางกฎหมาย
            ต่อภาคธุรกิจไว้โดยตรง แต่ได้ก�าหนดให้รัฐเป็นผู้รับผิดชอบ โดยการตรากฎหมายและบังคับใช้กฎหมายภายในประเทศที่มีบทบัญญัติ

            ให้บริษัทธุรกิจต้องเคารพต่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งในส่วนของประเทศไทย แม้ธุรกิจจะได้ปฏิบัติตามกฎหมายของแต่ละประเทศแล้ว
            แต่กฎหมายเหล่านั้นยังมีช่องว่างที่ไม่เป็นไปตามหลักการสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยมีผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
            ที่ส�าคัญ กล่าวคือ
                     •  ผลกระทบต่อแรงงาน แรงงานข้ามชาติ ชุมชน และกลุ่มเปราะบาง จนท�าให้คณะกรรมาธิการยุโรป (European
            Commission) ออกค�าประกาศแจ้งเตือน (ใบเหลือง) กับประเทศไทย หรือการที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา

            จัดอันดับสถานการณ์การค้ามนุษย์ (Trafficking In Persons Report) ของไทย อยู่ในอันดับ Tier 3
                     •  ผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ หรือโครงการพัฒนา หรือการลงทุน
            ขนาดใหญ่ ทั้งที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และจากโครงการลงทุนหรือการพัฒนาทั้งของรัฐและเอกชนสัญชาติไทยในประเทศเพื่อนบ้าน

                     กสม. พบว่า รัฐได้มีมาตรการ/นโยบายหลายประการในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่
            หลายแห่งตื่นตัวและพยายามด�าเนินธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชนมากยิ่งขึ้น โดยรัฐบาลมีมติคณะรัฐมนตรี (วันที่ ๑๖ พฤษภาคม
            ๒๕๕๙) ในการผลักดันให้ประเทศไทยมีมาตรการและแนวทางปฏิบัติอย่างจริงจัง ส่งเสริมให้เอกชนมีความรับผิดชอบต่อสังคมและ
            เคารพหลักพื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชนในการลงทุนทั้งที่เกิดในประเทศ รวมถึงการลงทุนสัญชาติไทยในต่างประเทศ ซึ่งเป็นไปตาม
            ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของ กสม. รวมถึงการก�ากับการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์การส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ

            ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๐) อย่างไรก็ดี ยังพบว่า มีการด�าเนินการอย่างเป็นรูปธรรมค่อนข้างน้อย นอกเหนือจากกรณีที่มีผลกระทบ
            ต่อผลประโยชน์ทางการค้าและการลงทุนอย่างรุนแรง กสม. จึงเสนอให้หน่วยงานของรัฐและเอกชนต้องด�าเนินการอย่างจริงจังและ
            น�าแนวทางการเฝ้าระวังโดยใช้กระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence : HRDD) มาปรับใช้
















                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  19  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25