Page 25 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 25
การจ้างงานในอาชีพที่แตกต่างหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อบันเทิง แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีรายงานว่า มีการเลือกปฏิบัติในเชิงระบบ
(systematic discrimination) ที่เกิดขึ้น ทั้งการเข้าถึงโอกาสในการศึกษา หรือการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ การสมัครงาน
ตลอดจนการเข้ารับราชการ หรือการประกอบอาชีพบางประเภท
• มิติความรู้ ความเข้าใจ ต่อวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศ พบว่า ประชาชนในบางส่วนยังคงมีทัศนคติ
ซึ่งจ�าเป็นต้องท�าความเข้าใจเกี่ยวกับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
กลุ่มผู้สูงอายุ
รัฐมีความก้าวหน้าในการด�าเนินงานด้านผู้สูงอายุ โดยมีนโยบาย แผนงานระดับชาติ ตลอดจนมาตรการต่าง ๆ
เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม “ดัชนีชี้วัดเกี่ยวกับผู้สูงอายุทั่วโลก (Global Age Watch Index)” ซึ่งประเมินผล
ความส�าเร็จของนโยบายด้านผู้สูงอายุของประเทศทั่วโลกจากข้อมูลความมั่นคงทางรายได้ สุขภาพ ความสามารถ และ
สภาพแวดล้อมที่เอื้ออ�านวย โดยประเทศไทยได้รับการจัดอันดับในระดับปานกลาง (ล�าดับที่ ๓๔ จาก ๙๖ ประเทศ) ทั้งนี้ กสม.
ยังพบสถานการณ์สิทธิมนุษยชนผู้สูงอายุในประเทศไทยในส่วนส�าคัญ คือ
• สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุจ�านวนมากยังประสบปัญหาความยากจน มีรายได้ต�่ากว่าเส้นความยากจน
(๒,๖๔๗/คน/เดือน) ยังคงต้องพึ่งพิงรายได้จากผู้อื่น และต้องหารายได้เพื่อการด�ารงชีวิต
• การเข้าถึงระบบสวัสดิการ ยังพบผู้สูงอายุจ�านวนมากที่ยังมีข้อจ�ากัดในการได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
• สถานการณ์ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การถูกทอดทิ้งให้อยู่อย่างโดดเดี่ยว การเลือกปฏิบัติ
การขาดโครงสร้างพื้นฐานส�าหรับผู้สูงอายุเป็นการเฉพาะ การแสวงหาประโยชน์ทางการเงิน การขาดระบบดูแลเอาใจใส่
เป็นพิเศษในระยะยาว
ทั้งนี้ ยังพบว่าสถิติการฆ่าตัวตายส�าเร็จของผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในขณะที่การขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุ
ตามนโยบายและแผนงานด้านผู้สูงอายุยังไม่มีสัมฤทธิ์ผลในทางปฏิบัติ จึงเสนอให้รัฐด�าเนินมาตรการที่จ�าเป็นและเป็นรูปธรรม
ซึ่งท�าให้สิทธิดังกล่าวเกิดขึ้นจริง โดยผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อผู้สูงอายุอย่างจริงจัง การประกัน การคุ้มครอง
และส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของผู้สูงอายุ ในนโยบายด้านการพัฒนาที่สอดคล้องกับหลักการตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(Sustainable Development Goals : SDGs) การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุ
และการสนับสนุนกระบวนการจัดท�าอนุสัญญาระหว่างประเทศทางด้านสิทธิมนุษยชนของผู้สูงอายุภายใต้กรอบการท�างาน
ของคณะท�างาน UN Open – ended Working Group on Ageing ของสหประชาชาติ
กลุ่มแรงงานข้ามชาติและผู้ติดตาม
ประเทศไทยยังมิได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานย้ายถิ่นและสมาชิกในครอบครัว (ICRMW)
อย่างไรก็ตาม สิทธิของแรงงานย้ายถิ่น (แรงงานข้ามชาติ) ได้ถูกรับรองอยู่ในสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
ที่ประเทศไทยเป็นภาคีหลายฉบับ ในขณะที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ จะเน้น
การรับรองเฉพาะสิทธิและเสรีภาพของคนไทยเป็นส�าคัญ แต่ประเทศไทยยังคงต้องพึ่งพาแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่ง จากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อทดแทนแรงงานคนไทย โดยในปี ๒๕๕๙ แม้รัฐได้มีนโยบาย/มาตรการเพื่อส่งเสริมสิทธิและ
แก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติหลายประการ เช่น การออกพระราชก�าหนดการน�าคนต่างด้าวมาท�างานกับนายจ้างในประเทศ
พ.ศ. ๒๕๕๙ การจัดท�าโครงการความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการแก้ไขปัญหารูปแบบการท�างานที่ไม่เป็นที่ยอมรับ
ในอุตสาหกรรมประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่องประมงทะเล รวมถึงการจัดการด้านนโยบายทั้งการพิสูจน์สัญชาติ หรือ
การขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว ซึ่งท�าให้สถิติแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมายมีแนวโน้มลดลง แต่ก็ยังพบปัญหา
ที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิของแรงงานข้ามชาติและผู้ติดตามในหลายส่วน กล่าวคือ
• กระบวนการพิสูจน์สัญชาติของแรงงานข้ามชาติ ซึ่งมีความยากล�าบากในการเข้าถึง และมีค่าใช้จ่าย
ที่เกี่ยวข้องจ�านวนมาก
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 24 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙