Page 22 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 22

๔.  สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเฉพาะ



                     กสม. ประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มบุคคลที่เสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ๘ กลุ่ม ได้แก่
            กลุ่มชาติพันธุ์ คนไร้รัฐและไร้สัญชาติ กลุ่มคนพิการ กลุ่มเด็ก กลุ่มนักปกป้องสิทธิมนุษยชน กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลาย
            ทางเพศ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มแรงงานข้ามชาติและผู้ติดตาม และกลุ่มสตรี มีความเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิ
            ในด้านต่าง ๆ ที่ได้รับการประกันทั้งจากพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ
            มาตรฐานระหว่างประเทศอื่น ๆ ตลอดจนการประกาศรับ หรือการยอมรับการด�าเนินการของรัฐบาลในกระบวนการ UPR

            กลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้มีแนวโน้มที่จะถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน และอาจจะถูกละเมิดซ�้าซ้อนด้วยเหตุแห่งการมีสถานะต่าง ๆ
            เหลื่อมหรือทับซ้อนกัน โดย กสม. พบว่า รัฐบาลได้ให้ความคุ้มครองสิทธิของกลุ่มบุคคลทั้ง ๘ กลุ่ม ผ่านการก�าหนดนโยบาย การตรากฎหมาย
            และการมีแนวปฏิบัติที่มีความก้าวหน้าหลายประการ แต่ยังคงมีข้อจ�ากัดเรื่องการขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของหน่วยงาน

            ในการน�านโยบายและกฎหมายไปปฏิบัติ (enforcement) การขาดการบูรณาการ (coherence) การใช้นโยบาย
            และกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ท�าให้กลุ่มเฉพาะแต่ละกลุ่มมิได้รับการคุ้มครองสิทธิเท่าที่ควร โดยสรุปได้ดังนี้


            กลุ่มชาติพันธุ์ คนไร้รัฐและไร้สัญชาติ
                     ปัจจุบัน สังคมไทยมีความเป็นพหุลักษณ์ (pluralism) โดยพบว่า มีกลุ่มชาติพันธุ์อยู่ในประเทศไทยมานานหลาย

            ชั่วอายุคน แต่ยังประสบสภาวะการไร้รัฐไร้สัญชาติ โดยสาเหตุหลักมาจากข้อจ�ากัดของกฎหมายสัญชาติ และสิทธิในความเป็น
            พลเมืองของรัฐไทย ท�าให้ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน หรือการพัฒนาต่าง ๆ จากการตรวจสอบกรณีร้องเรียน
            กสม. พบลักษณะส�าคัญที่ท�าให้เกิดปัญหาสิทธิของบุคคลในกลุ่มนี้ ได้แก่

                     •  การเป็นคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ จากการขาดเอกสารพิสูจน์ตน การขาดความชัดเจน หรือปัญหาข้อติดขัดการเพิ่มชื่อ
            ในทะเบียนราษฎร และขอมีบัตรประจ�าตัวประชาชน
                     •  การเป็นบุคคลไร้รากเหง้า ทั้งเหตุจากการก�าพร้าบุพการี หรือการถูกทอดทิ้ง
                     •  การถูกจ�าหน่าย หรือการระงับความเคลื่อนไหวรายการบุคคลทางทะเบียนราษฎร
                     •  การขาดความชัดเจนของกฎหมาย นโยบาย หรือการปฏิบัติที่เกี่ยวกับการขอแปลงสัญชาติ (เป็นไทย) ส�าหรับ

            บุคคลไร้สัญชาติในบางกรณี (อาทิ บุคคลผู้ท�าคุณประโยชน์)
                     •  การขาดนิยามความชัดเจนของค�าว่าชนพื้นเมือง (indigenous peoples) ซึ่งหมายถึง กลุ่มคนชุมชนที่มีอยู่
            ใช้ชีวิต และผูกพันกับถิ่นฐาน วิถีปฏิบัติ และวัฒนธรรมของบรรพบุรุษอย่างต่อเนื่อง



                     ในขณะที่รัฐได้ด�าเนินการแก้ไขปัญหาการไร้รัฐ ไร้สัญชาติอย่างต่อเนื่อง โดยการตราและพัฒนากฎหมาย และ
            นโยบายให้สอดคล้องกันเพื่อแก้ไขปัญหาการไร้รัฐ ไร้สัญชาติใน ๔ ส่วนหลัก คือ (๑) การแก้ไขการไร้สัญชาติที่เกิดจากประกาศ
            คณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๗ โดยก�าหนดพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๒๓
            เพื่อแก้ไขปัญหาบุคคลไร้สัญชาติ อันเนื่องมาจากการยกเลิกหลักเกณฑ์การให้สัญชาติโดยหลักดินแดน (๒) การให้สัญชาติ

            กับบุคคลที่สืบสันดานจากบุพการีที่มีเชื้อสายไทยแต่ไม่ได้สัญชาติไทย หรือเสียสัญชาติไทยโดยผลของกฎหมายอันเกิดจากการ
            เปลี่ยนแปลงเขตแดน (state succession) อาทิ กลุ่มคนพลัดถิ่นเชื้อสายไทย หรือคนไทยพลัดถิ่น (๓) การลดขั้นตอนและระยะเวลา
            ในการพิจารณาอนุมัติสัญชาติไทยเฉพาะราย (๔) การแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคลของเด็กนักเรียน นักศึกษา

            และบุคคลไร้สัญชาติในประเทศไทย ที่เป็นบุตรของชนกลุ่มน้อย และกลุ่มชาติพันธุ์ที่เกิดในราชอาณาจักรไทย รวมถึงเด็ก
            และบุคคลที่ก�าลังศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาหรือส�าเร็จการศึกษาแล้ว ให้ได้สัญชาติไทยเป็นการทั่วไป โดยการตรา
            พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) ที่ก�าหนดหลักเกณฑ์เรื่องการจดทะเบียนการเกิดของเด็กทุกคน
            ที่เกิดในราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ก�าหนดหลักการเกี่ยวกับการ
            จัดท�าทะเบียนประวัติของบุคคลที่อาศัยอยู่ในประเทศไว้อย่างชัดเจน นอกจากนั้น รัฐยังด�าเนินการขับเคลื่อน นโยบาย

            แนวทางต่าง ๆ ให้ก้าวหน้าบรรลุผลเป็นรูปธรรม อาทิ โครงการก�าหนดสถานะให้แก่บุคคลไร้สัญชาติโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน


                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  21  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27