Page 19 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 19

ของรัฐภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage) การลดอัตราการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีและซิฟิลิส
        จากมารดาสู่บุตรต�่ากว่าร้อยละ ๒ การจัดตั้งคลินิกวัยรุ่นในโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจ�านวน ๔๒๙ แห่ง

        และการลดอัตราการตั้งครรภ์ของกลุ่มวัยรุ่นไทยอายุ ๑๕ - ๑๙ ปี (จากอัตรา ๔๓.๘ คนต่อประชากร ๑,๐๐๐ คนในวัยเดียวกัน)
        การด�าเนินการเพื่อจะคืนสิทธิผู้ประกันตนที่สิ้นสภาพตามมาตรา ๔๑ (๔) และ (๕) ของพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓
        และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗  ประมาณ ๙๓๐,๐๐๐ คน ทั้งนี้ กสม. ยังพบข้อท้าทายส�าคัญ กล่าวคือ
                 •  ประชากรบางกลุ่มยังไม่สามารถเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพ และ/หรือหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อาทิ กลุ่มเด็กนักเรียน
        ไร้สัญชาติและไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร กลุ่มคนเปราะบาง กลุ่มคนด้อยโอกาส กลุ่มคนชายขอบ กลุ่มคนที่อาศัย

        ในเขตชนบท กลุ่มเด็กวัยรุ่น และกลุ่มผู้ใช้สารเสพติด
                 •  การจัดการลดความเหลื่อมล�้าในหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และการพัฒนาคุณภาพของระบบสุขภาพที่มิได้
        จ�ากัดเพียงการให้บริการสาธารณสุข แต่ต้องค�านึงถึงปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ



        สิทธิในการประกอบอาชีพและการท�างาน
                 กติกา ICESCR ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามได้ประกันสิทธิด้านแรงงาน ไว้ในข้อ ๖ - ๘
        ได้แก่ (๑) สิทธิในการท�างาน (๒) สิทธิในการได้รับเงื่อนไขการท�างานที่เหมาะสมเป็นธรรม และ (๓) สิทธิที่จะก่อตั้งและ
        เข้าร่วมสหภาพแรงงาน และประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) จ�านวน ๑๔ ฉบับ

        โดยคณะกรรมการประจ�ากติกา ICESCR แต่อย่างไรก็ตาม กสม. ยังพบข้อท้าทายต่อสถานการณ์ด้านสิทธิในการประกอบอาชีพ
        และการท�างานในประเทศไทย กล่าวคือ
                 •  สภาพการท�างานและหลักประกันสังคมของคนท�างานบางกลุ่ม การใช้แรงงานบังคับ ค่าจ้างขั้นต�่าที่ก�าหนดโดยรัฐ

        ไม่สามารถประกันให้แรงงานและครอบครัวมีสภาพการด�ารงชีวิตอย่างเหมาะสมได้ และสิทธิด้านสหภาพแรงงาน
                 •   การแก้ไขปัญหาแรงงานประมง โดยการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘ พร้อมกับการสร้าง
        เงื่อนไขในการเข้าถึงระบบประกันสังคมและกองทุนทดแทน


                 ทั้งนี้ พบว่า รัฐบาลได้พยายามส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิในการประกอบอาชีพและการท�างานของแรงงานทั้งใน

        และนอกระบบ ได้แก่ การให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ๒ ฉบับ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการงานที่มีคุณค่า (decent work) และ
        การสนับสนุนการน�ามาตรฐานแรงงานไทย และแนวทางปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดีมาใช้ในสถานประกอบการ


          ๓.  สถานการณ์สิทธิมนุษยชนกรณีเฉพาะ



                 กสม. ได้พิจารณาสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อประชาชนและประเทศในภาพรวม รวมถึงสถานการณ์ที่สังคม
        ให้ความสนใจต่อการแก้ไขปัญหาของรัฐ โดยใน ปี ๒๕๕๙ ประกอบด้วย สถานการณ์ในกรณีเฉพาะ ๔ ประเด็น สรุปได้ดังนี้


        สถานการณ์การค้ามนุษย์

                 รัฐบาลได้ให้ความส�าคัญและตระหนักถึงการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ โดยด�าเนินการแก้ไขปัญหาทั้งในเชิงกฎหมาย
        นโยบาย ตลอดจนด�าเนินการเชิงรุก โดยแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑

        ในมาตรา ๖ และมาตรา ๙ ให้สอดรับกับพิธีสารเพื่อป้องกัน ปราบปรามและลงโทษการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็ก เสริมอนุสัญญา
        สหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ (Protocol to Prevent, Suppress and Punish Trafficking in Persons, Especially
        Women and Children, supplementing the United Nations Convention against Transnational Organized Crime
        : UNTOC) ที่ประเทศไทยเป็นภาคี การปรับแก้ความหมายของค�าว่าเหยื่อการค้ามนุษย์ในส่วนของการค้าประเวณี ให้รวมถึง
        กรณีที่ผู้กระท�าการค้าประเวณีได้กระท�าด้วยความยินยอมหรือสมัครใจ การปรับแก้กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้

        แรงงานในภาคอุตสาหกรรมการประมงและอาหารทะเล รวมถึงการประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. ๒๕๕๙


                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  18  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24