Page 16 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 16

บทสรุปผู้บริหาร





                     การจัดท�ารายงานประจ�าปีเพื่อประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายในประเทศเสนอต่อรัฐสภา และคณะรัฐมนตรี และเปิดเผย
            ต่อสาธารณชนเป็นอ�านาจหน้าที่หนึ่งของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
            พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๗ (๘) และพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ มาตรา ๑๕ (๖) เป็นการ
            รายงานให้ทราบถึงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศว่า ในปีนั้น ๆ มีสถานการณ์ใดบ้าง ที่มีผลกระทบต่อสิทธิของประชาชน

            ทั้งในด้านที่เป็นความก้าวหน้า และถดถอย โดย กสม. ใช้เกณฑ์หรือมาตรฐานหลัก ๒ ประการในการประเมิน กล่าวคือ (๑) หลักการตาม
            รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ รวมทั้ง
            กฎหมายภายในอื่น ๆ และ (๒) สิทธิที่ได้รับการรับรองจากสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ที่ประเทศไทยเป็นภาคีรวม ๗ ฉบับ

            รวมทั้งมาตรฐานระหว่างประเทศ และค�ามั่นสัญญาต่าง ๆ ที่รัฐบาลไทยได้ให้ไว้ต่อประชาคมระหว่างประเทศ


                     ทั้งนี้ ในปี ๒๕๕๙ กสม. ประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายในประเทศโดยสรุปเป็น ๔ ส่วนหลัก ดังนี้


              ๑.  สถานการณ์ด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง



                     กสม. ประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และการต่อต้านการทรมาน การประติบัติ
            หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย�่ายีศักดิ์ศรี โดยพิจารณาสารัตถะของสิทธิตามที่บัญญัติไว้ในกติการะหว่าง
            ประเทศว่าด้วยสิทธิทางพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และ

            การประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย�่ายีศักดิ์ศรี (CAT) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครอง
            บุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (CED) รวมถึงข้อเสนอแนะที่ประเทศไทยได้รับมาปฏิบัติภายใต้กลไก UPR
            มีสถานการณ์หลักสรุปได้ ดังนี้


            การทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย

                     ประเทศไทยได้ยกร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ พ.ศ. ....
            โดยผนวกหลักการ และสาระส�าคัญของอนุสัญญา CAT และอนุสัญญา CED ไว้ด้วยกัน ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙
            เห็นชอบการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา CED และร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งนี้ กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับ

            การทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย โดยในส่วนหนึ่งมีข้อร้องเรียนว่า มีเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้อง อีกทั้งยังพบข้อท้าทายอันเนื่องมาจาก
            การขาดหรือการตีความทางกฎหมาย การก�าหนดฐานความผิดเกี่ยวกับการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย ซึ่งส่ง
            ผลกระทบต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการสืบสวนสอบสวน และการติดตามหาบุคคลที่หายสาบสูญโดยถูกบังคับ อาทิ
                     •  ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๖/๑ ได้มีข้อยกเว้นให้รับฟังพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบ
            แต่ได้มาเนื่องจากการกระท�าโดยมิชอบหรือเป็นพยานหลักฐานที่ได้มาโดยอาศัยข้อมูลที่เกิดขึ้นหรือได้มาโดยมิชอบได้

            หากเป็นประโยชน์ต่อการอ�านวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสียอันเกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรม
            ทางอาญาหรือสิทธิเสรีภาพของประชาชน
                     ลักษณะดังกล่าว ท�าให้เกิดช่องว่างทางกฎหมายและวิธีการปฏิบัติ การตีความ เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการเข้าถึงสิทธิในกระบวนการ

            ยุติธรรมของครอบครัวบุคคลถูกบังคับให้สูญหาย และเปิดช่องให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเจ้าหน้าที่รัฐด้วยการกระท�าทรมาน


            สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
                     กสม. ได้รับเรื่องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมในจ�านวนที่มากกว่าสิทธิด้านอื่น ๆ
            แม้ว่ารัฐบาลได้พยายามด�าเนินการตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญตลอดจนกฎหมายต่าง ๆ ที่ประกันสิทธิในกระบวนการ

            ยุติธรรม และท�าให้ประชาชนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียมกัน อาทิ


                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  15  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21