Page 23 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 23
ทั้งในและนอกระบบการศึกษาให้ได้รับสัญชาติไทยอย่างถูกต้อง กรณีกระทรวงมหาดไทยมีหนังสือผ่อนปรนให้บุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติ
ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว สามารถเดินทางออกนอกพื้นที่เขตอ�าเภอที่ควบคุมได้แต่ให้อยู่ภายในเขตจังหวัดนั้น
ทั้งนี้ กสม. ยังมีความกังวลต่อสถานการณ์สิทธิของกลุ่มผู้เฒ่าไร้สัญชาติ (อายุ ๖๐ ปี ขึ้นไป) ซึ่งมีทั้งสิ้น ๘๐,๑๑๘ คน
ในขณะที่มีเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติที่อยู่ในสถาบันการศึกษา และไม่มีเอกสารพิสูจน์ตัวบุคคล (เด็กรหัส G) จ�านวน
๙๐,๙๖๖ คน และเด็กและเยาวชนที่เติบโตในประเทศไทย (เกิดนอกประเทศไทย) ซึ่งยังประสบปัญหาการพัฒนาสถานะ
บุคคลตามกฎหมายไทย
กลุ่มคนพิการ
การด�าเนินการเพื่อส่งเสริม คุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการของรัฐมีความก้าวหน้าเป็นอย่างยิ่ง
โดยประเทศไทยได้ยื่นภาคยานุวัติสารต่อสหประชาชาติ เพื่อเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิ
ของคนพิการ (OP - CRPD) โดยประกันสิทธิ เสรีภาพให้แก่คนพิการกรณีถูกละเมิดสิทธิที่ได้รับการรับรองในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิ
ของคนพิการ (CRPD) และกระบวนการเยียวยาภายในประเทศไม่สามารถบรรลุผลได้ ส�าหรับความก้าวหน้าภายในประเทศรัฐได้แก้ไขปัญหา
ความเหลื่อมล�้าในการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ด้านสาธารณสุขของคนพิการ โดยมีค�าสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๕๘/๒๕๕๙
เรื่องการรับบริการสาธารณสุขของคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม
นอกจากนี้ ยังก�าหนดและขับเคลื่อนนโยบาย แนวทางต่าง ๆ เพื่อให้คนพิการได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิต เข้าถึงสิทธิประโยชน์
และความช่วยเหลือจากรัฐ อาทิ โครงการสานพลังสู่มิติใหม่สร้างงานสร้างอาชีพคนพิการ ๑๐,๐๐๐ อัตรา เพื่อขับเคลื่อน
การจ้างงานคนพิการ ก�าหนดนโยบาย ปี ๒๕๕๙ ปีแห่งความร่วมมือด้านการจัดการศึกษาส�าหรับบุคคลที่มีความต้องการ
จ�าเป็นพิเศษ เพื่อส่งเสริมให้คนพิการเข้าถึงการศึกษาทุกระบบและทุกระดับการศึกษา การขับเคลื่อนแนวทางการสร้าง
อารยสถาปัตย์เพื่อให้ทุกคนในสังคมได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม รัฐควรขับเคลื่อนนโยบาย แนวทางต่าง ๆ
ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการให้เข้าถึงครอบคลุมทุกพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่ชนบทหรือพื้นที่ห่างไกล และควรปฏิบัติการ
เชิงรุกในการสร้างความตระหนักรู้แก่สังคมให้เข้าใจถึงสิทธิของคนพิการ
กลุ่มเด็ก
ในปี ๒๕๕๙ รัฐได้ด�าเนินมาตรการหลายประการที่ก้าวหน้า ในการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับข้อกังวลของ
คณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ (CRC) ได้แก่ การให้ความส�าคัญต่อภาวะโภชนาการ และการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
การอนุมัติร่างกฎหมายก�ากับการโฆษณาผลิตภัณฑ์ทดแทนนมแม่ การมีมาตรการแก้ไขปัญหาการออกจากโรงเรียนกลางคัน
การปกป้องคุ้มครองเด็กจากการกระท�ารุนแรง และการคุ้มครองเด็กจากการใช้แรงงานทุกรูปแบบ อย่างไรก็ดี ยังพบข้อมูลสถานการณ์
ที่น่าห่วงกังวลหลายประการ ได้แก่
• ปัญหาการกระท�ารุนแรงต่อเด็ก
• สถานการณ์การเสียชีวิตของเด็กจากการจมน�้า อุบัติเหตุทางถนน และอุบัติเหตุจากรถรับส่งนักเรียน โดยมีจ�านวน
เด็กที่เสียชีวิตจากการจมน�้า ๖๙๙ ราย เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจากรถโดยสารทัศนศึกษาและรถรับจ้างรับส่งนักเรียน ๑๐ ราย
• สถานการณ์เด็กกับสื่อออนไลน์พบว่า มีแนวโน้มการใช้งานสื่อออนไลน์ของเด็กที่เพิ่มสูงขึ้น เช่นเดียวกับ
แนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของสื่อที่มีเนื้อหาไม่เหมาะกับเด็ก ในขณะที่ มาตรการในการป้องกันเด็กจากสื่อที่ไม่เหมาะสมของรัฐ
ยังไม่ครอบคลุมและทันต่อพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีและพฤติกรรมการใช้สื่อของเด็กอย่างทันท่วงที
• สถานการณ์ของเด็กเคลื่อนย้ายและเด็กที่เป็นบุตรของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานพบว่า มีข้อจ�ากัดในการได้รับ
สิทธิขั้นพื้นฐานด้านการศึกษาและการสาธารณสุข ตลอดจนปัญหาในการปรับตัวเมื่อเข้าอยู่ในระบบการศึกษา รวมถึง
ภาวะเสี่ยงต่อการเผชิญกับปัญหาความรุนแรง การถูกเลือกปฏิบัติ การถูกล่วงละเมิดและแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ
การถูกท�าร้ายร่างกาย ตลอดจนการถูกชักจูงให้เข้าสู่ขบวนการยาเสพติด และถูกล่อลวงเพื่อเข้าสู่วงจรการค้ามนุษย์
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 22 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙