Page 18 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 18
• ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๘ และพระราชบัญญัติว่าด้วยการ
กระท�าความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
• ค�าสั่ง คสช. ที่ ๓/๒๕๕๙ เรื่อง มอบอ�านาจการอนุมัติและลงนามค�าสั่งแต่งตั้งเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปราม
และผู้ช่วยเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปราม ตามค�าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๑๓/๒๕๕๙ เรื่อง การป้องกันและปราบปรามการกระท�า
ความผิดบางประการที่เป็นภยันตรายต่อความสงบเรียบร้อยหรือบ่อนท�าลายระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
กสม. พบว่า กฎหมายดังกล่าวเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจได้อย่างกว้างขวาง และมีผลให้เกิดการปฏิบัติ
ที่แตกต่างกัน มีการใช้มาตรการและกลไกทางกฎหมายจ�ากัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเกินความจ�าเป็น โดยขาดการ
พิจารณายกเลิก หรือปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจ�าเป็น หรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการด�ารงชีวิต
ของประชาชน
๒. สถานการณ์ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
กสม. ประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยพิจารณาสารัตถะ
ของสิทธิตามที่บัญญัติไว้ในกติการะหว่างประเทศด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) โดยมีสถานการณ์หลัก
โดยสรุป ดังนี้
สิทธิด้านการศึกษา
รัฐมีนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ในการประกันการเข้าถึงสิทธิทางการศึกษาภาคบังคับ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายขั้นพื้นฐาน
และมีความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะด�าเนินการเพื่อบรรลุสิทธิทางการศึกษาเป็นล�าดับ ทั้งนี้ ได้มีความก้าวหน้าในสิทธิทาง
การศึกษาหลายประการ อาทิ การสนับสนุนงบประมาณด้านการศึกษาคิดเป็นร้อยละ ๒๐ ของงบประมาณรายจ่ายแผ่นดิน
การประกันการเข้าถึงการศึกษาภาคบังคับ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายและขยายให้ครอบคลุมถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๕ ปี การขับเคลื่อน
การปฏิรูปการศึกษาในระดับภูมิภาค โดยค�านึงถึงการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การแก้ไขพระราชบัญญัติกองทุน
กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๑ เพื่อลดข้อจ�ากัดการเข้าถึงกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาส�าหรับผู้ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และ
เพิ่มโอกาสให้เยาวชนที่เรียนดีและต้องการศึกษาสาขาวิชาขาดแคลนหรือสาขาที่เป็นความต้องการเพื่อพัฒนาประเทศได้เข้าถึง
สิทธิทางการศึกษาในขั้นอุดมศึกษา หรือขั้นวิชาชีพมากขึ้น ทั้งนี้ กสม. พบข้อท้าทายที่ส�าคัญ กล่าวคือ
• การด�าเนินการปฏิรูประบบการศึกษาอย่างจริงจังเพื่อพัฒนาคุณภาพโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแลกลุ่มเด็ก
และเยาวชนที่อยู่ในภาวะเสี่ยง กลุ่มเด็กไร้รัฐไร้สัญชาติ กลุ่มชาติพันธุ์และผู้ลี้ภัย รวมถึงกลุ่มเด็กที่ติดตามแรงงานข้ามชาติ
กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มประชาชนที่อยู่ในชนบทให้เข้าถึงสิทธิทางการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการ
• การจัดการศึกษาที่ยังไม่สอดคล้องกับระบบสังคม วัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสอนผ่านระบบพหุภาษา
หรือภาษาแม่ ตลอดจนการรักษารากทางวัฒนธรรมและฐานทรัพยากรของชุมชน โดยยังพบข้อติดขัดในการด�าเนินการตาม
มาตรา ๑๒ ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติมและกฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิขององค์กร
ชุมชน และองค์กรเอกชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในศูนย์การเรียน พ.ศ.๒๕๕๕
สิทธิด้านสุขภาพ
รัฐมีนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ในการประกันสิทธิในสุขภาพ และมีความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะด�าเนินการ
เพื่อบรรลุมาตรฐานสูงสุดที่เป็นไปได้ อาทิ การส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาวะและสุขภาพที่ดีตลอดช่วงชีวิต การออกประกาศ
คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรื่องธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๙ (ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
การจัดตั้งเขตสุขภาพ ๑๓ แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศไทย การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมการ
เข้าถึงบริการสาธารณสุขให้ดีขึ้น โดยมีผู้ทรงสิทธิมากกว่าร้อยละ ๙๙ ของประชากรทั้งหมดที่เข้าถึงสิทธิในบริการสาธารณสุข
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 17 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙