Page 24 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 24
กลุ่มนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติให้ความเห็นชอบกับสาระของปฏิญญาว่าด้วยสิทธิและความรับผิดชอบของปัจเจกบุคคล
กลุ่มบุคคล และองค์กรของสังคมในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน หรือเป็นที่รู้จักในนามของ
ปฏิญญาว่าด้วยผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน หรือนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งหมายถึง บุคคลที่ส่งเสริมและต่อสู้เพื่อให้เกิดการคุ้มครอง
และตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน โดยยังคงพบสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และครอบครัว
ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ได้แก่
• การถูกคุกคาม ข่มขู่ การถูกฟ้องร้องด�าเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของสาธารณชน
(Strategic Litigation Against Public Participation : SLAPP) โดยมักจะใช้ข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาและการน�าข้อมูล
เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งส่งผลให้เกิดความหวาดกลัวในการที่จะออกมาแสดงความคิดเห็นหรือเผยแพร่ความคิดเห็น
ต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
• การบังคับสูญหาย (enforced disappearance) ซึ่งมีการสอบสวนและน�าคดีขึ้นสู่ชั้นศาลไม่มากนัก รวมทั้ง
มีหลายคดีที่ผู้กระท�าความผิดยังไม่ได้รับการลงโทษ ครอบครัวและญาติไม่ได้รับการแจ้งข้อมูลความคืบหน้าในการด�าเนินการใด ๆ
• ข้อจ�ากัดของการเยียวยาความเสียหาย โดยมีแต่การให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและด้านทนายความ
ทั้งนี้ ได้มีการน�าเสนอ (ร่าง) พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระท�าให้บุคคลสูญหาย
พ.ศ. .... เพื่อให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ในขณะที่รัฐให้ความส�าคัญกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยการรายงาน
ทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ภายใต้กระบวนการ UPR รอบที่ ๒ คณะรัฐมนตรีมีมติให้ค�ารับรองในส่วน
ที่เกี่ยวข้องกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เสนอโดยประเทศต่าง ๆ รวมทั้ง กระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
ได้แสดงความมุ่งมั่นในการบรรจุประเด็นเกี่ยวกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนไว้ใน (ร่าง) แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๔
กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สังคมไทยมีพัฒนาการของการยอมรับอัตลักษณ์ ความหลากหลาย และการแสดงออกทางเพศ
เพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยจะพบพัฒนาการทั้งในด้านการก�าหนดค�าเรียกในเอกสารราชการ หลักฐานการเกณฑ์ทหาร และอื่น ๆ
ทั้งนี้ กสม. พบสถานการณ์สิทธิมนุษยชนใน ๕ มิติส�าคัญ คือ
• มิติการกระท�าหรือการก�าหนดให้เป็นความผิดในด้านกฎหมาย นโยบาย หรือบทบัญญัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ยังพบ
ลักษณะของการตีความหรืออาจจะเป็นช่องทางที่น�ามาใช้ตีความในส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่งผลต่อการเลือกปฏิบัติในทางหนึ่งทางใด
อาทิ พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งมุ่งคุ้มครองทั้งหญิง ชาย และผู้มีการแสดงออก
ที่แตกต่างจากเพศโดยก�าเนิดจากการถูกเลือกปฏิบัติทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ยังมิได้มุ่งคุ้มครองเฉพาะผู้หญิงและผู้มีความ
หลากหลายทางเพศ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ นอกจากนี้ การตรวจสอบ
การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ยังเปิดช่องให้มีการเลือกปฏิบัติได้ โดยยกเว้นให้กับการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผล
ตามหลักการทางศาสนา หรือเพื่อความมั่นคงของประเทศ เพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพ
ได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น หรือเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพและความปลอดภัย
• มิติการกระท�าหรือการก�าหนดให้เป็นการตีตราหรือเหมารวม โดยพบว่ามีการตีตราและการคุกคามทางเพศและ
การกระท�าความรุนแรงต่อบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในสถานการณ์ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สื่อมวลชนยังคง
ผลิตซ�้าภาพต่อบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในลักษณะเหมารวม มีความแตกต่างจากคนทั่วไป
• มิติการยอมรับทางกฎหมายที่มีการแสดงวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ พบว่า มีกฎหมายที่มีการแสดงวิถีทาง
เพศ และอัตลักษณ์ทางเพศอยู่บ้าง แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมในภาพรวม รวมถึงยังไม่มีการปรับปรุง แก้ไข กฎ ระเบียบและข้อบังคับ
ที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด
• มิติการยอมรับหรือการอยู่ร่วมกับวิถีวัฒนธรรมอื่น ๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับการแสดงวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศ
ที่แตกต่างหลากหลาย พบว่าบุคคลที่แสดงวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศสามารถด�าเนินวิถีชีวิตและประกอบอาชีพ หรือได้รับ
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 23 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙