Page 204 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 204

อย่างเป็นทางการ (๓) ตรวจสอบให้แน่ใจว่าบุคคลใดที่ได้รับอันตรายอันเป็นผลโดยตรงจากการการบังคับให้สูญหายสามารถ
            เข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับชะตากรรมของผู้ถูกบังคับให้สูญหาย ได้รับการเยียวยาที่เป็นธรรมและเพียงพอ รวมทั้งได้รับการสนับสนุน

            ทางจิตใจ ทางสังคม และทางการเงินที่จ�าเป็นส�าหรับสมาชิกครอบครัวของผู้ถูกบังคับให้สูญหาย (๔) เร่งรัดกระบวนการของรัฐ
            เพื่อด�าเนินการภาคยานุวัติอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ ๓๘๔


                     นอกจากความกังวลและข้อคิดเห็นของคณะกรรมการประจ�ากติกาฯ และคณะกรรมการประจ�าอนุสัญญาฯ ดังกล่าว
            ข้างต้นแล้ว ประเทศไทยยังได้รับข้อเสนอแนะด้านสิทธิมนุษยชนจากคณะท�างาน Universal Periodic Review (UPR) จาก

            การเสนอรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ภายใต้กระบวนการ Universal Periodic Review (UPR)
            รอบที่ ๑ เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๔ จ�านวน ๑๗๒ ข้อ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ให้ค�ารับรอง
            ข้อเสนอแนะด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยได้รับจ�านวน ๑๓๔ ข้อ ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะด้านสิทธิมนุษยชนที่คณะรัฐมนตรี

            ไม่ได้มีมติให้ค�ารับรองมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เสนอโดยประเทศต่าง ๆ เช่น ให้สัตยาบันหรือภาคยานุวัติ
            อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ และสอบสวนข้อกล่าวหาทั้งหมด  สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเฉพาะ
            เกี่ยวกับการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้ให้ค�ามั่นโดยสมัครใจว่าจะเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาดังกล่าว
            ซึ่งตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๖๑) แผนสิทธิมนุษยชนด้านกระบวนการยุติธรรมได้มี
            ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการให้ศึกษาความเป็นไปได้ในการให้สัตยาบันอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคล

                                             ๓๘๕
            ทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ  ต่อมาในการเสนอรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทย
            ภายใต้กระบวนการ Universal Periodic Review (UPR) รอบที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ประเทศไทยได้รับข้อเสนอแนะ
            จากคณะท�างาน Universal Periodic Review (UPR) จ�านวน ๒๔๙ ข้อ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม

            ๒๕๕๙ ให้ค�ารับรองข้อเสนอแนะด้านสิทธิมนุษยชนจ�านวน ๑๘๑ ข้อ รวมทั้งค�ามั่นโดยสมัครใจอีก ๗ ข้อ ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะ  บทที่
                                                                                                                    ๖
            ด้านสิทธิมนุษยชนที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ค�ารับรองมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เสนอโดยประเทศต่าง ๆ
            เช่น ด�าเนินมาตรการที่จ�าเป็นเพื่อให้สามารถให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจาก
            การหายสาบสูญโดยถูกบังคับ ผ่านกฎหมายภายในประเทศที่ก�าหนดโทษทางอาญาส�าหรับการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ
            และการทรมานและรับรองสิทธิของผู้เสียหาย ก�าหนดนิยามทางกฎหมายของการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ เร่งการผ่าน

                                                                                                        ๓๘๖
            ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระท�าให้บุคคลสูญหายซึ่งได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรี  เป็นต้น

                     จากข้อเสนอแนะที่ประเทศไทยได้รับและการมีค�ามั่นเกี่ยวกับอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคล

            ทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ ซึ่งประเทศไทยได้ลงนามเมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๕  และการลงนามอนุสัญญาฯ
                                                                                       ๓๘๗
            ถือเป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองของประเทศไทยที่จะไม่ด�าเนินการใด ๆ อันขัดต่อหลักการของอนุสัญญาฯ ตาม
            หลักการที่ระบุไว้ในข้อ ๑๘ วรรคหนึ่ง ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา และแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะปรับปรุง
                                                          ๓๘๘
            กฎหมายภายในที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับอนุสัญญาฯ  เพื่อคุ้มครองประชาชนมิให้ถูกละเมิดสิทธิจากการหายสาบสูญ
            โดยถูกบังคับ ทั้งนี้ อนุสัญญาฉบับนี้จะมีผลใช้บังคับกับประเทศไทยต่อเมื่อประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาฯ แล้ว ๓๘๙





                     ๓๘๔  จาก สรุปข้อสังเกตของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในการพิจารณารายงานของประเทศไทย ตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่น
            ที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย�่ายีศักดิ์ศรี น. ๑๖ – ๑๙, โดย สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.), ๒๕๕๗
                     ๓๘๕  จาก แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๗ - ๒๕๖๑) (น. ๓๙), โดย กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม, ๒๕๕๖, กรุงเทพฯ:
            กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม.
                     ๓๘๖  จาก แผนการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ไทยได้รับและค�ามั่นโดยสมัครใจของไทยภายใต้กลไก UPR รอบที่ ๒, สืบค้นจาก http://humanrights.mfa.go.th/th/
            upr/report-upr-2/กระทรวงการต่างประเทศ
                     ๓๘๗  จาก CED อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ, สืบค้นจาก http://humanrights.mfa.go.th/th/
            humanrights/obligation/international-human-rights-mechanism/CED.php
                     ๓๘๘  จาก การพิจารณาลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย (International Convention for the Protection of
            all Persons from Enforced Disappearance), สืบค้นจาก http://www.cabinet.soc.go.th/soc/Program2-3.jsp?top_serl=99228692
                     ๓๘๙  จาก ประเทศไทยลงนามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ, โดย กระทรวงการต่างประเทศ, ๒๕๕๕,
            สืบค้นจาก http://humanrights.mfa.go.th/th/news/3/



                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  203  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   199   200   201   202   203   204   205   206   207   208   209