Page 203 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 203
ทั้งนี้ กสม. ได้รับค�าร้องเรียนเกี่ยวกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๕๙ จ�านวนทั้งสิ้น ๑๑
ค�าร้อง โดยประเด็นของค�าร้องส่วนใหญ่เป็นกรณีที่กล่าวอ้างว่านักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนได้หายตัวไป
ถูกลอบสังหาร ถูกข่มขู่คุกคามจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบและจัดท�ารายงานผลการตรวจสอบ
การละเมิดสิทธิมนุษยชน
นอกจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
ในกรณีการสูญหายแล้ว ยังมีกรณีที่นักปกป้องสิทธิมนุษยชน
ถูกฟ้องร้องในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาและการน�า
ข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งในต่างประเทศจะมีกฎหมาย
ป้องกันการด�าเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วม
ของสาธารณชน (Anti – Strategic Litigation Against
Public Participation (Anti –Slapp Law) โดยหลักการ
ของกฎหมายดังกล่าว คือ รัฐหรือกลุ่มทุนขนาดใหญ่ไม่ควร
ใช้การฟ้องร้องด�าเนินคดีเพื่อให้ยุติการท�าหน้าที่ปกป้อง
๓๘๒
สิทธิมนุษยชน ซึ่งสอดคล้องกับหลักการคุ้มครองการแสดงความคิดเห็นที่ได้รับการรับรองในข้อ ๑๙ ของปฏิญญาสากลว่าด้วย
สิทธิมนุษยชน และข้อ ๑๙ ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
สถานการณ์ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ส่งผลให้คณะกรรมการประจ�ากติการะหว่างประเทศว่าด้วย
สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และคณะกรรมการประจ�าอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการประติบัติหรือการลงโทษอื่น
ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย�่ายีศักดิ์ศรี มีความวิตกและได้มีความเห็นต่อสถานการณ์ดังกล่าว โดยในการประชุมครั้งที่
๒๓๐๗ เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๘ คณะกรรมการประจ�ากติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองฯ มีความ
กังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้นกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เช่น การข่มขู่ด้วยวาจา การท�าร้ายร่างกาย การลักพาตัว
และการฆาตกรรม และมีข้อเสนอแนะให้ต้องมีมาตรการเร่งด่วน ในการปกป้องและยุติการคุกคามและการท�าร้ายอย่างเป็นระบบ
๓๘๓
และมีหลักประกันการเยียวยาต่อเหยื่อและครอบครัวอย่างเหมาะสม ส่วนคณะกรรมการประจ�าอนุสัญญาต่อต้านการ
ทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย�่ายีศักดิ์ศรี มีความเห็นในการประชุมครั้งที่ ๑๒๓๙
เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ว่าคณะกรรมการฯ มีความวิตกอย่างยิ่งในหลายประการ กล่าวคือ (๑) กรณีที่ประเทศไทย
ยังไม่มีนิยามและฐานความผิดการบังคับสูญหายในกฎหมาย (๒) กรณีที่ถูกกล่าวหาว่ามีการบังคับให้หายตัวอย่างต่อเนื่องเป็น
จ�านวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีนักปกป้องสิทธิมนุษยชนด้านต่อต้านการทุจริตและด้านสิ่งแวดล้อมและผู้ที่เป็นพยาน
การละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น กรณีนายพอละจี รักจงเจริญ เป็นต้น (๓) ความล้มเหลวในการแก้ปัญหาการบังคับให้สูญหาย
การเยียวยาให้ญาติของบุคคลที่สูญหายและการด�าเนินคดีกับผู้ที่รับผิดชอบ ดังที่ปรากฏในหลายกรณีรวมทั้งการหายตัวไป
ของนายสมชาย นีละไพจิตร นายจะวะจาโล และนายมะยาเต็ง มะรานอ ซึ่งประเทศไทยควรใช้มาตรการที่จ�าเป็นเพื่อป้องกัน
การบังคับให้สูญหายและต่อสู้กับการที่ไม่ได้ตัวผู้กระท�าความผิดมาลงโทษ เนื่องจากความผิดฐานบังคับให้สูญหายโดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง (๑) ใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อให้แน่ใจว่าการบังคับให้สูญหายเป็นความผิดทางอาญาที่ระบุในกฎหมายภายใน
ของประเทศร่วมกับการลงโทษในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับความร้ายแรงของการกระท�าความผิด (๒) ท�าให้มั่นใจว่ากรณีการ
บังคับให้สูญหายได้รับการสอบสวนอย่างละเอียดทันทีและมีประสิทธิภาพ ผู้ต้องสงสัยจะถูกด�าเนินคดี และในกรณีที่พบว่า
มีความผิดควรลงโทษตามสัดส่วนที่เหมาะสมกับความร้ายแรงของอาชญากรรมของผู้กระท�าผิดแม้ไม่พบตัวหรือไม่พบชิ้นส่วน
ศพมนุษย์ หากมีเหตุอันควรเชื่อว่ามีบุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหายเจ้าหน้าที่จะต้องด�าเนินการตรวจสอบแม้ยังไม่มีการร้องเรียน
๓๘๒ จาก กลุ่มต่อต้านมุสลิมหัวรุนแรง-๓-จังหวัดชายแดนใต้-๑. สืบค้นจาก https://th-th.facebook.com/
๓๘๓ จากสรุปข้อสังเกตของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในการพิจารณารายงานของประเทศไทย ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
น.๑๒, โดย สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.), ๒๕๔๘
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 202 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙