Page 201 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 201

ทางด้านการศึกษาและการสาธารณสุขของเด็กกลุ่มนี้ แต่ในทางปฏิบัติ ยังพบข้อจ�ากัดที่ส่งผลให้เด็กบางส่วนไม่สามารถเข้าถึง
        สิทธิดังกล่าวได้ ซึ่งรัฐจ�าเป็นต้องมีมาตรการเพื่อสร้างความตระหนักให้ผู้ปกครองเห็นความส�าคัญในการได้รับการศึกษาและ

        บริการสาธารณสุข ตลอดจนสร้างความตระหนักต่อชุมชนและสังคมในการปฏิบัติต่อเด็กที่เป็นบุตรของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน
        อย่างเท่าเทียมและปราศจากการเลือกปฏิบัติ


                                                                      ในส่วนของเด็กเคลื่อนย้ายที่เป็นเด็กไทยในกลุ่ม
                                                              เด็กเร่ร่อน รัฐควรสนับสนุนกลไกต่าง ๆ ที่มีอยู่ให้ท�างาน

                                                              ได้อย่างมีประสิทธิภาพและบูรณาการการท�างานร่วมกับ
                                                              องค์กรภาคประชาสังคมมากขึ้น ในการร่วมกันแก้ไขปัญหา
                                                              ยกตัวอย่าง เช่น “โครงการครูข้างถนน” ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการ

                                                              ที่สามารถช่วยยับยั้งเด็กเร่ร่อนบางส่วนไม่ให้เข้าสู่วงจร
                                                              ของการกระท�าผิดได้ เช่น การก่ออาชญากรรม ยาเสพติด
                                                              และการกระท�าความรุนแรงทางเพศ เป็นต้น นอกจากนี้
        รัฐควรมีฐานข้อมูลของเด็กเร่ร่อนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถติดตาม ประเมิน และแก้ไขปัญหาของเด็กกลุ่มนี้ได้
        อย่างมีประสิทธิภาพ



         ๖.๔  นักปกป้องสิทธิมนุษยชน


        ๖.๔.๑ หลักการสิทธิมนุษยชน

                 นักปกป้องสิทธิมนุษยชน เป็นที่รู้จักหลังจากที่สมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้รับรองข้อมติที่ ๕๓/๑๔๔ เมื่อวันที่ ๙
        ธันวาคม ๑๙๙๘ ให้ความเห็นชอบกับสาระของปฏิญญาว่าด้วยสิทธิและความรับผิดชอบของปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และ
        องค์กรของสังคมในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างสากล (Declaration
        on the Right and Responsibility of Individuals, Groups and Organs of Society to Promote and Protect

        Universally Recognized Human Rights and Fundamental Freedoms) หรือเป็นที่รู้จักในนามของปฏิญญาว่าด้วย
        ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน (The Declaration on Human Rights Defenders) ซึ่งแม้ว่าปฏิญญาดังกล่าวจะไม่ก่อให้เกิดพันธกรณี
        ระหว่างประเทศ แต่เนื่องจากสหประชาชาติให้การรับรอง และประเทศไทยได้ร่วมอุปถัมภ์ (co – sponsor) ร่างข้อมติและ

        ให้เสียงสนับสนุนในการรับรองข้อมติดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความจริงจังในการสนับสนุนเนื้อหาของปฏิญญาฉบับนี้ ดังนั้น
        รัฐบาลไทยจึงมีพันธกรณีด้านจริยธรรมที่จะเคารพหลักการที่ปรากฏในปฏิญญา ๓๗๙


                 ปฏิญญาฯ ได้ให้ค�าจ�ากัดความของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่า หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ส่งเสริมและต่อสู้
        เพื่อให้เกิดการคุ้มครอง และตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ (ข้อ ๑)

        ซึ่งรัฐแต่ละรัฐมีความรับผิดชอบและหน้าที่ในเบื้องแรกที่จะคุ้มครอง ส่งเสริม และน�าสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานไป
        ปฏิบัติ และรัฐแต่ละรัฐต้องด�าเนินขั้นตอนด้านนิติบัญญัติ การบริหาร และอื่น ๆ ที่จ�าเป็นเพื่อให้มั่นใจว่า สิทธิและเสรีภาพ
        ทั้งหลายแห่งปฏิญญานี้ได้รับการประกันอย่างเป็นผล (ข้อ ๒) รวมทั้งรัฐต้องประกันและสนับสนุนการก่อตั้งและพัฒนาองค์กร

        อิสระแห่งชาติเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการ
        สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือสถาบันแห่งชาติในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง (ข้อ ๑๔ (๓)) โดยปฏิญญาฯ ได้รับรองสิทธิไว้หลาย
        ประการ เช่น การพบหรือชุมนุมอย่างสันติ การเข้าร่วมในองค์กรเอกชน สมาคม หรือกลุ่มทั้งหลาย การติดต่อสื่อสารกับองค์กร
        เอกชน หรือองค์กรระหว่างประเทศ (ข้อ ๕) และการเยียวยาอย่างมีประสิทธิผล และได้รับการคุ้มครองเมื่อมีการละเมิด (ข้อ ๙)


                 ๓๗๙  จากแนวทางปฏิบัติและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ เอกสารล�าดับที่ ๒ ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิและความรับผิดชอบของปัจเจกบุคคล กลุ่ม
        บุคคล และองค์กรของสังคมในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างสากล (น.๓), โดย ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ๒๕๔๖


                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  200  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206