Page 199 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 199
มีค่าใช้จ่ายอื่นที่นอกเหนือจากค่าอาหาร และเครื่องใช้ส�าหรับบุตร เช่น ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในกรณีที่บุตรมีปัญหา
ด้านสุขภาพ เป็นต้น ๓๗๗
๒) ด้านการศึกษา
ส�าหรับปัญหาการออกจากโรงเรียนกลางคันของเด็ก หากพิจารณาจากสถิติย้อนหลัง ตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ ซึ่ง
คณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติได้มีข้อห่วงกังวล จะพบว่า สถิติมีแนวโน้มที่ดีขึ้น รายละเอียดตามตารางที่ ๙
ตารางที่ ๙ สถิติการออกจากโรงเรียนกลางคันของเด็ก ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๕ – ปัจจุบัน
ปีการศึกษา ระดับการศึกษา รวม
ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย
๒๕๕๕ ๐.๑๑ ๐.๗๕ ๐.๘๒ ๐.๔๒
๒๕๕๖ ๐.๑๔ ๐.๙๕ ๐.๙๑ ๐.๕๑
๒๕๕๗ ๐.๐๘ ๐.๓๒ ๐.๓๒ ๐.๑๙
๒๕๕๘ – ปัจจุบัน ๐.๐๕ ๐.๒๔ ๐.๒๔ ๐.๑๔
ที่มา : ส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
อย่างไรก็ดี รัฐยังจ�าเป็นต้องมีการด�าเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและ
เหมาะสมกับสภาพปัญหาของเด็กแต่ละกลุ่มตามปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการออกกลางคัน เช่น กลุ่มเด็กที่ออกกลางคันเนื่องจาก
สติปัญญา หรือผลการเรียนไม่ดี กลุ่มเด็กที่ออกกลางคันเนื่องจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ กลุ่มเด็กที่ออกกลางคันเนื่องจากอพยพ
ตามผู้ปกครอง และกลุ่มเด็กที่ออกกลางคันเนื่องจากมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เป็นต้น
๓) ด้านการปกป้องคุ้มครองเด็กจากการกระท�ารุนแรง
แม้ว่ารัฐจะให้ความส�าคัญในการดูแลเด็กที่ได้รับการกระท�าความรุนแรงผ่านการช่วยเหลือต่าง ๆ ที่ก�าหนดขึ้น
อย่างไรก็ดี รัฐจ�าเป็นต้องให้ความส�าคัญกับเด็กที่ได้รับความรุนแรง แต่ไม่ได้เข้าสู่กระบวนการขอความช่วยเหลือ ซึ่งคาดการณ์
ว่าอาจมีจ�านวนมากกว่าจ�านวนที่ขอรับการช่วยเหลือจากรัฐ นอกจากนี้ ยังมีความรุนแรงในรูปแบบอื่น ๆ ที่สังคมไทยยังไม่
ได้ให้ความส�าคัญหรือตระหนักว่าเป็นความรุนแรงต่อเด็ก อาทิ ความรุนแรงทางอารมณ์และจิตใจ เช่น การดูถูกเหยียดหยาม
การเลือกปฏิบัติ การท�าให้เด็กรู้สึกด้อยค่า และความรุนแรงจากการละเลยทอดทิ้ง ซึ่งรัฐควรจะมีมาตรการเชิงบวกในการ
รณรงค์ หรือสร้างความเข้าใจแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็ก เช่น พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครู ชุมชน ให้ตระหนักถึงผลกระทบจาก
ความรุนแรงที่เกิดจากการกระท�าในลักษณะดังกล่าว ซึ่งอาจจะส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ก้าวร้าว เก็บตัว
ไม่เข้าสังคม และประพฤติตนไปในทางที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น
๔) สถานการณ์การเสียชีวิตของเด็กจากการจมน�้า อุบัติเหตุทางถนน และอุบัติเหตุ
จากรถรับส่งนักเรียน
แม้ว่าสถิติการเสียชีวิตจากการจมน�้าของเด็กจะมีแนวโน้มลดลง
แต่ตัวเลขการเสียชีวิตของปี ๒๕๕๙ ยังคงอยู่ในจ�านวนที่สูง ซึ่งแม้ว่า
รัฐจะมีมาตรการต่าง ๆ ที่เป็นการป้องกันการจมน�้าในเด็ก เช่น การมี
หลักสูตรสอนว่ายน�้าส�าหรับเด็กในโรงเรียนหรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
การให้ความรู้ในสถานบริการสาธารณสุข/ชุมชน และการสื่อสารประชาสัมพันธ์
๓๗๗ จาก โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดของประเทศไทยช่วยครอบครัวยากจนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น, โดย Unicef Thailand, สืบค้นจาก
http://thailandunicef.blogspot.com/2016/10/thailand-child-support-grant-helps-vulnerable-families.html
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 198 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙