Page 196 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 196
อนึ่ง ข้อมูลการเสียชีวิตของเด็กจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถโดยสารทัศนศึกษาและรถรับจ้างรับส่งนักเรียน โดยพบว่า
ในปี ๒๕๕๙ เกิดอุบัติเหตุ ๓๘ ครั้ง มีนักเรียนประสบเหตุ ๔๕๙ ราย เสียชีวิต ๑๐ ราย บาดเจ็บ ๔๔๙ รา ย (มีจ�านวนการเกิด
๓๗๑
อุบัติเหตุเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี ๒๕๕๘ ที่เกิดอุบัติเหตุ ๒๓ ครั้ง มีนักเรียนประสบเหตุ ๓๕๖ ราย เสียชีวิต ๒๕ ราย บาดเจ็บ ๓๓๑ ราย)
โดยสามารถแสดงรายละเอียดประเภทของรถโดยสารทัศนศึกษา และรถรับจ้างรับส่งนักเรียนที่เกิดอุบัติเหตุในปี ๒๕๕๙ ตามตารางที่ ๗
ตารางที่ ๗ ข้อมูลการเสียชีวิตของเด็กจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถ ปี ๒๕๕๙
ประเภทรถโดยสาร รถทัศนศึกษา จำ นวนครั้งของ จำ นวนเด็ก จำ นวนเด็ก
และรถรับจ้างรับส่งนักเรียน การเกิดอุบัติเหตุ ที่เสียชีวิต ที่ได้รับบาดเจ็บ
รถตู้ ๑๔ ๓ ๙๐
รถกระบะ ๖ ๔ ๕๙
รถทัศนศึกษา ๑๐ ๒ ๑๙๕
รถบรรทุกหกล้อ ๘ ๑ ๑๐๕ สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเฉพาะ
รวม ๓๘ ๑๐ ๔๔๙
ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
นอกจากนี้ ในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙) พบว่า มีเด็กอายุระหว่าง ๓ - ๔ ปี เสียชีวิตจากการ
ถูกลืมทิ้งไว้ในรถ ๖ ราย โดยถูกลืมทิ้งไว้ในรถรับ-ส่งนักเรียน ๕ ราย และรถยนต์ส่วนบุคคล ๑ ราย เด็กที่เสียชีวิตทั้งหมด
ถูกลืมทิ้งไว้นานกว่า ๖ ชั่วโมงขึ้นไป นอกจากนี้ ยังพบว่าเด็กที่เสียชีวิต จ�านวน ๔ ราย นอนหลับอยู่บนรถขณะรถก�าลังไป
ส่งที่โรงเรียน ส่วนเด็กที่ช่วยไว้ได้ทันทั้งหมดผู้ปกครองไม่ได้ลืม แต่ตั้งใจทิ้งเด็กไว้ในรถเอง เพราะคิดว่าลงไปท�าธุระไม่นาน บทที่
๖
โดยติดเครื่องยนต์และเปิดแอร์ทิ้งไว้ ๓๗๒
๑.๗) สถานการณ์เด็กกับสื่อออนไลน์
ปัจจุบันสื่อออนไลน์มีอิทธิพลต่อกลุ่มเด็กและเยาวชนค่อนข้างมาก กิจกรรมในชีวิตประจ�าวันส่วนใหญ่ของเด็กและ
เยาวชนมีแนวโน้มยึดติดกับสื่อออนไลน์ โดยวัตถุประสงค์ในการใช้สื่อออนไลน์ของเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่เป็นการใช้เพื่อ
ความบันเทิง การพูดคุยในหมู่สังคมออนไลน์ การใช้เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ การติดตามข่าวสาร ตลอดจนใช้เพื่อการซื้อ
สินค้า/บริการ และการท่องเที่ยว จากพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ที่เกิดขึ้น ปัญหาที่น่าห่วงกังวลจากพฤติกรรมดังกล่าว คือ
การใช้สื่อออนไลน์ไปในทางที่ไม่สร้างสรรค์และเป็นอันตราย ตลอดจนการได้รับสื่อที่ไม่เหมาะสมของเด็กและเยาวชน เช่น
สื่อลามกอนาจาร การพนัน พฤติกรรมรุนแรง และการใช้ยาเสพติด เป็นต้น ซึ่งอาจส่งผลให้เด็กและเยาวชนเกิดพฤติกรรม
เลียนแบบในสิ่งที่เป็นอันตรายหรือไม่เหมาะสม นอกจากนั้น ปัญหาที่น่าห่วงกังวลอีกประการหนึ่งคือ การใช้สื่อออนไลน์เป็น
ช่องทางในการล่อลวงเด็กและเยาวชนเพื่อแสวงหาประโยชน์ในลักษณะต่าง ๆ เช่น การแสวงหาประโยชน์ทางเพศ การชักจูง
เพื่อให้กระท�าสิ่งผิดกฎหมาย และการล่อลวงทรัพย์สินจากเด็ก เป็นต้น
ข้อมูลส�านักงานสถิติแห่งชาติ รายงานพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กไทย โดยระบุว่า เด็กอายุ ๖ - ๑๔ ปี มีแนวโน้ม
การใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ ๓๕.๙ ในปี ๒๕๕๓ เป็นร้อยละ ๖๑.๔ ในปี ๒๕๕๙ โดยร้อยละ ๔๗.๔ มีการใช้
อินเทอร์เน็ตทุกวัน เด็กส่วนใหญ่ใช้เวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตประมาณ ๑ - ๒ ชั่วโมงต่อวัน อุปกรณ์ที่เด็กใช้ในการเชื่อมต่อ
อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ รองลงมาคือ โทรศัพท์แบบสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ตามล�าดับ ส�าหรับ
วัตถุประสงค์หรือกิจกรรมในการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กนั้น รายละเอียดตามตารางที่ ๘
๓๗๑ จาก สถานการณ์ปัญหารถโดยสารสาธารณะในประเทศไทย ปี ๒๕๕๙ กลุ่มรถทัวร์ รถตู้ และรถรับจ้างรับส่งนักเรียน, โดย ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทาง
ถนน, สืบค้นจาก http://www.roadsafetythai.org/uploads/userfiles/file_20170207012428.pdf
๓๗๒ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 195 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙