Page 197 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 197

ตารางที่ ๘ วัตถุประสงค์/กิจกรรมในการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กไทย ปี ๒๕๕๙



                วัตถุประสงค์/กิจกรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต                         ร้อยละ
         ดาว์นโหลด ฟังเพลง ดูหนัง เล่นเกมส์                                       ๘๖.๒

         Social Network                                                           ๖๔.๐

         อัพโหลดข้อมูล รูปภาพ                                                     ๔๒.๗

         ศึกษาหาความรู้                                                           ๓๖.๙

         ติดตามข่าวสาร                                                            ๒๓.๖
         รับ-ส่งอีเมล์                                                            ๑๔.๑

         ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า/บริการ                                        ๑๓.๗

         ศึกษาข้อมูลภาครัฐ                                                        ๑๓.๕
         ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า/บริการด้านสุขภาพ                              ๑๐.๙

         โทรศัพท์ผ่าน Internet (VoIP)                                             ๑๐.๐

                 ที่มา : ส�านักงานสถิติแห่งชาติ

                 นอกจากนี้ ในกลุ่มวัยรุ่นอายุ ๑๕ - ๒๔ ปี พบว่า

        เป็นกลุ่มประชากรที่มีการใช้อินเทอร์เน็ตสูงที่สุด โดยร้อยละ
        ๗๖.๑ มีการใช้อินเทอร์เน็ตทุกวัน ๆ ละ ๑ - ๒ ชั่วโมง
        และพบว่าโทรศัพท์แบบสมาร์ทโฟนคือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการ
        เข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากที่สุด รองลงมาคือ คอมพิวเตอร์
        ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์พกพา และแท็บเล็ต ตามล�าดับ

        ในส่วนของวัตถุประสงค์หรือกิจกรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต พบว่า
        มีการใช้เพื่อ Social Network มากที่สุด ร้อยละ ๙๔.๓
        รองลงมาคือ การดาว์นโหลดรูปภาพ/หนัง/วิดีโอ/เพลง/เกมส์/

        เล่นเกมส์/ดูหนัง/ฟังเพลง/วิทยุ ฯลฯ ร้อยละ ๙๒.๕
        การอัพโหลดข้อมูลรูปภาพ/ภาพถ่าย/วิดีโอ/เพลง/software ฯลฯ เพื่อการแบ่งปันบนเว็บไซต์ ร้อยละ ๖๕.๘ นอกนั้นเป็นการ
        ติดตามข่าวสาร และการรับ-ส่งอีเมล์


                 ในการประชุมระดับชาติเรื่องสุขภาวะทางเพศ ครั้งที่ ๒ เรื่อง “เพศในสื่อสมัยใหม่” พบว่า ร้อยละ ๕๐ ของเด็ก

        เคยเจอรูปโป๊ เปลือย ในอินเทอร์เน็ต และเข้าถึงได้ง่ายในการค้นหา นอกจากนี้ ข้อมูลในอินเทอร์เน็ตยังมีในรูปของสื่อ
        ที่หลอกล่อให้กดเข้าไปดู (Clickbait) ซึ่งมีทั้งโป๊ เปลือย สื่อลามกอนาจาร เกมส์ และเรื่องที่ไม่เหมาะสม เด็กจึงรู้ข้อมูลเรื่องเพศ
        ที่ไม่ใช่เชิงความรู้ผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ มากมาย จากการส�ารวจวัยรุ่นระดับมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพฯ พบว่า เพศชายร้อยละ ๒๑

        และเพศหญิงร้อยละ ๑๗ เจอรูปโป๊ เปลือย ในการใช้อินเทอร์เน็ตโดยไม่ได้ตั้งใจ โดยเพศชายร้อยละ ๑๔ และเพศหญิงร้อยละ ๑๑
        เคยคลิกเข้าไปดู เพศชายร้อยละ ๒๐ เพศหญิงร้อยละ ๑๙ ถูกชักชวนให้มีกิจกรรมทางเพศโดยไม่ต้องการ เพศชายร้อยละ ๘
        เพศหญิงร้อยละ ๖ เคยถูกผู้อื่นชักชวนให้มีเพศสัมพันธ์ทางอินเทอร์เน็ต เพศชายร้อยละ ๖ เพศหญิงร้อยละ ๓ เคยไปเจอผู้ที่ชักชวน
        และเพศชายร้อยละ ๕ เพศหญิงร้อยละ ๑ มีเพศสัมพันธ์จริง ๓๗๓



                 ๓๗๓  จาก วัยรุ่น ๕๐% เคยเข้าถึงสื่อลามกแนะสังคมเปิดกว้างเรื่องเพศ, โดย ไทยโพสต์, ๒๕๖๐, สืบค้นจาก http://www.thaipost.net


                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  196  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   192   193   194   195   196   197   198   199   200   201   202