Page 194 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 194
๓๖๔
มีจ�านวนเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบจ�านวน ๕๕๑ คน เสียชีวิต ๘๖ คน และได้รับบาดเจ็บ ๔๖๕ คน
รวมถึงมีจ�านวนเด็กก�าพร้าที่สูญเสียผู้ปกครองจากเหตุการณ์ความไม่สงบจ�านวน ๙,๘๐๖ คน ๓๖๕
นอกจากนี้ จากการประชุม UPR Working Group เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ประเทศไทยได้รับข้อเสนอแนะ
จากรัฐภาคีจ�านวน ๑๘๑ ข้อ ซึ่งมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเด็กในด้านต่าง ๆ อาทิ การรับรองการเกิดให้กับเด็กทุกคนที่เกิด
ในประเทศไทย การประกันการเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อคุ้มครองเด็ก การป้องกันความรุนแรง
ต่อเด็กในทุกรูปแบบ และการป้องกันเด็กจากการค้ามนุษย์ เป็นต้น
ที่ผ่านมา รัฐบาลได้มีการจัดท�าแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙ เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบแนวทางการจัดท�าแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน และเป็นกรอบแนวทางในการ
ติดตามประเมินผลการน�าแผนไปสู่การปฏิบัติของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตาม
วัตถุประสงค์ โดยแผน ฯ ดังกล่าวประกอบด้วย ๔ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (๑) การสร้างภูมิคุ้มกันในการด�ารงชีวิตของเด็กและเยาวชน สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเฉพาะ
(๒) การคุ้มครองและพัฒนาเด็กที่ต้องได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษและเด็กพิเศษ (๓) ส่งเสริมและสนับสนุนความเข้มแข็ง
ของภาคีเครือข่ายให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กและเยาวชน และ (๔) การพัฒนาระบบบริหารจัดการในการคุ้มครองและ
พัฒนาเด็กและเยาวชน นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้มีนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ที่เป็นการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของเด็ก
ตลอดจนการแก้ไขและตรากฎหมายส�าคัญ ๆ หลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๕๐ พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับ
ที่ ๒๔) เรื่องความผิดเกี่ยวกับเพศ เป็นต้น
บทที่
๖
๖.๑.๓ สถานการณ์ปี ๒๕๕๙
๑) นโยบายหรือมาตรการที่รัฐด�าเนินการ
๑.๑) โครงการอุดหนุนเด็กแรกเกิด
นับตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ ที่รัฐได้ด�าเนินโครงการอุดหนุนเด็กแรกเกิด ๔๐๐ บาท/เดือนเป็นเวลา ๑๒ เดือน
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการจัดสวัสดิการพื้นฐาน เพื่อสร้างระบบการคุ้มครองทางสังคม และเป็นหลักประกันสิทธิ
ขั้นพื้นฐานให้เด็กแรกเกิดได้รับการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพ รวมทั้งเป็นมาตรการจูงใจให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก น�าเด็กเข้ารับ
บริการทางสาธารณสุขที่มีคุณภาพอย่างเป็นระบบ ในปี ๒๕๕๙ ได้เพิ่มเงินอุดหนุนจากเดิม ๔๐๐ บาท เป็น ๖๐๐ บาท/เดือน
และขยายเวลาการให้เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ ๓ ปี เพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในเรื่องของอาหาร ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโต
และพัฒนาสมองของเด็กในช่วงอายุดังกล่าว โดยข้อมูล ณ วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ มีจ�านวนผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ
จ�านวน ๒๑๑,๑๒๖ คน แยกเป็นผู้ที่ได้รับสิทธิ์ ๑๗๑,๘๓๔ คน และผู้ที่อยู่ระหว่างการพิจารณา ๓๙,๒๙๒ คน
๓๖๔ จาก สถานการณ์เด็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้: ๑๑ ปี ของเด็กและเยาวชนในวังวนแห่งความรุนแรง, ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้, สืบค้นจาก
http://www.deepsouthwatch.org/node/6656
๓๖๕ จาก ศวชต. เปิดข้อมูลเด็กก�าพร้าจากไฟใต้กว่า ๙ พัน พบเงินเยียวยาถึงเด็กน้อย ต้องดูแลด้านจิตใจ, โดย โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้, http:// deepsouthwatch.org/node/8414
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 193 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙