Page 192 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 192

บางแห่งไม่รับเด็กข้ามชาติเข้าเรียน เนื่องจากปัญหาด้านเอกสารหลักฐาน รวมถึงทัศนคติของผู้ปกครองที่ไม่สนับสนุนให้เด็กเข้าเรียน
            เพราะสาเหตุในเรื่องของค่าใช้จ่าย และความไม่มั่นคงทางการงานของผู้ปกครองที่อาจจะต้องย้ายไปท�างานยังสถานที่ต่าง ๆ

            อยู่บ่อยครั้ง รวมถึงบางครอบครัวมีแผนที่จะเดินทางกลับประเทศต้นทางในระยะเวลาอันใกล้


                                                                        ด้านสุขภาพ คณะกรรมการฯ ได้แสดงความห่วง
                                                               กังวลต่อประเทศไทยในประเด็นภาวะโภชนาการ การขาด
                                                               สารไอโอดีนในเด็ก อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะ

                                                               หกเดือนแรก  และการไม่มีกฎหมายก�ากับการโฆษณา
                                                               ผลิตภัณฑ์ทดแทนนมแม่ จากข้อมูลส�านักงานสถิติแห่งชาติ
                                                               ระบุว่าเด็กอายุ ๐ - ๕ ปี ร้อยละ ๘๔.๗๘ มีน�้าหนักตามเกณฑ์

                                                               ร้อยละ ๕.๓๑ มีน�้าหนักน้อยกว่าเกณฑ์ และร้อยละ ๐.๕๖
                                                               มีน�้าหนักมากกว่าเกณฑ์  เด็กอายุ ๖ - ๑๘ ปี ร้อยละ ๗๖.๔๗   สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเฉพาะ
                                                                                  ๓๕๖
                                                               มีน�้าหนักตามเกณฑ์ ร้อยละ ๕.๖๑ มีน�้าหนักน้อยกว่าเกณฑ์
            และร้อยละ ๖.๙๔ มีน�้าหนักมากกว่าเกณฑ์  มีอัตราการได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคครบตามตารางสร้างเสริม
                                                   ๓๕๗
            ภูมิคุ้มกันโรคของเด็กแรกเกิดถึง ๑๒ ปี ร้อยละ ๙๙.๙๑ โดยพื้นที่ที่พบว่าเด็กไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคครบตามตารางสร้างเสริม

            ภูมิคุ้มกันโรคมากที่สุด คือ ภาคใต้ จังหวัดปัตตานี นราธิวาส และยะลา  ส�าหรับอัตราเด็กแรกเกิดที่ได้ทานนมแม่อย่างเดียว
                                                                     ๓๕๘
            อย่างน้อย ๖ เดือนติดต่อกันนั้น แม้ว่าข้อมูลจากรายงานคุณภาพชีวิตคนไทย ปี ๒๕๕๙ จะระบุว่ามีเด็กแรกเกิดได้ทานนมแม่
                                                                                                       ๓๕๙
            อย่างเดียวอย่างน้อย ๖ เดือนติดต่อกันร้อยละ ๙๑.๗๙ แต่ข้อมูลของยูนิเซฟประเทศไทยกลับระบุว่ามีเด็กเพียงร้อยละ ๑๒  ที่ได้ทาน
            นมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย ๖ เดือนติดต่อกัน                                                              บทที่
                                                                                                                    ๖

                     ด้านการปกป้องคุ้มครองเด็กจากการแสวงหาประโยชน์ทางเพศและการคุ้มครองเด็กจากความรุนแรงทุกรูปแบบ
            คณะกรรมการฯ ได้เรียกร้องให้ประเทศไทยด�าเนินการตามข้อคิดเห็นทั่วไปของคณะกรรมการฯ ที่ ๑๓ เกี่ยวกับสิทธิที่ได้รับ
            การคุ้มครองจากความรุนแรงทุกรูปแบบ โดยมีข้อเสนอแนะต่อประเทศไทย เช่น การสร้างความตระหนักของประชาชน และ

            เสริมสร้างกลไกการตรวจสอบ ป้องกัน และประกันการคุ้มครองเด็กที่ตกเป็นเหยื่อทุกคน การใช้มาตรการที่จ�าเป็นเพื่อลด
            ระยะเวลาในการสอบสวนและด�าเนินการในคดีอาญาเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศของเด็ก และให้การป้องกันที่เหมาะสมกับ
            เด็กที่ตกเป็นเหยื่อจากผู้กระท�าผิด การพัฒนายุทธศาสตร์ระดับชาติในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในทุกรูปแบบ

            และการมีกฎหมายที่ชัดเจนในการห้ามกระท�าความรุนแรงต่อเด็กในทุกรูปแบบ เป็นต้น ทั้งนี้ ในช่วงปี ๒๕๕๔ - ๒๕๕๘
                                                                                                      ๓๖๐
            มีสถิติเด็กที่ได้รับการกระท�าความรุนแรงจ�านวน ๕๗,๕๖๘ คน โดยเป็นการกระท�าความรุนแรงทางเพศมากที่สุด  รองลงมา
            คือ การกระท�ารุนแรงต่อร่างกาย การกักขัง บังคับ ทุบตี โดยผู้ที่กระท�าความรุนแรงส่วนใหญ่เป็นบุคคลใกล้ชิดที่เด็กรู้จักและ
            ไว้วางใจ เช่น บุคคลในครอบครัว เพื่อน แฟน ครู/อาจารย์ เป็นต้น  และมีแนวโน้มของพัฒนาการความซับซ้อนในการละเมิด
                                                                ๓๖๑
            ทางเพศต่อเด็ก รวมถึงการน�าเด็กเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องทางเพศ สื่อลามก และอนาจารเพิ่มมากขึ้น



                     ด้านการจดทะเบียนเกิดของเด็กที่อยู่ในประเทศไทย คณะกรรมการฯ มีข้อกังวลเกี่ยวกับจ�านวนของเด็กที่อาศัยอยู่
            ในภาวะยากจน เด็กชนกลุ่มน้อย และบุตรแรงงานต่างด้าวที่ยังไม่ได้จดทะเบียนการเกิด รวมถึงค่าปรับในกรณีการจดทะเบียน

                     ๓๕๖  จาก รายงานข้อมูลภาวะโภชนาการของประชากรอายุ ๐-๕ ปี จ�าแนกตามพื้นที่ ปี ๒๕๕๖-๒๕๕๗ กระทรวงสาธารณสุข, โดย กระทรวงการพัฒนาความมั่นคงของ
            มนุษย์, สืบค้นจาก https://www.m-society.go.th/ewt_news.php?nid=14107
                     ๓๕๗  จาก รายงานข้อมูลภาวะโภชนาการของประชากรอายุ ๖-๑๘ ปี จ�าแนกตามพื้นที่ ปี ๒๕๕๖-๒๕๕๗ กระทรวงสาธารณสุข, โดย กระทรวงการพัฒนาความมั่นคงของ
            มนุษย์, สืบค้นจาก https://www.m-society.go.th/ewt_news.php?nid=14108
                     ๓๕๘  จาก ผลวิจัยชี้การเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สามารถช่วยชีวิตเด็กและเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจไทยอย่างมหาศาล, โดย ยูนิเซฟ ประเทศไทย https://www.unicef.
            org/thailand/tha/media_25350.htm
                     ๓๕๙  จาก รายงานคุณภาพชีวิตของคนไทย ปี ๒๕๕๙ (หน้า ๘๓), โดย คณะกรรมการอ�านวยการงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน, (๒๕๕๙), กรุงเทพฯ: รายงานคุณภาพชีวิตของคนไทย ปี ๒๕๕๙.
                     ๓๖๐  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, หนังสือที่ พม ๐๒๑๐/๕๑๑๘ เรื่อง ขอส่งข้อมูลประกอบการจัดท�ารายงานประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชน
            ในประเทศไทย ประจ�าปี ๒๕๕๘
                     ๓๖๑  จาก สถิติความรุนแรงเด็ก-สตรีพุ่งทุกปี ชี้ค่านิยมชายเป็นใหญ่ เหยื่อไม่กล้าฟ้องเกรงอับอาย, โดย มติชน, สืบค้นจาก http://www.matichon .co.th/news_detail.php?newsid=1447757640


                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  191  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197