Page 193 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 193

การเกิดล่าช้า และมีข้อเสนอแนะให้มีมาตรการเพื่อประกันว่าเด็กที่เกิดในประเทศไทยทุกคนจะได้รับการจดทะเบียนการเกิด
        และสร้างความตระหนักรู้เรื่องการจดทะเบียนการเกิด รวมถึงการยกเลิกค่าปรับกรณีจดทะเบียนการเกิดล่าช้า



                 ด้านการคุ้มครองเด็กเคลื่อนย้ายและเด็กที่เป็นบุตรของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน คณะกรรมการฯ มีข้อกังวลต่อ
        จ�านวนแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยที่มีจ�านวนมาก และมีข้อเสนอแนะให้ด�าเนินการประเมิน ความเสี่ยงต่อการส่งกลับ
        ของแรงงานและบุตร รวมถึงการใช้มาตรการทางกฎหมายและนโยบายที่จ�าเป็นเพื่อปกป้องเด็กในสถานการณ์โยกย้ายถิ่นฐาน
        การแสวงประโยชน์และสภาพการท�างานที่เป็นอันตราย



                                                                   ด้านการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ
                                                          ในเด็ก รวมทั้งการเกิดอุบัติเหตุจมน�้าและอุบัติเหตุทางถนน

                                                          คณะกรรมการฯ มีข้อเสนอแนะให้ประเทศไทยด�าเนินมาตรการที่
                                                          จ�าเป็น เพื่อป้องกันการบาดเจ็บและอุบัติเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
                                                          การเสริมสร้างนโยบายเกี่ยวกับการดูแลเด็กและการสร้าง
                                                          ความตระหนักของครอบครัว โรงเรียน และประชาชนเกี่ยวกับ
                                                          มาตรการความปลอดภัยของเด็ก ข้อมูลของส�านักโรคไม่ติดต่อ

                                                          กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า การจมน�้าเป็น
                                                          สาเหตุของการเสียชีวิตอันดับที่ ๑ ในกลุ่มเด็กอายุต�่ากว่า ๑๕ ปี
        โดย ๑๐ ปีที่ผ่านมา (ค่าเฉลี่ยปี ๒๕๔๙ - ๒๕๕๘) มีเด็กอายุต�่ากว่า ๑๕ ปี เสียชีวิตจากการจมน�้า ๑๐,๙๒๓ คน ในจ�านวนนี้

        เป็นเด็กอายุต�่ากว่า ๕ ปี ร้อยละ ๓๕.๖ เด็กอายุ ๕ - ๙ ปี ร้อยละ ๔๑.๓ และเด็กอายุ ๖ - ๑๕ ปี ร้อยละ ๒๓.๑  นอกจาก
                                                                                                  ๓๖๒
        นี้ ข้อมูลของศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก (Child Safety Promotion and Injury
        Prevention Research Center - CSIP) ระบุว่า เด็กไทยบาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ปีละกว่า ๑๕,๘๐๐ คน เสีย
        ชีวิตมากถึงปีละ ๗๐๐ คน และยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ ๑ ของเด็กไทยในวัย ๑๐ - ๑๔ ปี โดยที่ในทุก ๆ ๑๐ วัน จะ
        มีเด็กไทยอายุ ๑๐ - ๑๔ ปี เสียชีวิตจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ถึง ๑๕ คน และหากเป็นช่วงเวลาเทศกาล ๗ วันอันตราย

        ปีใหม่หรือสงกรานต์จะมีเด็กเสียชีวิตมากถึง ๓๑ คน หรือเกือบ ๒ เท่า และอุบัติเหตุ ๑ ใน ๓ ของเด็กมักเกิดขึ้นในรัศมี
        ๑ กิโลเมตรจากบ้านพัก
                            ๓๖๓


                 ด้านการพัฒนาระบบการเก็บข้อมูลที่ครอบคลุมและสามารถใช้ในการวิเคราะห์ประเมินความก้าวหน้างานสิทธิเด็ก
        คณะกรรมการฯ มีข้อกังวลเกี่ยวกับการขาดประสิทธิภาพของการเก็บรวบรวม ข้อมูลด้านสิทธิเด็ก โดยขอให้ประเทศไทย
        พัฒนาระบบการเก็บข้อมูลที่ครอบคลุม และมีการจ�าแนกข้อมูลตามอายุ เพศ ภูมิล�าเนา เชื้อชาติ และภูมิหลังทางเศรษฐกิจ
        และสังคมของเด็กทุกคน เพื่อให้สามารถใช้ในการวิเคราะห์และประเมินความก้าวหน้าด้านสิทธิเด็ก รวมทั้งใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน
        ในการก�าหนดนโยบายและโครงการในการด�าเนินงานตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก



                 ด้านการดูแลเด็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ คณะกรรมการฯ มีข้อกังวลว่า เด็กยังคงตกเป็นเหยื่อของระเบิดและ
        การโจมตีที่รุนแรงอื่น ๆ โดยกลุ่มติดอาวุธที่ไม่ใช่รัฐ การมีกองทัพอยู่ในบริเวณสถานศึกษา และจ�านวนเด็กที่ได้รับผลกระทบ

        ทางจิตใจทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยมีข้อเสนอแนะให้ประเทศไทยมีมาตรการ เพื่อประกันว่าสถานการณ์ในจังหวัดชายแดน
        ภาคใต้จะไม่ส่งผลกระทบทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อเด็ก และประกันว่าโรงเรียนจะได้รับการคุ้มครองจากการโจมตีโดยกองก�าลัง
        ติดอาวุธที่ไม่ใช่รัฐ รวมถึงมีมาตรการในการเยียวยาจิตใจแก่เด็กที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง ตลอดจนเร่งด�าเนินการจัดท�า
        แผนปฏิบัติการคุ้มครองเด็กและเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ จากเหตุการณ์ความไม่สงบตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ - ๒๕๕๘


                 ๓๖๒  ส�านักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข
                 ๓๖๓  ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก


                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  192  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198