Page 191 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 191
อาทิ การพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของเด็ก การจัดการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพ
และการคุ้มครองเด็กจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม
๖.๑.๓ สถานการณ์ทั่วไป
ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรเด็ก (อายุ ๐–๑๗ ปี) จ�านวน ๑๓,๙๐๔,๒๘๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๑.๐๙ ของ
๓๕๐
ประชากรทั้งหมดในประเทศ โดยจ�านวนนี้ยังไม่รวมเด็กไร้สัญชาติที่กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ และ
เด็กข้ามชาติที่เข้ามาในประเทศไทยผ่านช่องทางต่าง ๆ ซึ่งยังไม่มีการระบุตัวเลขที่เป็นทางการ ข้อมูลจากงานวิจัยเรื่อง
“วิกฤตการณ์ด้านการศึกษาของเด็กข้ามชาติในประเทศไทยจ�าเป็นต้องได้รับการแก้ไขด่วน” ขององค์การพัฒนาเอกชน
ระหว่างประเทศได้ประมาณการว่า มีเด็กข้ามชาติในประเทศไทยจ�านวน ๓๐๐,๐๐๐ – ๔๐๐,๐๐๐ คน โดยสามารถจ�าแนก
๓๕๑
ตามลักษณะของการเดินทางเข้ามาในประเทศผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ (๑) กลุ่มเด็กข้ามชาติที่เข้ามาเพื่อเป็นแรงงาน
(๒) กลุ่มที่ติดตามพ่อแม่ซึ่งเป็นแรงงานข้ามชาติ (๓) กลุ่มเด็กข้ามชาติที่เกิดขณะที่พ่อแม่เข้ามาเป็นแรงงาน และ (๔) กลุ่มที่
เดินทางเข้ามาโดยผ่านขบวนการค้ามนุษย์
คณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติได้มีข้อสังเกตต่อรายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กของไทย
ซึ่งรับรองในการประชุมครั้งที่ ๑๖๙๗ เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ โดยแสดงความเป็นห่วงกังวลและขอให้ประเทศไทย
ด�าเนินการอย่างต่อเนื่องในด้านต่าง ๆ เช่น (๑) ด้านการศึกษา อาทิ การเข้าเรียนในระบบการศึกษา การลดการออกจาก
โรงเรียนกลางคัน (๒) ด้านสุขภาพ ได้แก่ การให้การดูแลมารดาที่ตั้งครรภ์ การขาดสารอาหาร การเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วย
นมแม่อย่างเดียว (๓) ด้านการปกป้องคุ้มครองเด็กจากการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ และการคุ้มครองเด็กจากความรุนแรง
ทุกรูปแบบ (๔) ด้านการจดทะเบียนเกิดของเด็กที่อยู่ในประเทศไทย (๕) ด้านการคุ้มครองเด็กที่เป็นบุตรของแรงงานโยกย้าย
ถิ่นฐาน (๖) ด้านการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บในเด็ก รวมทั้งการเกิดอุบัติเหตุจมน�้าและอุบัติเหตุทางถนน
(๗) ด้านการพัฒนาระบบการเก็บข้อมูลที่ครอบคลุม และสามารถใช้ในการวิเคราะห์ประเมินความก้าวหน้าด้านสิทธิเด็ก และ
(๘) ด้านการดูแลเด็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น
ด้านการศึกษา คณะกรรมการฯ ได้แสดงความห่วงกังวลต่อประเทศไทยในประเด็นอัตราการเข้าเรียนของเด็ก
อายุ ๓ - ๕ ปี อัตราการออกจากโรงเรียนกลางคัน และคุณภาพของการศึกษา โดยในภาพรวมของประเทศเด็กไทยร้อยละ ๙๕.๖
๓๕๒
สามารถเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีจ�านวนนักเรียนต่อประชากรอายุ ๓ - ๑๗ ปี ร้อยละ ๕๗.๐๓ โดยจ�าแนกเป็นนักเรียน
ระดับก่อนประถมศึกษาต่อประชากร อายุ ๓-๕ ปี ร้อยละ ๓๘.๖๓ นักเรียนระดับประถมศึกษาต่อประชากรอายุ ๖ - ๑๔ ปี
ร้อยละ ๖๗.๔๑ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นต่อประชากรอายุ ๑๒ - ๑๔ ปี ร้อยละ ๗๓.๑๖ และนักเรียนระดับ
๓๕๓
มัธยมศึกษาตอนปลายต่อประชากรอายุ ๑๕ - ๑๗ ปี ร้อยละ ๓๙.๕๖ เด็กที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ได้ศึกษาต่อร้อยละ
๓๕๔
๙๑.๓๑ โดยศึกษาต่อในสายสามัญร้อยละ ๕๘.๖๖ สายอาชีพร้อยละ ๓๒.๖๕ อัตราการออกจากโรงเรียนกลางคันของ
เด็กไทยอยู่ที่ร้อยละ ๐.๑๔ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมัธยมศึกษาทั้งตอนต้นและปลาย มีสาเหตุหลักมาจากการอพยพตามผู้ปกครอง
ปัญหาในการปรับตัวและปัญหาครอบครัว อนึ่ง จากผลการส�ารวจขององค์กร Save the Children พบว่า ร้อยละ ๔๖
๓๕๕
ของเด็กข้ามชาติไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา และอัตราของเด็กข้ามชาติที่ศึกษาในระดับมัธยมศึกษามีจ�านวนน้อย โดยที่โรงเรียน
๓๕๐ จาก สถิติประชากรและบ้าน–จ�านวนประชากรแยกรายอายุ, โดย กรมการปกครอง, สืบค้นจาก http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php
๓๕๑ จาก องค์กรพัฒนาเอกชนชี้: วิกฤตการณ์ด้านการศึกษาของเด็กข้ามชาติในประเทศไทยจ�าเป็นต้องได้รับการแก้ไขด่วน, โดย องค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the
Children), สืบค้นจาก https://thailand.savethechildren.net
๓๕๒ Global Competitiveness Report 2014-2015: World Economic Forum
๓๕๓ จาก จ�านวนและร้อยละของนักเรียนต่อประชากร ปีการศึกษา ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙ ส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, โดย กระทรวงการพัฒนาความ
มั่นคงของมนุษย์, สืบค้นจาก https://www.m-society.go.th/ewt_news.php?nid=18127
๓๕๔ จาก อัตราการเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๔๗-๒๕๕๘ ส�านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, โดย กระทรวง
การพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์, สืบค้นจาก https://www.m-society.go.th/ewt_news.php?nid=17892
๓๕๕ จาก จ�านวนและอัตราการออกกลางคันนักเรียนสังกัดส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา ๒๕๔๕-๒๕๕๗, โดยส�านักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สืบค้นจาก http://social.nesdb.go.th
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 190 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙