Page 189 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 189
๓) การเข้าถึงบริการสาธารณสุขของคนพิการมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก โดยรัฐได้ตระหนักถึงปัญหาความ
เหลื่อมล�้าของการเข้าถึงสิทธิประโยชน์และการบริการสาธารณสุขของคนพิการ จึงมีค�าสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ ๕๘/๒๕๕๙ เรื่องการรับบริการสาธารณสุขของคนพิการ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกฎหมาย
ว่าด้วยการประกันสังคม เพื่อให้คนพิการที่เข้าสู่ระบบการจ้างงานสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขโดยผ่านระบบประกันสุขภาพ
แห่งชาติ ซึ่งให้สิทธิประโยชน์ต่อคนพิการมากกว่าระบบประกันสังคม โดยสวัสดิการด้านสาธารณสุขที่รัฐจัดให้เป็นสิ่งส�าคัญ
และจ�าเป็นในการด�าเนินชีวิตของคนพิการอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอุปกรณ์ส�าหรับช่วยเหลือคนพิการ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า ระบบ
ประกันสุขภาพทั้งสามระบบให้สิทธิประโยชน์ต่อคนพิการแตกต่างกัน จากค�าสั่งดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า รัฐให้ความส�าคัญต่อ
สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น และเป็นการดีอย่างยิ่งหากรัฐจะด�าเนินการพัฒนาสิทธิประโยชน์ด้านสาธารณสุขให้คนพิการทุกคนได้
เข้าถึงและอยู่บนมาตรฐานเดียวกันอย่างถาวรเพื่อให้เกิดความเสมอภาคส�าหรับคนพิการ
๔) การเข้าถึงสิ่งอ�านวยความสะดวกอันเป็น
สาธารณะ รัฐได้ด�าเนินการเพื่อให้คนพิการได้เข้าถึงและ
จัดสิ่งอ�านวยความสะดวกให้คนพิการและทุกคนในสังคม
ทั้งต้นทาง เช่น ที่พักอาศัย กลางทาง อาทิ ระบบขนส่ง และ
ปลายทาง เช่น อาคารและพื้นที่สาธารณะ ซึ่งรัฐด�าเนินการ
อย่างต่อเนื่องและมีความก้าวหน้า แต่อย่างไรก็ตาม
การขับเคลื่อนในเรื่องดังกล่าวยังคงไม่ครอบคลุมทั่วถึงโดย
เฉพาะในพื้นที่ชนบทซึ่งมีคนพิการอาศัยอยู่จ�านวนมาก
รัฐควรเร่งด�าเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วเพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อม
ทางกายภาพ การคมนาคม รวมถึงเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งอาจบูรณาการความร่วมกับหน่วยงาน
ท้องถิ่น หรือชุมชนเพื่อจัดสิ่งอ�านวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะให้เกิดขึ้นครอบคลุมทุกพื้นที่อย่างรวดเร็ว
๖.๓ เด็ก
๖.๓.๑ หลักการสิทธิมนุษยชน
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the
Rights of the Child: CRC) ได้ประกันสิทธิของเด็ก โดย
เน้นหลักพื้นฐาน ๔ ประการ ได้แก่ (๑) การห้ามเลือกปฎิบัติ
ต่อเด็กและการให้ความส�าคัญแก่เด็กทุกคนอย่างเท่าเทียม
โดยไม่ค�านึงถึงความแตกต่างของเด็กในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศ
ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง ชาติพันธุ์ สังคม
ทรัพย์สิน ความทุพพลภาพ การเกิด หรือสถานะอื่น ๆ ของ
เด็ก หรือบิดามารดา หรือผู้ปกครองทางกฎหมาย ทั้งนี้ เพื่อให้
เด็กมีโอกาสที่เท่าเทียมกัน (๒) การกระท�าหรือการด�าเนินการ
ทั้งหลายต้องค�านึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นอันดับแรก (๓) สิทธิในการมีชีวิต การอยู่รอด และการพัฒนาทางด้านจิตใจ
อารมณ์ สังคม และ (๔) สิทธิในการแสดงความคิดเห็นของเด็ก และการให้ความส�าคัญกับความคิดของเด็ก
ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กโดยการภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๓๕ และมีผล
ใช้บังคับกับประเทศไทยเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๓๕ โดยได้ตั้งข้อสงวนเมื่อเข้าเป็นภาคีไว้จ�านวน ๓ ข้อ ได้แก่ ข้อ ๗ เรื่อง
สถานะบุคคล ข้อ ๒๒ เรื่องสถานะของเด็กผู้ลี้ภัย และข้อ ๒๙ การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาเด็กให้เติบโตเต็มตามศักยภาพ
ซึ่งต่อมา ประเทศไทยได้ถอนข้อสงวนของอนุสัญญา ๒ ข้อ คือ ข้อ ๒๙ เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๔๐ และข้อ ๗ เมื่อวันที่ ๑๓
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 188 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙