Page 190 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 190

ธันวาคม ๒๕๕๓ และอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการถอนข้อสงวน ข้อ ๒๒ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้เข้าเป็น
            ภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กทั้ง ๓ ฉบับ กล่าวคือ

                     - พิธีสารเลือกรับฯ เรื่อง การขายเด็ก การค้าประเวณี และสื่อลามกเกี่ยวกับเด็ก (Optional Protocol to the
            Convention on the Rights of the Child on the sale of children, child prostitution and child pornography:
            OP-SC) ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๔๙ และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์
            ๒๕๔๙ โดยพิธีสารฯ มุ่งประสงค์ในการขยายมาตรการที่รัฐภาคีควรด�าเนินการ เพื่อที่จะประกันการคุ้มครองเด็กจากการค้าเด็ก
            การค้าประเวณีเด็ก และสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก ตลอดจนให้การคุ้มครองเด็กจากการแสวงประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และจากการ

            ท�างานใดที่น่าจะเป็นอันตราย หรือที่ขัดขวางรบกวนต่อการศึกษาของเด็ก หรือที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือต่อพัฒนาการ
            ทางร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ ศีลธรรม หรือสังคมของเด็ก
                     - พิธีสารเลือกรับฯ เรื่อง ความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันด้วยอาวุธ (Optional Protocol to the

            Convention on the Rights of the Child on the involvement of children in armed conflict: OP-AC) ประเทศไทย
            เข้าเป็นภาคี เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๙ โดยพิธีสารฯ มุ่งประสงค์ให้รัฐ สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเฉพาะ
            จะต้องมีมาตรการป้องกัน ติดตาม คุ้มครองไม่ให้เด็กเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ความขัดแย้งหรือสถานการณ์การสู้รบ ตลอดจน
            การปรับปรุงสถานการณ์ของเด็กให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยปราศจากการแบ่งแยก รวมถึงพัฒนาการศึกษาของเด็กภายใต้
            สันติภาพและความมั่นคง ทั้งนี้ ได้มีค�าแถลงตีความข้อ ๕ วรรค ๒ เกี่ยวกับหน้าที่การเป็นทหารตามกฎหมายของชายไทย

            เมื่ออายุย่าง ๑๘ ปี ที่มีหน้าต้องแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน ซึ่งอาจถูกเรียกให้ปฏิบัติราชการทหารในกองทัพได้
            ยามประเทศมีสงครามหรือประสบภาวะวิกฤต โดยการคัดเลือกบุคคลเข้าสู่โรงเรียนทหารเหล่าต่าง ๆ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ
            ความสมัครใจ การผ่านการสอบคัดเลือก และต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งชาย

            และหญิง สามารถเข้ารับการฝึกวิชาทหารได้โดยต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง และการจัดตั้งกองก�าลังอื่นใดที่ไม่ได้  บทที่
                                                                                                                    ๖
            จัดตั้งขึ้นโดยรัฐเป็นข้อห้ามตามกฎหมาย โดยไม่มีข้อยกเว้นในเรื่องอายุของผู้เข้าร่วมแต่อย่างใด
                     - พิธีสารเลือกรับฯ เรื่องกระบวนการติดต่อร้องเรียน (Optional Protocol to the Convention of the Rights
            of the Child on a Communication Procedure: OP3) ซึ่งเป็นพิธีสารฉบับล่าสุดที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีโดยการ
            ภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๕ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๕๗ โดยพิธีสารฯ ดังกล่าวอนุญาตให้

            เด็ก กลุ่มเด็ก หรือตัวแทนของเด็กสามารถส่งเรื่องร้องเรียนไปยังคณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ ณ กรุงเจนีวา
            ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้โดยตรง ในกรณีที่ถูกละเมิดสิทธิอย่างร้ายแรงและเป็นระบบ และไม่สามารถใช้กระบวนการ
            ที่มีอยู่ในประเทศในการได้รับความยุติธรรม



                     รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
            ๒๕๕๐ และ (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ได้ให้ความ
            คุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความ
            เสมอภาคของบุคคล โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

            พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้บัญญัติหลักการส�าคัญ ๆ หลายประการ
            ที่เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เช่น การประกันสิทธิเด็ก
            ในด้านการศึกษา การอยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย

            จิตใจ และสติปัญญา การคุ้มครองเด็กจากการใช้ความรุนแรง
            และการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม การคุ้มครองและพัฒนาเด็ก
                                                                                                      ๓๔๙
            และเยาวชน เป็นต้น นอกจากนี้ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๙ (ฉบับลงประชามติ)  ได้บัญญัติ
            หลักการที่สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ หลายประการ



                     ๓๔๙  ปัจจุบันเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐


                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  189  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195