Page 188 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 188
๖.๑.๔ การประเมินสถานการณ์
สถานการณ์การคุ้มครอง ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในปี ๒๕๕๙ นั้น ประเทศไทยในฐานะรัฐภาคี
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการมีการด�าเนินการที่มีความก้าวหน้าในมิติของรัฐภาคีอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน
หลายประการ อาทิ การยื่นภาคยานุวัติสารต่อสหประชาชาติเพื่อเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิ
ของคนพิการ (Optional Protocol to the Convention on the Rights of Persons with Disabilities : OP- CRPD) ซึ่งเป็นการ
ประกันสิทธิ เสรีภาพให้แก่คนพิการ กรณีถูกละเมิดสิทธิที่ได้รับการรับรองในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการและกระบวนการ
เยียวยาภายในประเทศไม่บรรลุผลได้ การเสนอรายงานประเทศไทยตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (CRPD) รอบที่ ๑
(Initial Report) รวมถึงการรับข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของคนพิการจากการเสนอรายงานการทบทวนสถานการณ์
สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยภายใต้กระบวนการ Universal Periodic Review (UPR) รอบที่ ๒ ต่อที่ประชุมคณะท�างาน UPR เป็นต้น
ซึ่งเห็นได้ว่าการด�าเนินการขับเคลื่อนด้านกฎหมาย นโยบาย รวมถึงพันธกรณีระหว่างประเทศนั้น รัฐมีการด�าเนินการที่มี
ความก้าวหน้าและสะท้อนให้เห็นว่ารัฐได้ให้ความส�าคัญในการคุ้มครอง ส่งเสริมและฟื้นฟูพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
แต่อย่างไรก็ตาม การแปรนโยบายและแนวทางไปสู่การปฏิบัติโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรด�าเนินการร่วมกันอย่างบูรณาการ สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเฉพาะ
และให้เกิดผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เพื่อให้คนพิการที่อาศัยอยู่ทุกพื้นที่ทั่วประเทศสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จาก
สวัสดิการและความช่วยเหลือจากรัฐได้
๑) การศึกษาของคนพิการ เป็นปัจจัยส�าคัญในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้คนพิการเข้าถึงโอกาสและมี
คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยปัจจุบันพบว่าคนพิการส่วนใหญ่มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา ซึ่งเกิดจากปัญหาอุปสรรค
หลายประการท�าให้คนพิการไม่สามารถเข้าสู่ระบบการศึกษาและมีการศึกษาในระดับที่สูงกว่าประถมศึกษาได้ อาทิ ปัญหา
อุปสรรคในการศึกษาแบบเรียนรวม ซึ่งยังมีบางโรงเรียนไม่มีความพร้อมทั้งในเรื่องอุปกรณ์เครื่องช่วยการศึกษาตามลักษณะ
ความพิการ ปัญหาความรู้ความเข้าใจต่อคนพิการของบุคลากรทางการศึกษา แม้ว่าแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับที่ ๓ (พ.ศ. บทที่
๖
๒๕๕๗ - ๒๕๖๑) ได้ให้ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อด�าเนินการในด้านการศึกษาของคนพิการไว้
หลายประการ แต่ระบบสวัสดิการส�าหรับคนพิการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การศึกษายังคงแยกส่วนและเน้นการให้การศึกษา
๓๔๖
หรือฝึกทักษะในเรื่องเฉพาะส�าหรับคนพิการ ซึ่งยังไม่สามารถตอบสนองสิทธิขั้นพื้นฐานของคนพิการได้ อีกทั้งคนพิการยังไม่
สามารถเข้าถึงการศึกษาในระบบ โดยมีสาเหตุบางส่วนจากการจัดสรรเครื่องอ�านวยความสะดวกส�าหรับคนพิการที่ไม่เพียงพอ
และขาดการแนะแนวทางการประกอบอาชีพที่เหมาะสมหลังส�าเร็จการศึกษา ส่งผลให้การศึกษาในระบบของคนพิการเป็นไปได้ยาก
และหลายคนเกิดความท้อแท้และไม่ประสงค์ที่จะเข้าศึกษาในที่สุด
๒) การจ้างงานคนพิการ รัฐได้ส่งเสริมและขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการจ้างงานคนพิการในทุกภาคส่วน อย่างไรก็ตาม
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงเลือกช่องทางส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามอัตราที่กฎหมาย
ก�าหนด ซึ่งท�าให้คนพิการไม่มีโอกาสใช้ทักษะ ความรู้ ความสามารถของตนในตลาดแรงงาน และการส่งเงินเข้ากองทุนฯ ของ
๓๔๗
ผู้ประกอบการนั้น ท�าให้คนพิการไม่ได้รับสิทธิประโยชน์เท่ากับการจ้างงานคนพิการโดยตรง รัฐอาจส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ
เลือกช่องทางการสร้างงานให้แก่คนพิการ เช่น ให้สัมปทานหรือสถานที่เพื่อให้คนพิการจ�าหน่ายสินค้า หรือให้ความช่วยเหลือ
๓๔๘
อื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ เป็นต้น ซึ่งจะท�าให้คนพิการได้รับประโยชน์โดยตรง และแนวทางดังกล่าวจะท�าให้
คนพิการในพื้นที่ห่างไกลมีงานท�าในชุมชนของตนหรือพื้นที่ใกล้เคียงซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งส�าหรับคนพิการ นอกจากนี้
รัฐควรต้องเร่งสร้างความตระหนักรู้ต่อผู้ประกอบการเพื่อขจัดทัศนคติทางลบที่มีต่อคนพิการให้เห็นถึงศักยภาพความสามารถ
ของคนพิการและให้โอกาสคนพิการทั้งชายและหญิงได้มีงานท�าอย่างเท่าเทียม
๓๔๖ ได้แก่ (๑) เน้นการบังคับใช้กฎหมายหรือการด�าเนินการในการจัดหาเครื่องอ�านวยความสะดวกแก่คนพิการในสถานที่ราชการและสถานที่สาธารณะ และก�าหนดให้เป็นตัวชี้วัด
ประสิทธิภาพในการด�าเนินงานของสถานที่ราชการหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบกรณีสถานที่สาธารณะ (๒) เร่งพัฒนาการเข้าถึงการศึกษาในระบบของคนพิการ เช่น การจัด
เครื่องอ�านวยความสะดวกในการเดินทางภายในโรงเรียน มหาวิทยาลัยหรือหอพัก พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่คนพิการหลายกลุ่มสามารถเข้าถึงได้ ก�าหนดสัดส่วนของนักศึกษา
พิการในมหาวิทยาลัย ให้ทุนการศึกษา การรับรองการจ้างงานทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อสร้างแรงจูงใจในการเข้าศึกษาในระบบของคนพิการ (๓) สร้างระบบเชื่อมโยงการรักษา ดูแล
ป้องกัน และแก้ไขปัญหาของคนพิการ ทั้งระบบบริการสุขภาพ ระบบการจัดสวัสดิการ ระบบการศึกษา ในระดับครอบครัวและชุมชน
๓๔๗ กฎกระทรวง ก�าหนดจ�านวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าท�างาน และจ�านวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ
จะต้องน�าส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๔
๓๔๘ ตามมาตรา ๓๕ พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๖)
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 187 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙