Page 186 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 186
แนวทางเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย คือ (๑) แนวทางการจัดการเรียนรวม โดยส่งเสริมศักยภาพให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานทุกแห่ง
มีการจัดการเรียนรวมอย่างเป็นระบบ มีการพัฒนาหลักสูตรส�าหรับเด็กพิเศษแต่ละประเภท จัดท�าแผนพัฒนาการจัดการศึกษา
ตามกลุ่มประเภทความพิการ รวมถึงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ตลอดจนการท�างานร่วมกับผู้ปกครอง เป็นต้น (๒) แนวทาง
การจัดระบบสนับสนุน โดยส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาส�าหรับ
คนพิการ โดยได้รับการจัดสรรจ�านวน ๑๕๐ ล้านบาท/ปี (๓) แนวทางการจัดให้บริการ เพื่อสร้างโอกาสให้คนพิการได้รับ
การพัฒนาอย่างเต็มที่ เช่น การจัดท�าระบบข้อมูลสารสนเทศที่สามารถเชื่อมโยงและใช้ร่วมกันกับหน่วยงานต่าง ๆ เป็นต้น (๔)
แนวทางการจัดท�าค่าใช้จ่ายรายหัวที่ติดตามตัวเด็ก โดยที่ผ่านมา ส�านักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ได้จัดสรรงบประมาณรายหัว
แก่นักเรียนศูนย์การศึกษาพิเศษอย่างต่อเนื่อง และมีแนวทางในการพิจารณางบประมาณรายหัวเพิ่มเติม (๕) แนวทางการผลิต
และพัฒนาครูที่สอดคล้องกับสถานการณ์ของผู้เรียนในปัจจุบัน โดยมีการปรับปรุงหลักสูตรการอบรมครูผู้สอนและดูแลเด็กพิเศษ
ให้เข้มข้นขึ้น เพื่อให้สามารถพัฒนาเด็กได้อย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ตาม แม้รัฐจะมีแผนงานแนวทางในการขับเคลื่อน
การศึกษาส�าหรับคนพิการเพื่อให้คนพิการได้รับการศึกษาตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการ แต่จากข้อเท็จจริงพบว่า คนพิการ
ส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา และมีคนพิการจ�านวนมากที่อายุถึงเกณฑ์แต่ไม่ได้รับการศึกษา สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเฉพาะ
คณะกรรมการประจ�าอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการมีข้อเสนอแนะต่อการศึกษาของคนพิการ โดยรัฐควรจัดสรรทรัพยากร
อย่างเพียงพอ และมีมาตรการสนับสนุนเป็นรายบุคคลให้กับนักเรียนที่มีความบกพร่องและให้ความส�าคัญในการฝึกอบรม
ครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนให้ความส�าคัญในการเชื่อมโยงการศึกษาของคนพิการกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
(Sustainable Development Goals : SDGs) เป้าหมายที่ ๔.๕ (ขจัดความเหลื่อมล�้าทางเพศในการศึกษา และสร้างหลักประกัน
ว่ากลุ่มที่เปราะบางซึ่งรวมถึงผู้พิการ ชนพื้นเมือง และเด็กเข้าถึงการศึกษาและการฝึกอาชีพทุกระดับอย่างเท่าเทียม
ภายในปี ๒๕๗๓) และ ๔ (a) (สร้างและยกระดับอุปกรณ์และเครื่องมือทางการศึกษาที่อ่อนไหวต่อเด็ก ผู้พิการ และเพศสภาวะ
และให้มีสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่ปลอดภัย ปราศจากความรุนแรง ครอบคลุมและมีประสิทธิผลส�าหรับทุกคน) บทที่
๖
การจ้างงานคนพิการ โดยในปี ๒๕๕๙ กระทรวงแรงงาน
และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมทั้งภาคี
เครือข่ายคนพิการได้ขับเคลื่อนการจ้างงานคนพิการโดยร่วมประกาศ
เจตนารมณ์สนับสนุนให้เกิดการจ้างงานคนพิการในโครงการ “สานพลังสู่
มิติใหม่ สร้างงาน สร้างอาชีพคนพิการ ๑๐,๐๐๐ อัตรา” เพื่อให้คนพิการ
มีโอกาสใช้ศักยภาพของตนในการสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว
แต่อย่างไรก็ตาม ในปี ๒๕๕๙ ยังคงพบว่าผู้ประกอบส่วนใหญ่ยังคงเลือก
ช่องทางการจ่ายเงินชดเชยเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคน
พิการมากกว่าการจ้างคนพิการเข้าท�างาน
คณะกรรมการประจ�าอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ มีข้อเสนอแนะให้รัฐเพิ่มโอกาสการจ้างงานในตลาด
แรงงานโดยเฉพาะสตรีพิการ และรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ให้แก่สังคมและนายจ้างเพื่อขจัดอคติที่มีต่อคนพิการ รวมถึงจัดการ
ฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะเพิ่มโอกาสให้คนพิการในการประกอบอาชีพ อีกทั้งควรให้ความส�าคัญและเชื่อมโยงกับเป้าหมาย
การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) เป้าหมายที่ ๘.๕ (บรรลุการจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ
และการมีงานที่สมควรส�าหรับหญิงและชายทุกคน รวมถึงเยาวชนและผู้มีภาวะทุพพลภาพ และให้มีการจ่ายที่เท่าเทียม
ส�าหรับงานที่มีคุณค่าเท่าเทียมกัน)
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 185 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙