Page 185 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 185
คณะผู้แทนไทยได้ตอบข้อซักถามและแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติด้านต่าง ๆ กับคณะกรรมการฯ เช่น การบังคับใช้พระราชบัญญัติ
ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนพิการและองค์กร
คนพิการ การบริหารจัดการกองทุน การเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิทธิคนพิการ การจัดสิ่งอ�านวยความสะดวกส�าหรับ
๓๔๒
คนพิการ การจัดการศึกษาระบบเรียนรวม และการจัดเก็บข้อมูลและสถิติคนพิการโดยแยกประเภทและมีมาตรฐาน เป็นต้น
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีและให้สัตยาบันต่อพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ
(Optional Protocol to the Convention on the Rights of Persons with Disabilities: OP- CRPD) ในการยอมรับ
อ�านาจของคณะกรรมการประจ�าอนุสัญญาฯ ในการพิจารณาเรื่องเรียน ซึ่งมีผลใช้บังคับกับประเทศไทยนับตั้งแต่วันที่ ๒
๓๔๓
ตุลาคม ๒๕๕๙ เป็นต้นไป และเมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙ คณะผู้แทนไทยได้น�าเสนอรายงานการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน
๓๔๔
ในประเทศไทยภายใต้กระบวนการ Universal Periodic Review : UPR รอบที่ ๒ ต่อที่ประชุมคณะท�างาน UPR ซึ่งรายงาน
ดังกล่าว ถือเป็นรายงานภาพรวมสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศในทุกด้าน ทั้งสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
๓๔๕
สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม รวมถึงสิทธิของบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ภายในประเทศ ทั้งนี้ จากกระบวนการเสนอ
รายงานดังกล่าวนั้น ประเทศไทยได้รับข้อเสนอแนะในส่วนสิทธิของคนพิการ เช่น ปัญหาการตีตราและการเลือกปฏิบัติ
ต่อคนพิการในสังคม การขับเคลื่อนส่งเสริมการด�าเนินการตามแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ ๔ การรับรอง
การปฏิรูปกฎหมายที่เกี่ยวกับคนพิการให้ได้รับการสนับสนุนโดยมีระบบ ตลอดจนการน�าไปปฏิบัติและการติดตามตรวจสอบ
ที่มีประสิทธิภาพ การด�าเนินมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อแก้ปัญหาความจ�าเป็นด้านการศึกษาของเด็กพิการ และพัฒนา
ศักยภาพของหน่วยงานเฉพาะที่ดูแลคนพิการ รวมถึงสถาบันการศึกษาและสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังมีมติเห็นชอบในหลักการการเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญามาร์ราเคช ตามที่องค์การ
ทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization : WIPO) ได้ให้การรับรอง เพื่ออ�านวยความสะดวก
ในการเข้าถึงงานที่มีการโฆษณาส�าหรับคนตาบอด คนพิการทางการมองเห็น และคนพิการทางสื่อพิมพ์ (Marrakesh Treaty
to Facilitate Access to Published Works for Persons Who Are Blind, Visually Impaired, or Otherwise Print
Disabled : MVT) เพื่อให้รัฐภาคีสามารถท�าซ�้า แจกจ่ายหรือจ�าหน่าย รวมถึงเผยแพร่งานที่มีโฆษณาที่อยู่ในรูปแบบ ซึ่งทุกคนรวมถึง
คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้
ส�าหรับคนพิการที่ไม่มีสัญชาติไทย รัฐได้ขับเคลื่อนแนวทางส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยด�าเนินการ (ร่าง)
ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การให้ความ
ช่วยเหลือคนพิการที่เหมาะสมซึ่งไม่มีสถานะการทะเบียนราษฎร พ.ศ. …. และสนับสนุนคนที่เชื่อว่าจะมีสัญชาติไทยให้ได้รับ
สัญชาติไทยโดยเร็ว โดยเฉพาะการออกบัตรประจ�าตัวคนพิการให้กับผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎรซึ่งเป็นคนไทย
การศึกษาของคนพิการ กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศนโยบาย “ปี ๒๕๕๙ ปีแห่งความร่วมมือด้านการจัดการศึกษา
ส�าหรับบุคคลที่มีความต้องการจ�าเป็นพิเศษ” โดยมีเป้าหมาย คือ การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มให้เด็กกลุ่มเป้าหมาย
เข้าถึงการศึกษาตั้งแต่แรกเกิดหรือตั้งแต่พบความพิการ การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมเพื่อขยายโอกาสให้ได้รับการศึกษา
ที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมโดยไม่เลือกปฏิบัติ และการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานท�า เพื่อให้เด็กมีทักษะอาชีพสามารถด�ารงชีพ
ได้ด้วยตนเอง รวมถึงส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ทั้งนี้ จากนโยบายดังกล่าวน�าไปสู่การขับเคลื่อน
๓๔๒ จาก การน�าเสนอรายงานประเทศไทยตามอนุสัญญา ว่าด้วยสิทธิคนพิการ (CRPD) ณ นครเจนีวา, ๒๕๕๙, สืบค้นจากhttp://humanrights.mfa.go.th/th/news/120/?sphrase_
id=4459749
๓๔๓ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๙ มีมติให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีและให้สัตยาบันต่อพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ซึ่งมีสาระ
ส�าคัญที่คนพิการหรือองค์กรคนพิการสามารถร้องเรียนหากถูกละเมิดสิทธิตามที่บทบัญญัติในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการให้การรับรองไว้ สามารถเสนอเรื่องไปยังคณะกรรมการ
ว่าด้วยสิทธิคนพิการได้โดยตรง ซึ่งประเทศไทยได้ยื่นภาคยานุวัติสารต่อสหประชาชาติ เพื่อเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Optional Protocol
to the Convention on the Rights of Persons with Disabilities OP- CRPD)
๓๔๔ โดยการเสนอรายงาน UPR รอบที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ได้มีข้อเสนอแนะที่ประเทศไทยได้รับ จ�านวนทั้งหมด ๒๔๙ ข้อ แบ่งเป็นข้อเสนอแนะที่ประเทศไทยรับ
ได้ในทันที จ�านวน ๑๘๑ ข้อ และรับน�ากลับมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่งจ�านวน ๖๘ ข้อ ซึ่งต่อมาภายหลังประเทศไทยได้รับข้อเสนอเพิ่มอีก ๖ ข้อเท่ากับว่าประเทศไทยรับข้อเสนอทั้งสิ้น ๑๘๗ ข้อ
๓๔๕ จาก ภูมิหลังของกระบวนการ UPR, สืบค้นจาก http://humanrights.mfa.go.th/th/upr/background/
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 184 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙