Page 165 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 165

(๔) กิจการโรงงานล�าดับที่ ๘๙: โรงผลิตก๊าซซึ่งมิใช่ก๊าซธรรมชาติ (เช่น โรงงานผลิตก๊าซชีวภาพ)
                      (๕) กิจการโรงงานล�าดับที่ ๑๐๑: โรงงานปรับปรุงคุณภาพของเสียรวม (เช่น โรงบ�าบัดน�้าเสีย เตาเผาขยะ)

                      (๖) กิจการโรงงานล�าดับที่ ๑๐๕: โรงงานคัดแยกและฝังกลบสิ่งปฏิกูล วัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (เช่น หลุมฝังกลบขยะ)
                      (๗) กิจการโรงงานล�าดับที่ ๑๐๖: โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการน�าผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้ว หรือ
        ของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม (โรงงานรีไซเคิล)
                      (๘) กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการก�าจัดมูลฝอย
                     การระงับการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยผังเมืองและกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารดังกล่าว ส่งผลกระทบ

        ท�าให้การประกอบกิจการดังกล่าวไม่ต้องด�าเนินการตามกฎหมายปกติอีกต่อไป และท�าให้ลดทอนหลักประกันในการป้องกัน
        ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชน



                 ๔.๓) การประกาศพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษในปี ๒๕๕๙
                     ๔.๓.๑) ผลกระทบเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก
                             เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ส�านักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ศึกษาความเป็นไปได้
        ในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดนอ�าเภอแม่สอด และเป็นหนึ่งในเมืองเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนตามนโยบาย
        ของรัฐบาลไทย ปัจจุบัน คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) เห็นชอบให้จังหวัดตากเป็นพื้นที่เขต

        พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ระยะที่ ๑ ครอบคลุมพื้นที่ ๑๔ ต�าบล ๓ อ�าเภอ คือ อ�าเภอแม่สอด อ�าเภอแม่ระมาด และอ�าเภอ
        พบพระ คิดเป็นเนื้อที่รวม ๘๘๖,๘๔๗ ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ ๙ ของพื้นที่จังหวัด อย่างไรก็ตาม ในการจัดหาที่ดินเพื่อให้เอกชน
        และการนิคมอุตสาหกรรมเช่าใช้ประโยชน์ ในเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก ในพื้นที่อ�าเภอแม่สอด ได้อาศัยอ�านาจตาม

        มาตรา ๔๔ โดยค�าสั่ง คสช. ที่ ๑๗/๒๕๕๗ บนเนื้อที่ ๒,๑๘๒ ไร่ (ตามค�าสั่ง คสช. ที่ ๑๗/๒๕๕๗) แบ่งออกเป็น ๒ แปลง คือ
        แปลงที่ ๑ เนื้อที่ ๑,๓๔๖ ไร่ จัดให้เอกชนเช่าที่ดินลงทุน ส่วนแปลงที่ ๒ เนื้อที่ ๘๓๖ ไร่ จัดให้การนิคมอุตสาหกรรมลงทุน
        การด�าเนินโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก ก่อให้เกิดผลกระทบในเรื่อง ที่อยู่อาศัยและที่ท�ากินของประชาชน
        โดยประชาชนต้องอพยพออกจากพื้นที่ และไม่ได้รับค่าชดเชยเยียวยาหรือจัดหาที่อยู่และที่ท�ากินใหม่ให้ ๓๐๔



                     ๔.๓.๒) เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย
                             ในปี ๒๕๔๕ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามที่ส�านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ
        สังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอก�าหนดให้พื้นที่ ๓ อ�าเภอชายแดนของจังหวัดเชียงราย คือ อ�าเภอแม่สาย เชียงแสน และเชียงของ

        เป็นพื้นที่น�าร่องเพื่อพัฒนาพื้นที่การลงทุนร่วมระหว่างประเทศ ในลักษณะเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน


                             ต่อมา เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ คณะรัฐมนตรีมีมติให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
        จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมที่บริเวณต�าบลสถานและต�าบลศรีดอนชัย อ�าเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ในพื้นที่ประมาณ
        ๑๖,๐๐๐ ไร่ ต่อมา ได้ปรับเหลือพื้นที่ ๖,๒๕๐ ไร่ โดยเน้นอุตสาหกรรม (๑) แปรรูปเกษตรและอาหาร (๒) อัญมณีและ

        เครื่องประดับ (๓) สิ่งทอขั้นปลาย (๔) บริการขนส่ง (๕) เครื่องใช้ไฟฟ้า/electronics (๖) ยา/เครื่องส�าอางค์สมุนไพร
        (๗) อุปกรณ์และเครื่องจักรกลการเกษตร (๘) หัตถกรรม/OTOP และ (๙) แปรรูปไม้และการพิมพ์



                             ปัจจุบัน คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) เห็นชอบให้จังหวัดเชียงรายเป็น
        เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ระยะที่ ๒ ครอบคลุมพื้นที่ ๒๑ ต�าบล ๓ อ�าเภอ ในอ�าเภอแม่สาย อ�าเภอเชียงแสน และอ�าเภอเชียงของ
        จังหวัดเชียงราย โดยมีเนื้อที่รวมถึง ๙๕๒,๒๖๖.๔๖ ไร่ ล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.)
        ครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๙ เห็นชอบก�าหนดแปลงที่ดิน ๓ แปลง รวมเนื้อที่ทั้งหมด ๒,๐๕๒ ไร่ ใน ๓ อ�าเภอ ได้แก่



                 ๓๐๔  การร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตามค�าร้องที่ ๑๕๔/๒๕๕๙ และค�าร้องที่ ๗๗/๒๕๖๐


                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  164  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170