Page 167 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 167

๖ แปลง ในพื้นที่ ๒ อ�าเภอ คือ อ�าเภอเมืองนครพนม และอ�าเภอท่าอุเทน รวมเนื้อที่ ๘,๐๒๘ ไร่ ในนั้นเป็นที่ดินรัฐประเภท
        ที่สาธารณประโยชน์ ๓,๓๒๘ ไร่ และที่ราชพัสดุ ๔,๗๐๐ ไร่

                             นอกจากนั้น ยังมีพื้นที่ดินของรัฐ ส�าหรับเป็นพื้นที่ส�ารองไว้รองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนครพนม
        รวมเนื้อที่ ๖,๙๘๒ ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ ส.ป.ก. ๒ แปลง มีเนื้อที่ ๑,๗๒๐ ไร่ และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ๕,๒๖๒ ไร่ ได้แก่
                             (๑) ที่ดิน ส.ป.ก. ต�าบลกุรุคุ อ�าเภอเมืองนครพนม เนื้อที่ ๑,๑๙๕ ไร่ ปัจจุบันมีประชาชนใช้ที่ดิน
        ท�าการเกษตรปลูกยางพารา และมันส�าปะหลังเต็มพื้นที่
                             (๒) ที่ดิน ส.ป.ก. ต�าบลบ้านผึ้ง อ�าเภอเมืองนครพนม เนื้อที่ ๕๒๕ ไร่ ปัจจุบันมีประชาชนใช้ที่ดิน

        ปลูกมันส�าปะหลัง
                             (๓) ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงเซกา ต�าบลรามราช อ�าเภอท่าอุเทน เนื้อที่ ๔,๕๒๑ ไร่
                             (๔) ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงเซกา ต�าบลบ้านผึ้ง อ�าเภอเมืองนครพนม เนื้อที่ ๗๔๑ ไร่

                             โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดนครพนม ท�าให้เกิดผลกระทบในลักษณะท�าให้ประชาชนต้องถูกขับไล่
        ออกจากที่อยู่อาศัยและที่ดินท�ากินโดยการแจ้งความด�าเนินคดีฐานบุกรุก โดยไม่มีการจัดหาที่อยู่และที่ท�ากินให้ใหม่ และไม่มี
        การจ่ายค่ารื้อถอนและค่าชดเชยให้แก่ประชาชนที่ต้องอพยพโยกย้าย
                                                               ๓๐๗

                     ๔.๓.๕) เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดหนองคาย ๓๐๘

                             กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัด
        หนองคายว่า อ�าเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ได้ปิดประกาศให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สาธารณประโยชน์หนองนาทา
        อ�าเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ออกจากพื้นที่ เนื่องจากถูกประกาศเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งในพื้นที่ดังกล่าวมีประชาชน

        อาศัยอยู่ประมาณ ๒๗ ครัวเรือน ๑๑๙ คน แต่การย้ายออกจากพื้นที่ ท�าให้ประชาชนซึ่งยากจนไม่มีที่อยู่อาศัยและที่ดินท�ากิน
        นอกจากนี้ ยังมีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นเด็ก และผู้สูงอายุ และมีภาระหนี้สิน และขอมีส่วนร่วมในการก�าหนดการใช้ประโยชน์
        ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ เนื่องจากเห็นว่าอาจมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชน รายละเอียดตามตารางที่ ๔


        ตารางที่ ๔ สรุปผลกระทบจากเขตเศรษฐกิจพิเศษที่กระทบต่อสิทธิของประชาชน


                       พื้นที่                                    ลักษณะของผลกระทบ
         เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก        พื้นที่ต�าบลท่าสายลวด
                                           • ราษฎรจ�านวน ๖๕ ราย ซึ่งครอบครองที่ดินและท�าประโยชน์ในที่ดิน ถูกให้ออกจากที่ดิน
                                           เนื่องจากมีค�าสั่ง  คสช.  ให้ที่ดินดังกล่าวตกเป็นที่ดินของกรมธนารักษ์เพื่อน�าไปใช้จัดตั้ง
                                           “นิคมอุตสาหกรรม” และพื้นที่ก่อสร้างอ่างเก็บน�้าเพื่อสนับสนุนนิคมอุตสาหกรรม
          เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย  พื้นที่ต�าบลบุญเรือง อ�าเภอเชียงของ
                                           • การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม  มีผลกระทบต่อพื้นที่ป่าชุมชน  ซึ่งมีสภาพเป็นพื้นที่ชุ่มน�้า
                                           เนื้อที่ประมาณ  ๓,๑๐๐  ไร่  ซึ่งชุมชนได้ร่วมกันดูแลรักษาและเป็นแหล่งใช้ประโยชน์ของ
                                           ราษฎรในพื้นที่ ๓ หมู่บ้าน
                                           พื้นที่ต�าบลทุ่งงิ้ว
                                           • การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมมีผลกระทบต่อพื้นที่ป่าชุมชน/พื้นที่สาธารณะประโยชน์
                                           เนื้อที่ประมาณ  ๑,๒๐๐  ไร่  ซึ่งชุมชนได้ร่วมกันดูแลรักษาและเป็นแหล่งใช้ประโยชน์ของ
                                           ราษฎรในพื้นที่ ๓ หมู่บ้าน
                                           • เป็นพื้นที่ชุ่มน�้าริมแม่น�้าอิง
                                           พื้นที่ต�าบลโป่งผา
                                           • การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม มีผลกระทบต่อราษฎรผู้ปลูกยาสูบจ�านวนประมาณ ๓,๐๐๐
                                           ราย ซึ่งปัจจุบันท�าอาชีพปลูกยาสูบในพื้นที่ ๘๗๐ ไร่

                 ๓๐๗  การร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตามค�าร้องที่ ๔๕๔/๒๕๕๙
                 ๓๐๘  การร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตามค�าร้องที่ ๖๓๘/๒๕๕๙


                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  166  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172