Page 160 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 160
โดยนายสหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการกิจการสังคม การไฟฟ้าฝ่ายผลิต
แห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ กฟผ. ก�าลังพัฒนาโรงไฟฟ้าถ่านหิน
ในภาคใต้ ๒ โครงการ คือ โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ และโครงการโรงไฟฟ้า
ถ่านหินเทพา เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคต ตามแผนพัฒนาก�าลัง
ผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๗๙ หรือ พีดีพี ๒๐๑๕ ซึ่งปัจจุบัน
กฟผ. ได้ด�าเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินตามขั้นตอน เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับ
ระบบไฟฟ้าในภาคใต้ และในภาพรวมของประเทศ ซึ่งความต้องการใช้ไฟฟ้า
ในภาคใต้มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๙ ภาคใต้ทั้ง ๑๔
จังหวัด มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุดที่ ๒,๖๓๐ เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๘ ร้อยละ ๕
หรือ ๑๒๕ เมกะวัตต์ ในขณะที่ภาคใต้มีก�าลังผลิตในพื้นที่เพียง ๒,๒๒๕ เมกะวัตต์ ต้องรับไฟฟ้าจากภาคกลาง จ�านวน ๓๗๕
เมกะวัตต์ ซึ่งคาดว่า ภาคใต้จะมีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นราวร้อยละ ๔ - ๕ ทุกปี จึงควรมีแหล่งผลิตไฟฟ้าหลักในพื้นที่ เพื่อสร้าง
๒๙๔
ความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้าภาคใต้อย่างยั่งยืน
โดยทั้งสองโครงการได้รับการคัดค้านจากประชาชน ชุมชน เนื่องจาก
ไม่มั่นใจในผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการด�าเนินโครงการ ตัวอย่างเช่น
กรณีโรงงานไฟฟ้าถ่านหินเทพา ได้มีการต่อต้านจากเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานี สถานการณ์สิทธิมนุษยชนกรณีเฉพาะ
ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ได้มีการเดินเท้าจากปัตตานีไปยังอ�าเภอเทพา ที่ก่อสร้าง
โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาในอนาคต เพื่อรณรงค์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างโรงไฟฟ้า
ซึ่งพบว่าการรับรู้ของประชาชนต่อโครงการขนาดใหญ่ เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา
มีน้อยมาก ประชาชนส่วนใหญ่ไม่รู้ ที่พอรู้ก็ไม่มีใครรู้รายละเอียด ไม่ทราบถึงผลดี
ผลเสียใด ๆ นอกจากนี้ เครือข่ายได้ขอให้เปิดเผยรายงาน EIA ของโครงการโรงไฟฟ้า
ถ่านหินเทพา ซึ่ง กฟผ. ส่งไปยังส�านักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ไม่อนุญาตให้ถ่ายเอกสาร
๒๙๕
เอามาศึกษา การจัดเวทีเสวนาโรงไฟฟ้าถ่านหินปะนาเระ“ว่าที่โศกนาฏกรรมชายแดนใต้” เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๙ บทที่
๕
โดยมีนักวิชาการ เครือข่ายภาคประชาสังคม ตัวแทนชาวบ้าน ทั้งนี้ ผู้อ�านวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ กล่าวว่า
การตัดสินใจในโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือโครงการขนาดใหญ่ในพื้นที่ชายแดนใต้ อาจจะกลายเป็นปัจจัยหนึ่ง
ที่เร่งให้เกิดความรุนแรงในพื้นที่ หากรัฐจะแก้ปัญหานี้จะต้องใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการก�าหนดนโยบายที่ต้องมีการศึกษา
ความเป็นไปได้ทั้งด้านเทคนิค สังคม สิ่งแวดล้อม และการเมือง โดยเฉพาะผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสังคม ที่มัก
๒๙๖
ไม่ถูกให้ความส�าคัญหรือถูกละเลยในการประเมินผลกระทบ จนอาจเป็นปัจจัยน�าไปสู่ความรุนแรงได้ กรณีโรงไฟฟ้า
ถ่านหินกระบี่ พบว่า เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหินได้มีแถลงการณ์ประณามการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ที่ได้เปิดประมูลและประกาศผลการประมูลบริษัทที่ให้ราคาต�่าสุดในการสร้าง
โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ที่ต�าบลคลองขนาน และท่าเทียบเรือขนส่งถ่านหิน
ที่ต�าบลตลิ่งชัน อ�าเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ถือเป็นการละเมิดข้อตกลงที่
นายกรัฐมนตรีลงนาม ตามข้อเรียกร้องของเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน
๓ ประการ คือ ให้ยุติกระบวนการ EIA ให้ยุติการประมูล ให้พิสูจน์การใช้พลังงาน
หมุนเวียน ๓ ปี โดย ๒ ประการแรกได้รับการปฏิบัติทันที ประการที่ ๓ ให้
ตั้งกรรมการ ๓ ฝ่ายขึ้นมาพิจารณาหาแนวทางการด�าเนินการ จนกระทั่ง ปัจจุบัน
๒๙๔ จาก กฟผ.เผยความคืบหน้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=695110
๒๙๕ จาก “หมอสุภัทร”เผยคนปัตตานีแทบไม่รู้ข้อมูลสร้างโรงไฟฟ้าเทพาทั้งที่รับผลกระทบโดยตรง ขบวนรณรงค์ต้านวันที่ ๓ คึกคัก แถลงการณ์ระบุชัดไม่รับความหวังดี
จอมปลอม-อ้างการพัฒนา, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก http://transbordernews.in.th/home/?p=12387
๒๙๖ จาก ปฏิบัติการทวงคืน EHIA โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ประชาชนเปิดเวทีต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินปะนาเระ จวกรัฐปกปิดข้อมูล ผอ.ศูนย์เฝ้าระวังเตือนเหตุปัจจัยเร่ง
ความรุนแรง: ส�านักข่าวชายขอบ, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก http://transbordernews.in.th/home/?p=12528
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 159 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙