Page 161 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 161
กรรมการ ๓ ฝ่ายยังไม่มีข้อยุติ นอกจากนี้ ในการด�าเนินการของกรรมการ ๓ ฝ่ายไม่เกิดความจริงใจในการด�าเนินการ
ไม่พยายามหาทางออก แต่พยายามทุกวิถีทางในการน�าไปสู่การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ๒๙๗
นอกจากนี้ รัฐยังมีโครงการสร้างโรงฟ้าฟ้าถ่านหินอ่างทองและโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดชัยภูมิ พบว่า มีการต่อ
ต้านจากประชาชน ชุมชนเช่นเดียวกัน โดยกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินของบริษัทมหาชนแห่งหนึ่งท�าเรื่องขอขยายโรงงาน เพื่อ
ก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินซับบิทูมินัส ในการผลิตกระแสไฟฟ้า แต่ได้รับการคัดค้านจากชาวบ้าน เพราะเกรงว่าชาวบ้าน
ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกับโรงงานจะได้รับอันตรายจากมลพิษ ทางโรงงานท�าความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับ
๒๙๘
ผลกระทบในเรื่องดังกล่าว ซึ่งทางฝ่ายชาวบ้านยืนยันไม่เอาโรงงานถ่านหินไม่ว่ากรณีใด ๆ ส่วนกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหิน
จังหวัดชัยภูมิ พบว่า มีการเคลื่อนไหวคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเพื่อใช้ในเหมืองแร่โปแตชของชาวบ้านในนาม “กลุ่มฅนรักษ์
บ้านเกิดบ�าเหน็จณรงค์” ซึ่งท�าให้การก่อสร้างโรงไฟฟ้ายังไม่สามารถเริ่มได้ ทั้งนี้ เหมืองแร่โปแตช อ�าเภอบ�าเหน็จณรงค์ ได้
รับประทานบัตรในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ หลังรัฐบาลต่าง ๆ พยายามผลักดันมากว่า ๓๐ ปี แต่การด�าเนินโครงการล่าช้า
เนื่องจากการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่จะใช้ภายในโครงการ ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมโดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ถูก
ชาวบ้านในพื้นที่คัดค้าน เนื่องจากความกังวลถึงผลกระทบจากมลพิษต่อสุขภาพ และพืชผลทางการเกษตร รวมถึงการแย่ง
ชุมชนใช้แหล่งน�้า อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวคัดค้านของกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดบ�าเหน็จณรงค์ก็ถูกปิดกั้นจากฝ่ายความมั่นคง
อยู่เสมอ ทั้งการห้ามใส่เสื้อคัดค้านและแสดงความเห็นในเวทีรับฟังความเห็นเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๕๘ จนถึงการสั่งห้ามจัดงานบุญผ้าป่า
เพื่อระดมทุนต่อสู้คัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๙ นอกจากนี้ เมื่อวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๕๙ ได้มี
เจ้าหน้าที่แต่งกายด้วยชุดทหารไปบ้านแกนน�าเพื่อพูดคุย แต่ไม่พบตัว ๒๙๙
นอกจากนี้ ได้มีค�าสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ ๙/๒๕๕๙ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วย
การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ให้เพิ่มข้อความเป็นวรรค ๔ ของมาตรา ๔๗ ว่า “ในกรณีที่มีความจ�าเป็นเร่งด่วน
เพื่อประโยชน์ในการด�าเนินโครงการหรือกิจการด้านการคมนาคมขนส่ง การชลประทาน การป้องกันสาธารณภัย โรงพยาบาล หรือ
ที่อยู่อาศัย ในระหว่างที่รอผลการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามวรรคหนึ่ง ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือ
หน่วยงานอื่นของรัฐซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการหรือกิจการนั้น อาจเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติให้ด�าเนินการ เพื่อให้ได้มา
ซึ่งเอกชนผู้รับด�าเนินการตามโครงการหรือกิจการไปพลางก่อนได้ แต่จะลงนามผูกพันในสัญญาหรือให้สิทธิกับเอกชนผู้รับด�าเนินการ
๓๐๐
ตามโครงการหรือกิจการไม่ได้” ซึ่งเป็นการด�าเนินการแบบคู่ขนานกันไปเพื่อเป็นการลดระยะเวลาในการด�าเนินโครงการให้เร็วขึ้น
อีกทั้งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน หลังจากนั้น ได้มีข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระบุเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ มีโครงการของรัฐ
ที่เข้าข่ายการด�าเนินงานตามค�าสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ ๙/๒๕๕๙ รวมประมาณ ๗๐ โครงการ เช่น โครงการขนส่งมวลชน
ใช้ราง ๒๐ โครงการ ทางหลวง ๑๗ โครงการ เขื่อนและอ่างเก็บน�้า ๘ โครงการ โรงพยาบาล ๕ โครงการ เป็นต้น ผลของค�าสั่งหัวหน้า คสช.
ฉบับที่ ๙/๒๕๕๙ ได้ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ท้วงติงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากค�าสั่งฉบับดังกล่าวจากหลายฝ่าย ทั้งนักวิชาการ
ด้านสิ่งแวดล้อม เครือข่ายองค์กรต่าง ๆ โดยในวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๙ มีแถลงการณ์คัดค้านค�าสั่ง หัวหน้า คสช. ฉบับที่ ๙/๒๕๕๙
ขององค์กรและเครือข่ายด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งหมด ๕๖ องค์กร ๓๐๑
๒๙๗ จาก กลุ่มต้านถ่านหิน ประณาม กฟผ. ละเมิดข้อตกลง ท�าประมูลสร้างโรงไฟฟ้า, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก http://www.matichon.co.th/news/233752
๒๙๘ จาก ชาวอ่างทองคัดค้านไม่เอาโรงงานถ่านหิน, ๒๕๕๙, สืบค้นจากhttp://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=674901
๒๙๙ จาก ทหารเข้าพบชาวบ้านค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินบ�าเหน็จณรงค์ อ้างอยากคุยเพราะเป็นแกนน�า, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก http://www.prachatai.org/journal/2016/05/65909
๓๐๐ คสช. แก้ไขพระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อมขั้นตอน EIA, http://www.asa.or.th/th/node/139602 เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๐.
๓๐๑ ข้อวิเคราะห์หลักเกี่ยวกับผลกระทบที่ได้ระบุไว้ในแถลงการณ์ คือ ค�าสั่ง (คสช.) ที่ ๙/๒๕๕๙ เป็นการส่งสัญญาณทางนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นเป้าหมายเร่งรัด
การลงทุนโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งที่ผ่านมามักประสบปัญหาการก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม สุขภาพของชุมชนท้องถิ่น การเร่งรัดดังกล่าวเป็นการลดความส�าคัญ
ด้านการดูแลคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน การด�าเนินการให้ได้มาซึ่งเอกชนผู้รับด�าเนินการตามโครงการโดยที่มาตรการการป้องกันผลกระทบ
ต่อสิ่งแวดล้อมยังมิได้รับความเห็นชอบเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่บกพร่องในการละเว้นการปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายที่ปกป้องผลประโยชน์ของสาธารณะสาระส�าคัญ นอกจาก
นี้ เนื่องจากโครงการหรือกิจการเข้าข่ายค�าสั่ง (คสช.) ที่ ๙/๒๕๕๙ เป็นโครงการของหน่วยงานของรัฐ จึงเป็นโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่อาจมีผลกระทบอย่างกว้างขวางและรุนแรง
ต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และคุณภาพชีวิต แม้ว่าจะยังให้มีการท�ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อไป แต่จะสร้างผลกระทบและความเชื่อมั่นต่อความเป็นอิสระในการ
จัดท�าและพิจารณารายงาน EIA และจะยิ่งท�าให้โครงการที่ด�าเนินการตามค�าสั่งดังกล่าวมีปัญหาความขัดแย้ง ความไม่เชื่อถือยอมรับจากประชาชนและชุมชนในพื้นที่โครงการรวมทั้ง
จากสาธารณะ แม้ว่าจะเป็นโครงการที่มีประโยชน์ต่อสังคมก็ตาม แม้ว่า ผลของค�าสั่ง (คสช.) ที่ ๙/๒๕๕๙ ไม่ได้เป็นการให้หยุดการท�ารายงาน EIA แต่ให้จัดหาเอกชนมารับด�าเนิน
โครงการของรัฐไปพร้อม ๆ กับการด�าเนินกระบวนการจัดท�าและพิจารณารายงาน EIA อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาในด้านการขาดความเชื่อถือ เชื่อมั่นจากประชาชนและชุมชน เนื่องจาก
การขาดความโปร่งใสในการเข้าถึงข้อมูลรายงาน EIA ปัญหาด้านการมีส่วนร่วม ด้านผลประโยชน์ทับซ้อน ปัญหาในด้านระบบการติดตามตรวจสอบให้มีการปฏิบัติตามมาตรการลด
ผลกระทบที่ระบุไว้ในรายงาน EIA ปัญหาในด้านการบังคับใช้กฎหมาย ฯลฯ
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 160 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙