Page 168 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 168

พื้นที่                                    ลักษณะของผลกระทบ
             เขตเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย           พื้นที่ต�าบลสระใคร
                                               • น�าพื้นที่สาธารณะประโยชน์  ซึ่งปัจจุบันเป็นป่าชุมชนของบ้านไชยา  หมู่ที่  ๔  อ�าเภอ
                                               สระใคร จังหวัดหนองคาย เนื้อที่ ๗๑๘ ไร่ ไปใช้จัดตั้งเป็นพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ภายใน
                                               เขตเศรษฐกิจพิเศษ
             เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดนครพนม     • หน่วยงานของรัฐน�าพื้นที่สาธารณะประโยชน์โคกภูกระแต  ตั้งอยู่บ้านห้อม  ต�าบล
                                               อาจสามารถ  อ�าเภอเมือง  จังหวัดนครพนม  เนื้อที่  ๑,๘๖๐  ไร่  ไปใช้จัดตั้งนิคม
                                               อุตสาหกรรม
                                               • ประชาชนจ�านวน ๒๓๒ ราย ถูกให้ออกจากที่ดิน โดยหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องอ้างว่า
                                               เป็นการบุกรุกที่สาธารณะภูกระแต
                                               • ราษฎรจ�านวน  ๒๙  ราย  ถูกแจ้งความด�าเนินคดีข้อหาบุกรุกที่สาธารณะภูกระแต
                                               บ้านไผ่ล้อม โดยราษฎรทั้ง ๒๙ รายต่อสู้คดีว่า ได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวมาตั้งแต่
                                               บรรพบุรุษ โดยมีเอกสารที่ราชการออกให้ ได้แก่ ใบจอง ส.ค.๑ และ นส.๓

             เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสงขลา      พื้นที่ต�าบลส�านักขาม
                                               • การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม ส่งผลกระทบต่อราษฎรจ�านวนประมาณ ๓๐๐ ครอบครัว
                                               ซึ่งเดิมเป็นผู้เช่าที่ดินจากส�านักงานป้องกันการฟอกเงิน (ปปง.) มากว่า ๑๐ ปี
                                               • ราษฎรจ�านวนประมาณ ๑๖๐ ครอบครัว ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมกับหน่วยงาน
                                               ที่เกี่ยวข้อง                                                         สถานการณ์สิทธิมนุษยชนกรณีเฉพาะ



            ๕.๔.๔ การประเมินสถานการณ์

                     ในการพัฒนาประเทศหรือการด�าเนินโครงการต่าง ๆ ของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่
            ของภาครัฐ หรือการก�าหนดเขตเศรษฐกิจพิเศษ ย่อมส่งผลกระทบต่อสิทธิของบุคคล ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ที่มีการด�าเนิน
            โครงการต่าง ๆ แม้ว่าการพัฒนาจะส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน แต่ไม่อาจจะปฏิเสธการพัฒนาได้อย่างสิ้นเชิง ดังนั้น
            ในการที่รัฐจะด�าเนินโครงการใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อประชาชน ชุมชน จึงควรอยู่บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของประชาชน
            ชุมชน และรัฐต้องให้ข้อมูลอย่างรอบด้านทั้งผลกระทบในด้านบวกและด้านลบ ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ จนมาถึงในปี   บทที่
                                                                                                                    ๕
            ๒๕๕๙ รัฐมีการด�าเนินโครงการต่าง ๆ หลายโครงการด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นในด้านการบริหารจัดการพลังงาน : โรงงานไฟฟ้า
            เหมืองแร่ การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดินและป่าไม้ การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งสถานการณ์ในด้านสิทธิชุมชน
            ยังคงมีปัญหาที่คล้ายคลึงกัน แม้ว่าการด�าเนินโครงการจะด�าเนินการคนละพื้นที่ แต่ก็พบปัญหาในลักษณะเดียวกัน ซึ่งปัญหาส�าคัญ

            ที่พบคือ การขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน อย่างจริงจัง การไม่ได้เข้าถึงข้อมูลและได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วนจากหน่วย
            งานภาครัฐ จึงส่งผลกระทบต่อการด�าเนินโครงการของรัฐที่ในช่วงแรกอาจจะด�าเนินโครงการได้อย่างรวดเร็ว แต่โครงการต่าง ๆ
            ต้องมาหยุดชะงัก เนื่องจากได้รับการคัดค้านจากประชาชนและชุมชนในพื้นที่ที่ด�าเนินโครงการ จนรัฐไม่สามารถที่จะด�าเนิน
            โครงการต่อไปได้ หรือการด�าเนินโครงการต้องล่าช้าออกไป ซึ่งรัฐควรที่จะให้ประชาชน ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุก ๆ กระบวนการ
            อย่างแท้จริง และหากการด�าเนินโครงการมีผลกระทบ ย่อมต้องมีการเยียวยาที่เหมาะสมและรวดเร็ว นอกจากนี้ การที่รัฐ

            มีค�าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๙/๒๕๕๙ อาจส่งผลให้ชุมชนขาดความความเชื่อมั่นต่อหน่วยงานรัฐในการท�าการวิเคราะห์ผลกระทบ
            สิ่งแวดล้อมว่าจะมีความเป็นอิสระหรือไม่ ซึ่งองค์กรเกี่ยวกับด้านสิ่งแวดล้อมได้มีการคัดค้านไม่เห็นด้วยกับค�าสั่งดังกล่าว
            ทั้งนี้ ได้มีข้อสังเกตเพิ่มเติมรายประเด็น ดังนี้



            ๑) การบริหารจัดการพลังงาน:  โรงงานไฟฟ้า
                     ในการด�าเนินการของรัฐในการบริหารจัดการพลังงาน เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานนั้น รัฐได้มีโครงการสร้างโรงไฟฟ้า
            ในหลาย ๆ พื้นที่ ซึ่งจะพบปัญหาเหมือน ๆ กัน คือ การไม่ได้เข้าถึงข้อมูลและได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วนจากหน่วยงานภาครัฐ การขาด
            การมีส่วนร่วมของชุมชน อันน�ามาสู่การคัดค้านการสร้างโรงงานไฟฟ้าจากชุมชนที่กังวลถึงผลกระทบจากการสร้าง

            โรงงานไฟฟ้า ทั้งผลกระทบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม การประกอบอาชีพ เป็นต้น ซึ่งการด�าเนินโครงการสร้างโรงไฟฟ้านั้น


                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  167  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173